สมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนสาธิต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ชัญญา ศิริทิพย์สกุล
สุนทร แม้นสงวน
ชนะวงศ์ หงส์สุวรรณ
ธงชัย เจริญทรัพย์มณี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ เพื่อศึกษาสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพและจําแนกระดับสมรรถภาพ ทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสาธิต สังกัดสํานักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียน สาธิตในเขตกรุงเทพมหานคร จํานวน 5 โรงเรียน จํานวน 4,677 คน นักเรียนชาย จํานวน 2,362 คน และนักเรียน หญิงจํานวน 2,315 คน จากตารางการประมาณขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน ที่ประชากร จํานวน 5,000 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง จํานวน 357 คน แต่ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัย ใช้กลุ่มตัวอย่าง จํานวน 900 คน เป็นนักเรียน ชาย จํานวน 450 คน และนักเรียนหญิง จํานวน 450 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบทดสอบและเกณฑ์ มาตรฐานสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพสําหรับเด็กไทย อายุ 7-18 ปี (สํานักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ 2549) มีผลการวิจัยดังนี้
1. สมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของนักเรียนชาย อายุ 13-15 ปี โรงเรียนสาธิต สังกัดสํานักงาน คณะการการอุดมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานครค่าเฉลี่ยมีดังต่อไปนี้ รายการดัชนีมวลกาย (กก./ม) 19.97 19.22 และ 20.01 ตามลําดับ รายการเปอร์เซ็นต์ไขมันใต้ผิวหนัง (ร้อยละ) 16.46 22.16 และ22.68 ตามลําดับ รายการลุก นั่ง (ครั้ง) 27.87 27.74 และ 27.89 ตามลําดับ รายการดันพื้น (ครั้ง) 15.79 15.82 และ 15.87 ตามลําดับ รายการนั่ง งอตัวไปข้างหน้า (เซนติเมตร) 5.79 6.38 5.75 ตามลําดับ รายการวิ่งระยะไกล (นาที) 11.94 12.34 และ 11.92 ตามล่าบ
2. สมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของนักเรียนหญิง อายุ 13-15 ปี โรงเรียนสาธิต สังกัดสํานักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร ค่าเฉลี่ยมีดังต่อไปนี้ รายการดัชนีมวลกาย (กก/ม?) 18.38
19.99 และ 20.03 ตามลําาดับ รายการเปอร์เซ็นต์ไขมันใต้ผิวหนัง (ร้อยละ) 15.21 20.42 และ 23.23 ตามลําาดับ
รายการลุก-นั่ง (ครั้ง) 26.42 27.92 และ 27.81 ตามลําดับ รายการ ดันพื้น (ครั้ง) 16.34 15.80 และ 15.95 ตามลําดับ รายการนั่งงอตัวไปข้างหน้า (เซนติเมตร) 8.23 5.78 และ 5.79 ตามลําดับ รายการวิ่งระยะไกล (นาที) 12.30 11.93 และ 11.93 ตามลําาดับ
15 ปี
3. จําแนกระดับสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของนักเรียนชาย ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อายุ 13- โดยใช้แบบดทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพสําหรับเด็กไทย อายุ 7-18 ปี ผลปรากฏว่า ดัชนีมวลกายส่วนใหญ่ อยู่ในระดับพอเหมาะทั้ง 3 ช่วงอายุ เปอร์เซ็นต์ไขมันใต้ผิวหนัง อยู่ในระดับสม ส่วน ค่อนข้างอ้วนและค่อนข้างอ้วนตามลําดับ ความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อท้อง อยู่ในระดับต่ํา ทั้ง 3 ระดับ ความแข็งแรงและอดทนของกล้ามเนื้อแขนและกล้ามเนื้อส่วนบน อยู่ในระดับต่ํา ทั้ง 3 ระดับ ความอ่อนตัวของ เอ็นข้อต่อและกระดูกอยู่ในระดับต่ํา ทั้ง 3 ระดับ ความแข็งแรงและอดทนของระบบหายใจและระบบไหลเวียนโลหิต อยู่ในระดับปานกลาง ปานกลางและต่ําา ตามลําาดับ
4. จําแนกระดับสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของนักเรียนหญิง ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อายุ 13- 15 ปี โดยใช้แบบดทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพสําหรับเด็กไทย อายุ 7-18 ปี ผลปรากฏว่า ดัชนีมวลกายส่วนใหญ่ อยู่ในระดับพอเหมาะ ทั้ง 3 ช่วงอายุ เปอร์เซ็นต์ไขมันใต้ผิวหนัง อยู่ในระดับ ค่อนข้างผอม พอเหมาะ และค่อนข้างอ้วน ตามลําดับ ความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อท้อง อยู่ในระดับ ปานกลาง ทั้ง 3 ระดับ ความแข็งแรงและอดทนของกล้ามเนื้อแขน และกล้ามเนื้อส่วนบน อยู่ในระดับต่ํา ทั้ง 3 ระดับ ความอ่อนตัวของเอ็นข้อต่อและกระดูก อยู่ในระดับต่ํา ทั้ง 3 ระดับความแข็งแรงและความอดทน ของระบบหายใจ และระบบไหลเวียนโลหิต อยู่ในระดับปานกลาง ทั้ง 3 ระดับ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุข, กรมอนามัย, สํานักส่งเสริมสุขภาพ. (2544). เกณฑ์การประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ นนทบุรี: ผู้แต่ง.

กัลยาณี โนอินทร์. (2560). ภาวะนํ้าหนักเกินและโรคอ้วนในวัยเรียนและวัยรุ่นไทย. วารสารพยาบาลทหารบก, 18 (ฉบับพิเศษ), 1-8.

เจริญ กระบวนรัตน์. (2531), ร่างกายกับผลที่ได้รับจากการออกกําลังกาย, วารสารสุขศึกษา พลศึกษาและสันทนาการ 12(2), 79-88.

เจริญทัศน์ จินตนเสรี. (2538). วิทยาศาสตร์การกีฬาสําหรับผู้ฝึกสอนกีฬาและนักกีฬา, กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ วิทยาศาสตร์การกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย.

พิชิต ภูติจันทร์ และคณะ. (2533), วิทยาศาสตร์การกีฬา, กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์ต้นอ้อ สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2549). แบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายที่ สัมพันธ์กับสุขภาพสําหรับเด็กไทย อายุ 7-18 ปี (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

สํารวล รัตนาจารย์. (2520), สมรรถภาพทางกาย, กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, คณะพล ศึกษา, ภาควิชาพลศึกษา,อุดมศิลป์ แสงศรีนาม. (2531), วิ่งสู่วิถีชีวิตใหม่ กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์หมอชาวบ้าน.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 343), 607-610.