การตีตราทางเพศที่เกิดขึ้นกับนักเรียนข้ามเพศในแบบเรียนไทย

Main Article Content

กิตติวินท์ เดชชวนากร

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานดุษฎีนิพนธ์ที่ศึกษาการตีตราทางเพศที่เกิดขึ้นกับนักเรียนข้ามเพศในจังหวัด เชียงใหม่ โดยเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ เพื่อศึกษาถึงสถานการณ์การตีตราทางเพศของนักเรียนข้ามเพศในโรงเรียน และทําความเข้าใจถึงลักษณะการเกิดการตีตราทางเพศภาวะในโรงเรียน รวมถึงทราบถึงความท้าทายและผลกระทบที่กลุ่มนักเรียนข้ามเพศ ต้องเผชิญกับการถูกตีตรา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา เป็นกลุ่มนักเรียนข้ามเพศ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดเชียงใหม่ จํานวน 15 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มนักเรียนข้ามเพศ ชั้นปีละ 3 คน เพื่อศึกษาตามวัตถุประสงค์ของ การวิจัย และนักเรียนที่มีเพศสภาพเป็นชาย/หญิง ชั้นปีละ 2 คน เพื่อศึกษาถึงทัศนคติที่มีต่อเพื่อนนักเรียนข้ามเพศ ผู้วิจัยใช้การสังเกตและการสัมภาษณ์เป็นวิธีหลักในการเก็บรวบรวมข้อมูล ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อที่จะได้จัดการ ข้อมูลที่ได้มาทั้งหมดที่ได้กล่าวมาข้างต้น จากเอกสาร การสัมภาษณ์ การสังเกต ผู้วิจัยเลือกใช้โปรแกรมสําเร็จรูป Excel เนื่องจากโปรแกรมนี้มีคุณสมบัติในการช่วยจัดการและบูรณาการชนิดของข้อมูลที่มีความแตกต่างกันได้เป็น อย่างดี ผู้วิจัยได้ดึงข้อมูลจากเอกสาร ถอดเทปการสัมภาษณ์ และเรียบเรียงข้อมูลจากการสังเกต ข้อมูลทั้งหมดจะได้ จัดพิมพ์อยู่ในโปรแกรม เพื่อให้ข้อมูลถูกจัดเข้าในเชิงความคิดรวบยอด และถูกระบุประเภทที่มีความโดดเด่นชัดเจน ออกมา ข้อค้นพบที่ได้ในบทความชิ้นนี้ ทําให้เห็นภาพสะท้อนของอคติทางเพศที่มีต่อคนข้ามเพศ ซึ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือบทเรียนที่ใช้ในการเรียนการสอนบางกลุ่มสาระวิชายังคงนําเสนอเนื้อหาที่เป็นการเหยียดและล่วงละเมิดเพศภาวะของนักเรียนกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศอีกด้วย ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาสังคมรูปแบบใหม่ ที่ประเทศไทยไม่เคยพูดเรื่องนี้มาก่อน โดยเนื้อหาที่แสดงในแบบเรียนดังกล่าวถือว่ามีความเป็นอคตินักเรียนข้ามเพศอย่างมาก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

BangkokBusiness. (2013). Social issues educational article. Retrieved May 11, 2017, from http://www.bangkokbiznews.com

Crocker, J., Major, B., & Steele, C. (1998). Social stigma. In D. T. Gilbert, S. T. Fiske, & G. Lindzey (Eds.), The Handbook of Social Psychology (4th ed., Vol. 2, pp. 504-553). Boston: McGraw-Hill.

Feagin's, J. (1963). Erving Stigma: Note on the management of spoiled Identity. Harmondsworth: Penguins Book.

Guadamu, T. (2013). Don't "bullied" me. Bangkok: Bangkok Media Business Company Limited.

Learning Community of Gender Education. (2014). Mainstreaming gender equality in community learning centres. Bangkok: UNESCO Bangkok Office Asia and Pacific Regional Bureau for Education

Mahidol University. (2013). Achieve gender equality and empower all women and girls. Institute of Molecular Biosciences, Mahidol University.

Nantapanit, S. (2009). 6 Years gender and development research institute/text by Maytinee Bhongsvej; edited by Suteera Thomson. Bangkok: Gender and Development Research Institute: Association for the Promotion of the Status of Women.

Pariwutti, A. (2010). Seminar on "brand identity: creating chains gay sexuality male homosexuals in the Thai media." Retrieved November 14, 2016, from www.teen.Path.net.html

Tansawaswong, P. (2015). The concept, theory, methodology in the study of sexuality. Documents

Wongwareatip, V. (2016). Gender diversity in Thai leaming. Bangkok: Foundation for Gender Rights and Justice.