วิถีชีวิตนักมวย กรณีศึกษา: เพชรสุขุมวิท บอยบางนา

Main Article Content

พงศ์ธร แสงวิภาค
ณัฐวุฒิ สิทธิชัย

บทคัดย่อ

กรณีศึกษา วิถีชีวิตของ เพชรสุขุมวิท บอยบางนา นักมวยอาชีพผู้มีประสบการณ์มากมายในวงการมวยไทยนี้ มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการคือ (1) เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิถีชีวิตและกิจวัตรประจำวันของ เพชรสุขุมวิท บอยบางนา และ (2) เพื่อสำรวจสิ่งท้าทายทางร่างกายและจิตใจ เพชรสุขุมวิท บอยบางนา เผชิญอยู่ในการดำรงชีวิตประจำวัน เพชรสุขุมวิท บอยบางนา ชกมวยไทยมาเป็นเวลา 15 ปี ขึ้นชกในเวทีมวย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เขาพักอาศัยอยู่ในค่ายมวย และกำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยเปิดที่มีชื่อเสียงที่สุดของประเทศ “มหาวิทยาลัยรามคำแหง” เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกรณีศึกษา ผู้วิจัยได้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกต หลังจากที่ได้วิเคราะห์เนื้อหาและสังเคราะห์ข้อมูลแล้ว ผลการวิจัยพบว่า การตัดสินใจของเพชรสุขุมวิท บอยบางนาในการมาเป็นนักมวย มาจากเหตุผลส่วนตัว ครอบครัว เศรษฐกิจ และสังคม เพชรสุขุมวิท บอยบางนา จึงพัฒนาความสามารถในการพึ่งพาตนเองและมีความรับผิดชอบ รวมถึง การสร้างวิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองในฐานะนักมวย ซึ่งแม้จะเผชิญกับสิ่งท้าทายที่รุมเร้าเข้ามาอย่างมากมายและหลากหลาย แต่เพชรสุขุมวิท บอยบางนา ก็ยอมรับกับวิถีชีวิตในปัจจุบันของเขา

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Choomjit, Y. (1985). Sociology of education. Odeon Store. (in Thai)

Kaewsringam, J. (2004). Muay Thai World Outlook: The relationship between boxers, boxing training camps and the Muay Thai business [Master’s thesis, Thammasat University]. (in Thai)

Khumpeng, V. (1994). A study of achievement motivation of muay Thai professional boxers. Research Report, Chulalongkorn University. (in Thai)

Nakaphol, K. Interview, March 11, 2021) (in Thai).

Ngammeesri, K. (1987). A test of Thai boxing skills for male students of the College of Physical Education, Ph.D. Bangkok: Graduate School of Srinakharinwirot University. (in Thai)

Office of Boxing Sport Board. (2016). Boxing act, B.E. 2542 (1999) (8th ed.). M.T.P. (in Thai)

Phetchsukhumwit Boy Bangna. (Tarapong Boonpeng). Interview, 24 January 2022. (in Thai)

Sangsawang, P. 1979. A development of muay Thai [Master’s Thesis, Chulalongkorn University]. (in Thai)

Sports Authority of Thailand and Thailand National Sports University. (2008). Effective sports coaching methods. Rum Thai Press. (in Thai)

Unthong, C. (2004). The globalization of muay Thai [Master’s Thesis, Nakhon Pathom Rajabhat University]. (in Thai)

Yapimine, P. (1999). Socio-economic condition of Thai boxers pimine district Nakhon Ratchasima Province. [Master's thesis, Mahasarakham University]. (in Thai)