การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทยของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานกับการสอนแบบปกติ

Main Article Content

สรัญญา ปัญญะสุทธิ์

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานกับการสอนแบบปกติและเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทยก่อนเรียนและ หลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานกับนักเรียนที่เรียนรู้โดยใช้การสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) ภาคเรียน ที่ 1 ปีการศึกษา 2560 ซึ่งได้จากการสุ่มอย่างง่าย จํานวน 2 ห้อง จากนั้นจับสลากให้ห้องที่ 1 เรียนโดยการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และห้องที่ 2 เรียน โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยการสอนแบบปกติเครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการสอนแบบปกติ และแบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทยโดยผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญและหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) วิเคราะห์ข้อมูล โดยค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย (X) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการทดสอบค่า (t-test) แบบ dependent sample และแบบ independent sampleผลการวิจัยสรุปได้ว่า ความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3ระหว่างกลุ่มที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานกับการสอนแบบปกติไม่แตกต่างกัน นักเรียนที่เรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานและที่เรียนโดยใช้การสอนแบบปกติ ต่างก็มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05


Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขวัญใจ นวลปาน. (2551).การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษและเจตคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษ ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ (MAT) กับการจัดการเรียนการ สอนแบบปกติ, วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

จิราภรณ์ คงคุ้ม และชินวุฒิ วิจักษ์ประเสริฐ. (2553). การศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศีกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพและระดับปริญญาตรีที่สอนโดยการจัดกิจกรรม แบบใช้ปัญหาเป็นฐานกับบรรยาย. สถาบันการเรียนรู้, สํานักวิจัยและบริการวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ธนวัฒน์ คําเบ้าเมือง. (2553). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการคิดวิเคราะห์แรงจูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์ต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่องรูปสี่เหลี่ยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดย ใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ, วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นพนภา อ๊อกด้วง. (2547). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องคําและหน้าที่ของคําในภาษาไทยของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนโดยการเรียนแบบร่วมมือกันเทคนิค STAD กับการสอนแบบปกติ วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ประกายมาศ ทองหมื่น. (2554). การใช้รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อกระตุ้นการคิดวิเคราะห์ในการอ่าน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่พนิตพิมพ์ โศจิศิริกุล. (2552).

การใช้วิธีการเรียนการสอนแบบการใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อช่วยพัฒนาการเขียนความเรียง ภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษาภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ กรณีศึกษา ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี, วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (มหาวิทยาลัยขอนแก่น), 26(1), 99-124.

มัณฑรา ธรรมบุศย์. (2545). การพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ โดยใช้ PBL (Problem-Based Learning), วารสารวิชาการ 5(2), 11-17.

วิเชียร ไชยบัง. (2558). โรงเรียนกบนอกกะลา: ภาคปาฏิหาริย์, บุรีรัมย์: เรียนนอกกะลา.สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุนีย์ คล้ายนิล, ปรีชาญ เดชศรี และอัมพลิกา ประโมจนีย์. (2550). มองคุณภาพการศึกษาตะวันออกจากการประเมินผล นักเรียนนานาชาติ, กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สุวัฒน์ วิวัฒนานนท์. (2554). ทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียน: ฉบับปรับปรุงตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. นนทบุรี: ซี.ซี. นอลลิดจ์ลิงค์.

สุวิทย์ มูลคํา และคณะ. (2554). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการคิด, กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์ดวงกมล.

อัญชลี ชยานุวัชร. (2554). แนวคิดและกระบวนการการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning), นครศรีธรรมราช: โรงพิมพ์ดีชัย.

Bloom, B. S. (1956). Taxonomy of educational objectives, handbook 1: Cognitive domain. London: Longman.

Marzano, R. J. (2001). Designing a new taxonomy of educational objective. Calif. Corwin Press.