แนวทางการพัฒนารูปแบบโรงเรียนผู้สูงอายุในชุมชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการพัฒนาโรงเรียนผู้สูงอายุในชุมชน โดยใช้กรอบแนวคิดโรงเรียนผู้สูงอายุ ดําเนินการในพื้นที่ เทศบาลนครเชียงราย อําเภอเมืองจังหวัดเชียงราย และเทศบาล ตําบลทรายมูล อําเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก กระบวนการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะเตรียมการ 2) ระยะ ดําเนินการวิจัย ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน (P-A-O-R) คือ การวางแผน การดําเนินการตามแผน การสังเกตผลการพัฒนา และ การสะท้อนผล การพัฒนา และ 3) ระยะประเมินผลการวิจัยเก็บข้อมูลด้วยหลากหลายวิธีร่วมกัน ได้แก่ การสังเกตการสนทนา การสัมภาษณ์ การบันทึกภาคสนามการใช้แผนที่ความคิด การศึกษาเอกสาร การใช้แบบสอบถาม และการประชุม วิเคราะห์ ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ สถิติร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัย พบว่า ทั้ง 2 พื้นที่มีการดําเนินโครงการโรงเรียนผู้สูงอายุ แตกต่างกันไปตามบริบทและวิถีชุมชนผ่านการเรียนรู้ในกระบวน ทํางานร่วมกันกับคนในชุมชน ภายใต้บริบทวัฒนธรรมวิถีชีวิตของชุมชนและการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นตลอดช่วงชีวิต
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผู้ส่งบทความ (และคณะผู้วิจัยทุกคน) ตระหนักและปฎิบัติตามจริยธรรมการวิจัยอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้บทความ เนื้อหา ข้อมูล ข้อความ ภาพ ตาราง แผนภาพ แผนผัง หรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในบทความ เป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ โดยถือเป็นความรับผิดของของเจ้าของบทความเพียงผู้เดียว
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2559). คู่มือโรงเรียนผู้สูงอายุ, กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.
ดวงเดือน รัตนะมงคลกุล และคณะ. (2559). การพัฒนาต้นแบบเตรียมชุมชนสูงอายุแบบบูรณาการ: สามเสา สามวัยสาม ประสาน วิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 11(2), 116-126.
ปี่นวดี ศรีสุพรรณ สุธีร์ ธรรมมิกบวร และสุรสม กฤษณะจูฑะ. (2560), โรงเรียนผู้สูงอายุกับการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุในชุมชนอีสาน, สํานักบัณฑิตอาสาสมัคร, 14(1), 133-162.
ยุวดี รอดจากภัย, กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ และไพบูลย์ พงษ์แสงพันธ์. (2560). รูปแบบการพัฒนาชุมชนและครอบครัว ต้นแบบเพื่อดูแลผู้สูงอายุ, วิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 12(1), 92-101.
รุ่ง แก้วแดง และคณะ (2561), รายงานการวิจัยเปรียบเทียบเพื่อพัฒนานโยบายเรื่อง การส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
ลภัสรดา วลัยกมลลาศ และ ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ. (2556). การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุขององค์การ บริหารส่วนตําบลปากบาง อําเภอเทพา จังหวัดสงขลา ใน รายงานการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ ครั้งที่4 เรื่อง “การวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมไทย” (หน้า 119-124).อาคารศูนย์กีฬาและกิจการนักศีกษา อาคารสุราษฎร์ ธานีและอาคารยู-พลาซ่า มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, จังหวัดสงขลา, 10 พฤษภาคม 2556.
อาชัญญา รัตนอุบล. (2555). การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมการจัดการศึกษา/การเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ ครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 40(1), 14-28.