ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะการปั้น
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย
ชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนอนุบาลเลย อำเภอเมือง จังหวัดเลย (2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนอนุบาลเลย อำเภอเมือง จังหวัดเลย เด็กปฐมวัยชาย-หญิง ที่มีอายุระหว่าง 4-5 ปี
ระดับชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ด้วยการเลือก
1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมศิลปะการปั้นเพื่อส่งเสริมกล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย คือ การปั้นดินน้ำมัน, การปั้นแป้งโด, การปั้นกระดาษหนังสือพิมพ์ และการปั้นขนม (2) แบบประเมินความสามารถในการใช้มือของเด็กปฐมวัย และการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลและตรวจวัดคะแนน
เพื่อนำไปวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปแล้วนำคะแนนที่ได้จากการประเมินทั้งก่อนและหลังทำกิจกรรมไปวิเคราะห์ค่าสถิติ และแบ่งการวิเคราะห์ ดังนี้ (1) ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ (2) t test dependent
ผลการวิจัยพบว่า ก่อนการจัดกิจกรรมศิลปะการปั้น ระดับความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาล 2 มีคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมเท่ากับ 39.01 (SD = 5.18) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านความคล่องแคล่วในการใช้มือ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 9.73 (SD = 1.20) ความยืดหยุ่นในการมือ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 9.47
(SD = 1.36) ความสามารถในการควบคุมการใช้มือ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 9.80 (SD = 1.35) และการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา มีเฉลี่ยเท่ากับ 10.10 (SD = 1.27) ดังนั้น ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนอนุบาลเลย ตำบลกุดป่อง อำเภอเมือง จังหวัดเลย หลังใช้กิจกรรมศิลปะการปั้น สูงกว่าก่อนใช้กิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผู้ส่งบทความ (และคณะผู้วิจัยทุกคน) ตระหนักและปฎิบัติตามจริยธรรมการวิจัยอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้บทความ เนื้อหา ข้อมูล ข้อความ ภาพ ตาราง แผนภาพ แผนผัง หรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในบทความ เป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ โดยถือเป็นความรับผิดของของเจ้าของบทความเพียงผู้เดียว
References
Bunurai, S. (2021). The effect of organizing additional creative drawing activities on the ability to use fine muscles Children of early childhood children at Ban Nong Suea Chang School. Journal of Social Science for Local Development Mahavarakam Rajabhat University, 5(2), 97. (in Thai)
Horadol, A. (2017). Physical Development of Pre-school Children: Guidelines for Enhancement and Development. Journal Name: STOU Education journal, 10(1), 100-112. (in Thai)
Khamparak, D., Palinthorn, N., Wansaen, T., & Yooprasert, S. (2019). Muscle development. small group of early childhood children Using creative sculpting activities. Saeng Isan Journal, 16(2), 484-498. (in Thai)
Krachapngoen, W. (2019). The learning experiences by using creative art activity sets with low relief to develop small muscles for early childhood in 1st Kindergarten. Journal of Educational Technology and Communications Facutyl of Education Mahasarakham University, 2(6), 171-180. (in Thai)
Ministry of Education. (2017). Early childhood education curriculum 2017. Kurusapa Radplao Printing. (in Thai)
Singkru, P., Thamsirikwam, P., & Koolnapadol, A. (2020). Effects of Organizing creative art activities on kindergartners’ abilies to use fine motor skills and language. Journal of Graduate Research, 11(2), 81-93. (in Thai)