ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ ของนักเรียนโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม และพฤติกรรม เสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง กรุงเทพมหานคร (2) ศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ ของนักเรียนโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง จำนวน 185 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้เป็นแบบสอบถาม แบ่งเป็น 5 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถาม ปัจจัยนำ (แบบวัดความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์) ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม (ด้านการ สื่อสารเรื่องเพศในครอบครัว และการควบคุมติดตามของผู้ปกครอง) และแบบสอบถามพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมี เพศสัมพันธ์ โดยแบบสอบถามทั้งฉบับมีค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.859 ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 11-18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติไค-สแควร์ (Chi-square test) และวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ Pearson (Pearson’s product moment correlation) โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 55.10 ผลการเรียน อยู่ระหว่าง 3.00-4.00 ร้อยละ 56.80 การอาศัยอยู่กับผู้ปกครอง อยู่กับบิดาและมารดา ร้อยละ 74.50 และเงินที่นักเรียนได้รับต่อวัน คือ ระหว่าง 100-200 บาท ต่อวัน ร้อยละ 80.50 ปัจจัยนำ ด้านความรู้ ทัศนคติ และปัจจัยเอื้อ ด้านการเข้าถึง สื่อกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ อยู่ในระดับน้อย ร้อยละ 50.80 43.80 และ 51.40 ตามลำดับ ปัจจัยเสริม ด้านการสื่อสาร เรื่องเพศในครอบครัว อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 39.50 ปัจจัยเสริมด้านการควบคุมกำกับติดตามของผู้ปกครอง และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 44.30 และ 76.90 ตามลำดับ เพศมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการเรียน ค่าใช้จ่ายที่ได้รับจากผู้ปกครอง และความรู้ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ ทัศนคติ และการ ควบคุมกำกับติดตามของผู้ปกครอง มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ (r = 0.146, r = 0.184 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การเข้าถึงสื่อกระตุ้นต่ออารมณ์ทางเพศของนักเรียน และการสื่อสารเรื่องเพศในครอบครัว มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ (r = 0.325, r = 0.206 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้และทัศนคติต่อพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ส่วนใหญ่อยู่ ในระดับน้อย จึงควรมีการให้ความรู้และสอนเรื่องเพศศึกษา รวมถึงปัญหาของการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร เพื่อให้ นักเรียนมีความรู้และทัศนคติต่อพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์มากขึ้น ผลของการวิจัยครั้งนี้ควรจะได้นำไปใช้ใน การวางแผน และพัฒนาการดำเนินงานด้านการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงในด้านเพศให้มีประสิทธิผลดีมากยิ่งขึ้น
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผู้ส่งบทความ (และคณะผู้วิจัยทุกคน) ตระหนักและปฎิบัติตามจริยธรรมการวิจัยอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้บทความ เนื้อหา ข้อมูล ข้อความ ภาพ ตาราง แผนภาพ แผนผัง หรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในบทความ เป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ โดยถือเป็นความรับผิดของของเจ้าของบทความเพียงผู้เดียว
References
Green, L. W., & Krueter, M. W., (2005). Health promoting planning: An education and ecological approach (4thed.). New York: McGraw-Hill.
Kaewriengdach, C, & Hirunwatthanakul, P. (2016). Factors associated with sexual risk behaviors among secondary school students in Nakhon Phanom Province. Journal of the Royal Thai Army Nurses, 17(3), 168-177.
Kanokthon, T. (2010). Private universities’digital media perception of senior high school students in Eastern region. Master’s Thesis in Business Administration, Srinakharinwirot University.
Muangkrabi School. (2012) . Problems which lead to sexual intercourse. Retrieved January 3, 2019, from: https://boykub193.wixsite.com/sexual-relations/blank-xwgq
Paowattana, A., & Ramasuta, P. (2008). The difference of the factors predict sexual behaviors of adolescent women who have ever and never sexual intercourse in slum areas in Bangkok. Journal of the Medical Association of Thailand, 91(4), 542-550.
Sangaroon B. (2014). Factors affecting sexual risk behaviour among adolescent with early intercourse in secondary school under the jurisdiction of the office of basic education commision Bangkok. Master’s Thesis in Home Economics, Rajamangala University of Technology Phar Nakhon.
Sriwringya J. (2015) . Factors related to sexual risk behavior of mattayomsuksa 2 students the secondary educational service area office 2 Bangkok, Samut Prakan. Master’s Thesis in Nursing Science, Huachiew Chelermprakiet Univesity.
Vorapongsathorn, T., & Vorapongsathorn, S. (2018). Sample size calculation for research using G*Power program. Journal of Health Promotion and Environmental Health, 41(2), 11-21.
Vorapongsathorn, S. (2015). Research in education (3rd Ed.). Bangkok: Vitoon Karnpok Printing.