การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความใฝ่เรียนรู้ โดยการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาร่วมกับการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพิบูลย์รักษ์พิทยา

ผู้แต่ง

  • วรินธร แก้วอุดม สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • ยุภาดี ปณะราช สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้แบบซิปปา, การเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์, ความใฝ่เรียนรู้, ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาร่วมกับการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ 2. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์หลังการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาร่วมกับการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3. ศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความใฝ่เรียนรู้หลังการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาร่วมกับการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนพิบูลย์รักษ์พิทยา ปีการศึกษา 2567 จำนวน 35 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาร่วมกับการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และแบบวัดความใฝ่เรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบรายคู่

ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  ที่ระดับ 0.05 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์หลังการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาร่วมกับการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาร่วมกับการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ในระดับดี มากที่สุดจำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 60.00 รองลงมาเป็นระดับพอใช้ จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 34.29 และระดับดีมาก จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 5.71 ตามลำดับ และนักเรียนมีความใฝ่เรียนรู้หลังการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาร่วมกับการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). แนวทางการพัฒนา การวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จารุพักตร์ จ่าจันทึก, ตฤณ กิตติการอำพล, และ วิมลรัตน์ จตุรานนท์. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ CIPPA และการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. e-Journal of Education Studies, Burapha University, 2(2), 1 – 15.

ชัชวาล บัวริคาน, อาพันธ์ชนิต เจนจิต, และ เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร. (2558). การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบซิปปา เรื่อง การเรียงสับเปลี่ยน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(3), 91 – 102.

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2563). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

นันท์ณัฐ ค้อชากุล, ชาติชาย ม่วงปฐม, และ เอกราช ดีนาง. (2562). ผลการเรียนแบบร่วมมือแบบ STAD เสริมด้วยกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 9(1), 89 – 109.

พรพิทักษ์ หมู่หัวนา. (2561). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง เงิน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

แพทอง สามพันธ์, รวีวัตร์ สิริภูบาล, และ สุภัทรา คงเรือง. (2559). การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาที่มีมีผลต่อทักษะการสร้างเว็บเพจและคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 5(1), 192 – 201.

มะลิวัลย์ ใยนนท์, พอเจตน์ ธรรมศิริขวัญ, และ ทิพย์วิมล วังแก้วหิรัญ. (2565). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบซิปปา (CIPPA) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบจินตคณิตสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรีเขต 2. วารสารราชนครินทร์, 20(1), 66 – 75.

วรกานต์ อาจหาญ. (2566). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ร่วมกับแอปพลิเคชัน ต่อทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ศศิธร งามผ่อง. (2565). การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ CIPPA Model ร่วมกับกลวิธีเมตาคอกนิชัน [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศศิพิมล อินธิแสง, และ แสงเดือน คงนาวัง. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง เวลา โดยการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาโมเดล (CIPPA Model) ร่วมกับแบบฝึกทักษะสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี 2. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(1), 479 – 490.

ศิวพร มามาตร และ วิทิตมูลวงค์. (2564). การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 11(3), 52 – 59.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงพิมพ์อักษรไทย.

สีชานนท์ ชิเนนทอน, ภัทริณี คงชู, และ ฐิติชญาน์ คงชู. (2566). การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารเทคโนโลยีและสารสนเทศการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 7(22), 71 – 78.

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2545). 19 วิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

อรรถพล ปลัดพรหม. (2562). การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD โดยเน้นการใช้ตัวแทนเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2553). หลักการสอน (ฉบับปรับปรุง). (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-30

How to Cite

แก้วอุดม ว. ., & ปณะราช ย. . (2025). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความใฝ่เรียนรู้ โดยการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาร่วมกับการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพิบูลย์รักษ์พิทยา. วารสารครุศาสตร์และการพัฒนามนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 5(1), 1–14. สืบค้น จาก https://so18.tci-thaijo.org/index.php/edusskru/article/view/932