แนวทางการพัฒนาธุรกิจที่พักอย่างยั่งยืนในจังหวัดนครนายก บทความวิจัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันของธุรกิจที่พักในจังหวัดนครนายก 2) ศึกษา จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ของธุรกิจที่พักในจังหวัดนครนายก 3) วิเคราะห์แนวทางการพัฒนาธุรกิจที่พักอย่างยั่งยืนในมิติด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม 4) เสนอแนวทางการพัฒนาธุรกิจที่พักในจังหวัดนครนายกให้เติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาจากงานวิจัย บทความวิชาการ เอกสารที่เกี่ยวข้อง คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักด้วยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 26 คน ประกอบด้วย หัวหน้าส่วนงานภาครัฐ สมาคม ผู้ประกอบการธุรกิจที่พัก นักวิชาการ ภาคประชาสังคม และประชาชนที่เกี่ยวข้องกับที่พักในจังหวัดนครนายก ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) จังหวัดนครนายกมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติทำให้ธุรกิจที่พักเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะรีสอร์ท โฮมสเตย์ และที่พักเชิงนิเวศ 2) จุดแข็งของที่พักในนครนายก คือ ที่ตั้งใกล้กรุงเทพมหานคร แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติหลากหลาย และต้นทุนที่พักต่ำ จุดอ่อน คือ โครงสร้างพื้นฐานไม่เพียงพอและการประชาสัมพันธ์ยังจำกัด โอกาสมาจากแนวโน้มการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและโครงการส่งเสริมจากรัฐบาลอุปสรรค คือ การแข่งขันจากจังหวัดใกล้เคียงและความเสี่ยงจากการจัดการทรัพยากรที่ไม่ยั่งยืน 3) แนวทางการพัฒนาธุรกิจที่พักในนครนายกอย่างยั่งยืนครอบคลุมด้านสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้พลังงานทดแทนและการจัดการทรัพยากร ด้านเศรษฐกิจเน้นการเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และลดต้นทุน และด้านสังคม ส่งเสริมการจ้างงานในท้องถิ่นและการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นผ่านความร่วมมือระหว่างชุมชนและผู้ประกอบการ 4) แนวทางการพัฒนาธุรกิจที่พักในนครนายกให้เติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว ควรนำแนวคิดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์มาใช้จัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความร่วมมือกับชุมชนท้องถิ่น
ส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนให้กับนักท่องเที่ยว ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน เรียนรู้ระหว่างผู้ประกอบการ สร้างแรงจูงใจจากภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสร้างมาตรการวัดผลการพัฒนาที่ยั่งยืน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of TCI is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated. Please read our Policies page for more information...
References
Asian Development Bank. (2021). Tourism sector recovery after COVID-19: Thailand case study. Available Source: https://www.adb.org/publications/tourism-recovery-thailand-covid-19
Bank of Thailand. (2020). Thailand’s economic outlook 2020. Available Source:https://www.bot.or.th
Department of Tourism. (2022). Tourism statistics in Thailand. Bangkok: Ministry of Tourism and Sports.
Denzin, N. K. (1978). The research act: A theoretical introduction to sociological methods (2nd ed.). McGraw-Hill.
Goodwin, H. (2020). Responsible tourism: Responding to the challenges of climate change. Journal of Sustainable Tourism, 28(5), 711-726.
Gössling, S., & Peeters, P. (2019). Assessing tourism's global environmental impact 1900–2050. Journal of Sustainable Tourism, 27(2), 249-268.
Higgins-Desbiolles, F. (2020). Socialising tourism for social and ecological justice after COVID-19. Tourism Geographies, 22(3), 610-623.
Kuaicharoenphanit, K. & Fakfang, P. (2019), Environmental Conservation Guidelines, Waste Reduction and Energy Reduction: A Case Study of a Five-Star Hotel in Sukhumvit. In the 9th Sukhothai Thammathirat Open University National Research Conference (pp. 1782-1795), Bangkok: Sukhothai Thammathirat Open University. (in Thai)
Homudomthap, P. & Krimjai, N. (2020). Factors of Success of Homestay Business Operators in Thailand. Siam Academic, 21(2), 1-16.
Noonil, S. (2021). Social Responsibility of Hotel Business Organizations. Silpakorn University Journal, 41(1), 53-54
Tourism Authority of Thailand. (2021). Thailand tourism statistics 2021. Bangkok: TAT.
World Tourism Organization (UNWTO). (2020). Sustainable tourism in Asia: Case studies and policy recommendations. Madrid: UNWTO.
World Tourism Organization (UNWTO). (2021). Tourism in the post-COVID world: Recovery strategies and the future of the industry. Madrid: UNWTO.