การเตรียมต้นฉบับ
การเตรียมต้นฉบับบทความวิจัย (โดยสังเขป)
- บทความวิจัย ประกอบด้วยหัวข้อที่สำคัญ ได้แก่ ชื่อเรื่อง (ไทยและอังกฤษ) ชื่อผู้เขียน (ไทยและอังกฤษ) บทคัดย่อ (ไทยและอังกฤษ) คำสำคัญ (ไทยและอังกฤษ) บทนำ แนวคิดทฤษฎีหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ระเบียบวิธีวิจัย ผลการวิจัย อภิปรายผล สรุปผลการวิจัย และรายการอ้างอิง
- บทความมีประเด็นหรือแนวความคิดที่ชัดเจน มีเนื้อหาทางวิชาการที่ถูกต้อง สมบูรณ์ และทันสมัย
- วิเคราะห์ประเด็นตามหลักวิชาการ สังเคราะห์ความรู้จากแหล่งต่าง ๆ และเสนอความรู้หรือวิธีการที่เป็นประโยชน์
- ใช้ระเบียบวิธีวิจัยที่เหมาะสมและถูกต้องตามหลักวิชาการ
- นำเสนอผลการศึกษาและการอภิปรายผลได้อย่างลึกซึ้ง และเชื่อมโยงกับการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์ทางวิชาการ วิชาชีพ และสังคม
- ค้นคว้าอ้างอิงจากแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ ทันสมัย และครบถ้วน
- นำเสนอข้อมูลที่เข้าใจง่าย กระชับ ชัดเจน และเป็นระบบ ตลอดจนใช้ภาษาระดับทางการเพื่อสื่อสารได้อย่างเหมาะสม
- วารสารฯ จัดเตรียมแนวทางการเขียนบทความวิจัยและ Template ไว้อย่างชัดเจน
(ดูที่ แนวทางการเขียนบทความวิจัย.doc, แนวทางการเขียนบทความวิจัย.pdf)
การเตรียมต้นฉบับบทความวิชาการ (โดยสังเขป)
- บทความวิชาการ ประกอบด้วยหัวข้อที่สำคัญ ได้แก่ ชื่อเรื่อง (ไทยและอังกฤษ) ชื่อผู้เขียน (ไทยและอังกฤษ) บทคัดย่อ (ไทยและอังกฤษ) คำสำคัญ (ไทยและอังกฤษ) บทนำ แนวคิดทฤษฎีหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง บทวิเคราะห์ บทสรุป และรายการอ้างอิง
- บทความมีประเด็นหรือแนวความคิดที่ชัดเจน มีเนื้อหาทางวิชาการที่ถูกต้อง สมบูรณ์ และทันสมัย
- วิเคราะห์ประเด็นตามหลักวิชาการ สังเคราะห์ความรู้จากแหล่งต่าง ๆ และเสนอความรู้หรือวิธีการที่เป็นประโยชน์
- สอดแทรกความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์ หรือแสดงทัศนะของผู้เขียนอย่างชัดเจน ประกอบไปด้วยเหตุผลทางวิชาการที่ปราศจากอคติและความลำเอียง
- ค้นคว้าอ้างอิงจากแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ ทันสมัย และครอบคลุมประเด็นสำคัญที่เชื่อมโยงกับหัวข้อบทความ
- นำเสนอข้อมูลที่เข้าใจง่าย กระชับ ชัดเจน และเป็นระบบ ตลอดจนใช้ภาษาระดับทางการเพื่อสื่อสารได้อย่างเหมาะสม
- วารสารฯ จัดเตรียมแนวทางการเขียนบทความวิจัยและ Template ไว้อย่างชัดเจน
(ดูที่ แนวทางการเขียนบทความวิชาการ.doc, แนวทางการเขียนบทความวิชาการ.pdf)
แนวทางการเขียนรายการอ้างอิง
วารสารฯ กำหนดการเขียนรายการอ้างอิงตามรูปแบบของ The American Psychological Association (APA) 7th edition ผู้นิพนธ์ต้องเขียนรายการอ้างอิงให้เป็นตามรูปแบบที่วารสารฯ กำหนด โดยสามารถ Download คู่มือการเขียนรายการอ้างอิง ได้ที่นี้ (คู่มือการเขียนรายการอ้างอิง.pdf)
ข้อควรทราบที่สำคัญและถือปฏิบัติสำหรับการเขียนรายการอ้างอิง (โดยสังเขป) มีดังนี้
