ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนของนักเรียน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคําแหง กรุงเทพมหานคร จํานวน 170 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบ่งเป็น 5 ส่วน ได้แก่ ปัจจัยส่วน บุคคล ปัจจัยนําในการป้องกันโรคอ้วน (ความรู้และการรับรู้ความสามารถของตนเอง) ปัจจัยเอื้อในการป้องกันโรคอ้วน (การเข้าถึงสถานที่ออกกําลังกายและสถานที่จําหน่ายอาหาร) ปัจจัยเสริมในการป้องกันโรคอ้วน (การได้รับแรง สนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว จากเพื่อน และจากครู) และพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วน โดยแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.958 เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 11-18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ทําการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติไค-สแควร์ (Chi-square test) และวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ Pearson (Pearson's product moment correlation) โดยกําหนดนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 54.10 ภาวะโภชนาการอยู่ในระดับอ้วน ร้อยละ 52.40 รายได้เฉลี่ยครอบครัวต่อเดือน ระหว่าง 15,000-176,666 บาทต่อเดือน ร้อยละ 98.80 และเงิน ที่นักเรียนได้รับต่อวัน ระหว่าง 60-106 บาทต่อวัน ร้อยละ 79.40 ความรู้เรื่องโรคอ้วน และการรับรู้ความสามารถ ตนเองในการป้องกันโรคอ้วนอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 43.50 และร้อยละ 52.90 ตามลําดับ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัย เสริมอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 40.00 และร้อยละ 47.60 ตามลําดับ ส่วนพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วน อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 46.50 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่าเพศและภาวะโภชนาการมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม การป้องกันโรคอ้วน (X2 = 23.60 และ 42.13 ตามลําดับ) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เงินที่ได้รับต่อวัน ปัจจัยเสริม และปัจจัยเอื้อ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วน (r = 0.614, 0.747 และ 0.641 ตามลําดับ) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ p < .01 การรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันโรคอ้วน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วน (r = 0.160) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ p < .05 สําหรับรายได้ เฉลี่ยของครอบครัว และความรู้เรื่องโรคอ้วนไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วน (p > 05)
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผู้ส่งบทความ (และคณะผู้วิจัยทุกคน) ตระหนักและปฎิบัติตามจริยธรรมการวิจัยอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้บทความ เนื้อหา ข้อมูล ข้อความ ภาพ ตาราง แผนภาพ แผนผัง หรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในบทความ เป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ โดยถือเป็นความรับผิดของของเจ้าของบทความเพียงผู้เดียว
References
Boonlong, N. (2013). Food for human. Bangkok: Kasetsart University.
Chinsriwongul, N. (2010). Factors affecting dietary habits of overweight students in the primary schools under the office of private education commission. Unpublished master's thesis, Chulalongkorn University, Bangkok.
Deepromt, C. (2012). Factors in correlation with overweight prevention behaviors of high school student in Surin province. Unpublished master's thesis, Khon Kaen University, Khon Kaen.
Division of Nutrition, Ministry of Public Health, (2016). Over standard nutritional status in secondary school students age 11-17 years in Bangkok. Bangkok: Ministry of Public Health.
Hirunpreuk, W. (2005). Family and environmental factors influencing the prevention of overweight female adolescents in Chonburi province. Unpublished master's thesis, Burapa University, Chonburi.
Huatsiri, K. (2014). Knowledge about food and dietary habits that cause obesity among adolescents in Bangkok. Unpublished master's thesis, Kasetsart University, Bangkok.
Junaim, S. (1997). Developmental psychology. Bangkok: Thai Watana Panich Publication.
Kunthawong, O. (2000). Healthy habits regarding food consumption of national health and nutrition act of grade 1 students, the school expanded educational opportunities under Bangkok education division. Unpublished master's thesis, Srinakharinwirot University, Bangkok.
Mohsuwan, L. (2014). The growth and nutritional status of children in Thailand: The collection of research projects, development of holistic child Thailand. Greater Cage: Fund Research.
Poramutthavorn, W. (2014). Exercise. Bangkok: Odeon Store Printing.
Ramkhamhaeng University Demonstration School. (2018). Health data of nursing room students in 2018, Bangkok: Author.
Rattanawijit, A. (2010). Effects of knowledge in their practice using the process of weight loss in people with weight. Unpublished master's thesis, Mahidol University, Bangkok.
Thongtruntri, N. (2008). Self-efficacy and practice in preventing obesity among adolescent girls. Unpublished master's thesis, Chiang Mai University, Chiang Mai.
Tungtrongchitr, R. (2012). Obesity changes in nutrition and biochemistry. Bangkok: Mahidol University.
Vorapongsathorn, S. (2015). Research in education (3rd ed.). Bangkok: Vitoon Kampok Printing.
Vorapongsathorn, T., & Vorapongsathorn, S. (2018). Sample size calculation for research using G* Power program. Journal of Health Promotion and Environmental Health, 41(2), 11-21.
Witayangoon, P. (2016). Adolescent development. Bangkok: Thai Watana Panich Publication.
Yaowapongsiri, W., & Chunhasawadikul, B. (2008). Eat meat, eat vegetables, diabetes without fasting. Bangkok: Usa Printing.