ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

จีรนาถ แก้วนุช
เกษม ชูรัตน์
สุรีพันธ์ วรพงศธร
พนัชกร ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยนํา ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม และพฤติกรรม การบริโภคอาหาร ของนักเรียนโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยรามคําแหง กรุงเทพมหานคร (2) ศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยนํา ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยรามคําแหง 


การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบสํารวจแบบภาคตัดขวาง ได้เก็บกลุ่มตัวอย่างจํานวน 160 คน จากนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคําแหง ระหว่างวันที่ 11-18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 โดยใช้ แบบสอบถามซึ่งมีเนื้อหาแบ่งออกเป็น 5 ส่วน ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยนําในการบริโภคอาหาร (ความรู้ และ ทัศนคติ) ปัจจัยเอื้อในการบริโภคอาหาร (การมี และการเข้าถึงสถานที่จําหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม) ปัจจัยเสริมใน การบริโภคอาหาร (การได้รับข้อมูลข่าวสาร และการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม) และพฤติกรรมการบริโภคอาหาร แบบสอบถามทั้งฉบับมีค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.701 ทําการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติไค-สแควร์ (Chi-square test) และวิเคราะห์สหสัมพันธ์ ของ Pearson (Pearson's product moment correlation) โดยกําหนดนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 


ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็น เพศชาย คิดเป็นร้อยละ 55.60 ผู้ปกครองมีอาชีพค้าขาย/ธุรกิจ ส่วนตัว คิดเป็นร้อยละ 60.00 รายได้เฉลี่ยครอบครัวต่อเดือน ระหว่าง 20,000-80,000 บาทต่อเดือน และนักเรียน ได้รับเงินจากผู้ปกครองต่อวัน ระหว่าง 80-120 บาทต่อวัน นักเรียนมีความรู้เรื่องการบริโภคอาหาร และทัศนคติ เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร อยู่ในระดับน้อย มีปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม และพฤติกรรมการบริโภคอาหาร อยู่ในระดับมาก อาชีพของผู้ปกครอง ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร เพศ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภค อาหาร อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 รายได้เฉลี่ยของครอบครัวต่อเดือน และเงินที่ได้รับต่อวัน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร (r = 0.214, r = 0.288 ตามลําดับ) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ p < .01 ความรู้ และทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร (r = -0.379, r = -0.671 ตามลําดับ) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ p < .01 ปัจจัยเอื้อ และ ปัจจัยเสริม มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม การบริโภคอาหาร (r = -0.422, r = 0.933 ตามลําดับ) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ p < .01 


ผลจากการวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะว่า ทางโรงเรียนควรจัดกิจกรรมร่วมกับบิดา มารดา ผู้ปกครอง ในการส่งเสริม เกี่ยวกับโภชนาการในโรงเรียน โดยเน้นเนื้อหาโภชนบัญญัติและธงโภชนาการ ให้ตระหนักถึงความสําคัญของการเลือก บริโภคอาหาร แนะนําการเลือกซื้ออาหารเพื่อสุขภาพที่ดี มีการฝึกอบรมและฝึกทักษะให้กับนักเรียน มีกิจกรรมสาธิต ตัวอย่างการเลือกซื้ออาหารและเครื่องดื่มที่มีคุณภาพที่ถูกสุขลักษณะอนามัย มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายของนักเรียน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Choopayak, C. (2012). Research, knowledge, attitude and dietary habits of high school students: Schools under the ministry of university affairs in Bangkok. Bangkok: Ramkhamhaeng University, Faculty of Education.

Kunthawong, O. (2011). Healthy habits regarding food consumption of national health and nutrition act of grade 1 students, the school expanded educational opportunities department of education Bangkok. Unpublished master's thesis, Srinakharinwirot University, Bangkok.

Muhummhud, S. (2011). Factors influencing eating habits of high school students, schools under the department of education in Dusit, Bangkok. Unpublished master's thesis, Srinakharinwirot University, Bangkok.

Muktapun, B. (2009). Nutrition for different ages. Khonkaen: Khon Kaen University, Faculty of Public Health.

Ramkhamhaeng university demonstration school. (2019). The statistical data of students in 2019, Bangkok: Author.

Sastranuwat, S. (2011). Alternative: Health behavior concerning food consuming of mathayom suksa students in the secondary school under the jurisdicting of the department of general education Amphur Muang Changwat Chumphon. Unpublished master's thesis, Srinakharinwirot University, Bangkok.

Thamtistan, C. (2010). Health behavior on the consumption of foods high school students Nawaminthrachinuthit Rachinuthit Satriwithaya 2 department of general education. Unpublished master's thesis, Srinakharinwirot University, Bangkok.

Vorapongsathorn, T., & Vorapongsathorn, S. (2018). Sample size calculation for research using G* Power program. Journal of Health Promotion and Environmental Health, 41(2), 11-21.

Vorapongsathorn, S. (2015). Research in education (3rd ed.). Bangkok: Vitoon Kampok Printing.

Wongthong, O. (2003). Family nutrition. Bangkok: Kasetsart University, Department of Home Economic.

Wuthiwai, N. (2008). Dietary pattern, lifestyle and nutritional status of health science university students in Bangkok. Bangkok: Mahidol University, Faculty of Tropical Medicine.