- เมื่อผู้เขียนต้องการระบุแหล่งข้อมูลใดๆ ที่พิมพ์เผยแพร่ด้วยภาษาไทย ให้แปลเป็นภาษาอังกฤษทุกฉบับ ทั้งในส่วนที่เป็นการอ้างอิงภายในบทความ (In-text citations) และรายการอ้างอิงท้ายบทความ (References) แล้วจึงระบุท้ายรายการอ้างอิงนั้นด้วยในเครื่องหมายวงเล็บว่า (in Thai)
- เมื่อผู้เขียนต้องการระบุแหล่งข้อมูลที่พิมพ์เผยแพร่ด้วยภาษาอังกฤษและ/หรือภาษาต่างประเทศอื่น ๆ ให้เขียนอ้างอิงตามแนวทางของ APA 7th edition
- เพื่อป้องกันปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์และการลักลอกวรรณกรรม (Plagiarism) ผู้เขียนควรศึกษาหลักเกณฑ์และแนวทางของจริยธรรม (Ethics) ในการเขียนบทความเพื่อเผยแพร่ในวารสารรามคำแหง ฉบับคณะศึกษาศาสตร์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) อาทิ การคัดลอก (Quotation) กลุ่มคำ ประโยค หรือข้อความ ตลอดจนการนำเสนอตารางและภาพที่ผู้เขียนมิได้สร้างสรรค์ด้วยตนเอง ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของผู้สร้างสรรค์ผลงานนั้นเป็นลายลักษณ์อักษร
ตัวอย่างการเขียนรายการอ้างอิง (โดยสังเขป)
ผู้นิพนธ์สามารถสืบค้นรายละเอียดการเขียนรายการอ้างอิงทั้งหมดได้ที่คู่มือการเขียนรายการอ้างอิง
(คู่มือการเขียนรายการอ้างอิง.pdf)
1. การเขียนอ้างอิงภายในบทความ (In-text citations)
1.1 การเขียนอ้างอิงภายในบทความจากเอกสารที่มีผู้แต่ง 1 คน
แบบที่ 1 (นามสกุลผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์)
แบบที่ 2 นามสกุลผู้แต่ง (ปีที่พิมพ์)
1.2 การเขียนอ้างอิงภายในบทความจากเอกสารที่มีผู้แต่ง 2 คน
แบบที่ 1 (นามสกุลผู้แต่งคนแรก & นามสกุลผู้แต่งคนที่สอง, ปีที่พิมพ์)
แบบที่ 2 นามสกุลผู้แต่งคนแรก and นามสกุลผู้แต่งคนที่สอง (ปีที่พิมพ์)
1.3 การเขียนอ้างอิงภายในบทความจากเอกสารที่มีผู้แต่งตั้งแต่ 3 คน
แบบที่ 1 (นามสกุลผู้แต่งคนแรก et al., ปีที่พิมพ์)
แบบที่ 2 นามสกุลผู้แต่งคนแรก et al. (ปีที่พิมพ์)
2. การเขียนรายการอ้างอิงท้ายบทความ (References)
2.1 การเขียนรายการอ้างอิงหนังสือที่ปรากฏชื่อผู้แต่ง 1 คน
นามสกุลผู้แต่ง, พยัญชนะตัวแรกของชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ (ครั้งที่พิมพ์). แหล่งที่พิมพ์หรือสำนักพิมพ์.
เช่น
Supanvanit, I. (2004). Literary criticism. Active Print. (in Thai)
2.2 การเขียนรายการอ้างอิงหนังสือที่ปรากฏชื่อผู้แต่ง 2 คน
นามสกุลผู้แต่งคนแรก, พยัญชนะตัวแรกของชื่อผู้แต่งคนแรก., & นามสกุลผู้แต่งคนที่สอง, พยัญชนะตัวแรกของชื่อผู้แต่งคนที่สอง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ (ครั้งที่พิมพ์). แหล่งที่พิมพ์หรือสำนักพิมพ์.
เช่น
Eggen, P. D., & Kauchak, D. P. (2016). Educational psychology: Windows on classrooms (10th ed.). Pearson Education.
2.3 การเขียนรายการอ้างอิงหนังสือที่ปรากฏชื่อผู้แต่งตั้งแต่ 3 คน
นามสกุลผู้แต่งคนแรก, พยัญชนะตัวแรกของชื่อผู้แต่งคนแรก., นามสกุลผู้แต่งคนที่สอง, พยัญชนะตัวแรกของชื่อผู้แต่งคนที่สอง., … & นามสกุลผู้แต่งคนสุดท้าย, พยัญชนะตัวแรกของชื่อผู้แต่งคนสุดท้าย. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ (ครั้งที่พิมพ์). แหล่งที่พิมพ์หรือสำนักพิมพ์.
เช่น
Long, M., Wood, C., Littleton, K., Passenger, T., & Sheehy, K. (2011). The psychology of education (2nd ed.). Routledge, Taylor & Francis Group. https://ebookcentral.proquest.com/lib/ntuuk/ detail.action?docID=667870
2.4 การเขียนรายการอ้างอิงบทความในวารสารทางวิชาการ
นามสกุลผู้แต่ง, พยัญชนะตัวแรกของชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, ปีที่(ฉบับที่), เลขหน้าแรกถึงเลขหน้าสุดท้ายที่ปรากฏบทความ. DOI หรือ URL
เช่น
Theerapreechawit, P., Jonkonklang, S., & Pilandananon, N. (2020). The development of agriculture 4.0 magnet program for high school students. NRRU Community Research Journal, 14(2), 204-218. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.36 (in Thai)
2.5 การเขียนรายการอ้างอิงบทความในเอกสารประกอบการประชุมวิชาการ (conference papers)
นามสกุลของผู้แต่ง, พยัญชนะตัวแรกของชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์, เดือนและวันที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อการประชุมวิชาการ, สถานที่พิมพ์, เลขหน้าแรกถึงเลขหน้าสุดท้ายที่ปรากฏบทความ. DOI หรือ URL
เช่น
Vasudevan, G., Kiat, S. A. W., & Paramasivam, G. (2021, July 31). Challenges and the impact of Covid-19 pandemic on higher education universities in Klang Valley, Malaysia. International Virtual Conference on Education, Social Sciences and Technology 2021, Kuala Lumpur, 12-19. https://asianscholarsnetwork.com/conference-proceedings/
2.6 การเขียนรายการอ้างอิงบทความในเว็บไซต์ บล็อก และเฟซบุ๊ก
นามสกุลของผู้แต่ง, พยัญชนะตัวแรกของชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อเว็บไซต์. URL
เช่น
Chomchinda, S. (2008). The explanation of Thai royal ranks. Office of the Royal Society. https://www.orst.go.th/iwfm_ table.asp?a=29&i=0040002204004002%2F63EHN0908088 (in Thai)
2.7 การเขียนรายการอ้างอิงวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์
นามสกุลของผู้แต่ง, พยัญชนะตัวแรกของชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือ สารนิพนธ์. [ระดับวุฒิของปริญญา, ชื่อสถาบันการศึกษา]. URL
เช่น
Jaipuan, P. (2017). Operational strategies to promote democracy of Wachiraprasong school to become a model student council school, Lumphun province. [Master thesis, Chiang Mai University]. https://library.cmu.ac.th/digital_collection/etheses /fulltext.php?id=35767&word =&check_field=_All_&select_study=EDADM&condition=2&search=9&philosophy=&master=ok# (in Thai)
เอกสาร DOWNLOAD
- แนวทางการเขียนบทความวิจัย.doc
- แนวทางการเขียนบทความวิจัย.pdf
- แนวทางการเขียนบทความวิชาการ.doc
- แนวทางการเขียนบทความวิชาการ.pdf
- คู่มือการเขียนรายการอ้างอิง.pdf
ตรวจสอบการลอกเลียนวรรณกรรมทางวิชาการ
ตรวจสอบการลอกเลียนวรรณกรรมทางวิชาการ (plagiarism) ด้วยอักขราวิสุทธิ์หรือโปรแกรมอื่นที่ใกล้เคียงกัน ไม่เกินร้อยละ 15
อัตราค่าธรรมเนียม
ไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมใดๆ (ยกเว้นกรณีประสงค์ขอถอนบทความ ผู้ส่งบทความจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายตามอัตราหรือเงื่อนไขที่วารสารฯ กำหนด)
นโยบายการถอนบทความ
วารสารฯ ดำเนินการภายใต้มาตรฐานของวารสารวิชาการระดับชาติ/นานาชาติ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญพิจารณากลั่นกรองและประเมินคุณภาพบทความก่อนการตีพิมพ์เผยแพร่ ทั้งนี้ หากมีการถอนบทความ ผู้ส่งบทความจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายตามอัตราที่วารสารฯ กำหนด (โดยประมาณ 5,000 บาทต่อบทความ หรือตามอัตราที่วารสารฯ กำหนด)
วิธีการส่งบทความในรูปแบบออนไลน์
- ผู้ส่งบทความลงทะเบียนในระบบ (login) เพื่อส่งต้นฉบับบทความ ผ่านเว็บไซต์ https://so18.tci-thaijo.org/index.php/RUEDU/
- กองบรรณาธิการตรวจสอบความสมบูรณ์ในเบื้องต้น และตรวจสอบการลอกเลียนวรรณกรรมทางวิชาการ (plagiarism)
- หากผ่านตามเงื่อนไขของวารสารฯ กองบรรณาธิการคัดเลือกและทาบทามผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาเพื่อพิจารณาคุณภาพบทความ จำนวน 3 ท่าน/บทความ
- แจ้งผลการพิจารณาของผู้ส่งคุณวุฒิ โดยผู้ส่งบทความสามารถตรวจสอบสถานะการดำเนินงานด้วยตนเองได้ตลอดกระบวนการ ด้วยการ login ผ่านเว็บไซต์วารสารตามบัญชีที่ลงทะเบียนไว้
- หากมีการแก้ไขบทความ ผู้ส่งบทความต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้รับข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ และเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ ให้ส่งบทความฉบับแก้ไขให้กองบรรณาธิการพิจารณาความสมบูรณ์ ผ่านเว็บไซต์ https://so18.tci-thaijo.org/index.php/RUEDU/
- หากการดำเนินงานครบถ้วนและเป็นไปตามเงื่อนไขการตีพิมพ์บทความของวารสาร กองบรรณาธิการจะออกหนังสือตอบรับการตีพิมพ์บทความให้กับผู้ส่งบทความ
- การเผยแผ่วารสาร เผยแพร่เป็นรูปเล่ม (print) และรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (online) ซึ่งสามารถสืบค้นได้ที่เว็บไซต์วารสาร https://so18.tci-thaijo.org/index.php/RUEDU/