สัญญะจากการ์ตูนล้อเลียนสังคมในเพจ Gthai movie เกย์เว้ยเฮ้ย

ผู้แต่ง

  • ชรัณ โภคสกลวาณิช คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
  • พชรดนัย อุปมา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
  • วชิรพันธ์ ศรีสุขา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

สัญญะ, การ์ตูนล้อเลียน, Gthai movie, เกย์เว้ยเฮ้ย

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสัญญะจากการ์ตูนล้อเลียนสังคมที่ปรากฏในเพจ Gthai movie เกย์เว้ยเฮ้ย โดยเก็บข้อมูลจากเพจ Gthai movie เกย์เว้ยเฮ้ย อัลบั้มที่ 501 - 600 และอัลบั้มที่ 601 – 700 ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2563 – วันที่ 30 ตุลาคม 2563 โดยใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีสัญวิทยา (Semiology) ของเพียร์ซ (C. Peirce) และแนวคิดของกาญจนา แก้วเทพ ส่วนบทที่ศึกษาคือ ภาพการ์ตูนล้อเลียนสังคมจากเพจ Gthai movie เกย์เว้ยเฮ้ย อัลบั้มที่ 501 - 600 และอัลบั้มที่ 601 – 700

ผลการศึกษาพบว่า ดังนี้ 1. ภาพเหมือน (Icon) 1.1 ธรรมชาติ 1.1.1 ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดสิ้น 1.1.2 ทรัพยากรธรรมชาติที่ทดแทนได้ 1.2 การแต่งกาย 1.2.1 การแต่งกายนักเรียน 1.2.2 การแต่งกายข้าราชการครู 1.2.3 การแต่งกายพระสงฆ์ 1.2.4 การแต่งกายเพศที่สาม ผู้หญิง และผู้ชาย 1.2.5 การแต่งกายนักท่องเที่ยว เจ้าหน้าที่การท่องเที่ยว แม่ค้า และคนขับแท็กซี่ 1.3 วัตถุสิ่งของเครื่องใช้ 1.3.1 ยานพาหนะ 1.3.2 สิ่งประดิษฐ์อิเล็กทรอนิกส์ 1.4 สิ่งก่อสร้าง 1.4.1 โรงแรมและตลาด 1.4.2 ตึกแถวและถนน 2. ดัชนี (Index) 2.1 การแสดงอารมณ์ท่าทางของตัวการ์ตูน 2.1.1 มีความรัก 2.1.2 โกรธ 2.1.3 ทุกข์ใจ 2.1.4 ตกใจ 2.2 การใช้แสง-สีของฉาก 2.2.1 การใช้แสง-สีของฉากสีฟ้า 2.2.2 การใช้แสง-สีของฉากภายในบ้าน 2.2.3 การใช้แสง-สีของฉากกลางคืน 2.2.4 การใช้แสง-สีของฉากในโรงภาพยนตร์ 2.2.5 การใช้แสง-สีของฉากบนรถไฟฟ้า 3. สัญลักษณ์ (Symbol) 3.1 สัญลักษณ์ที่ใช้แทนคำพูดหรือคำบรรยาย 3.2 สัญลักษณ์ที่ใช้แทนเสียง

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2547). การวิเคราะห์สื่อ: แนวคิดและเทคนิค. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เลิฟ แอนด์ ลิฟ.

กาญจนา แก้วเทพ. (2552). สื่อเล็ก ๆ ที่น่าใช้ในงานพัฒนา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

นฤมล เรืองณรงค์. (2533). การ์ตูนการเมืองในช่วง 14 ต.ค. 16 ถึง 6 ต.ค. 19. วิทยานิพนธ์ น.ม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัทธนันท์ เด็ดแก้ว. (2559). ภาพและรูปแบบการสื่อสารของแฟนเพจทูนหัวของบ่าว. วารสารบริหารธุรกิจเศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร. 11(2), 156-157.

ศักดิ์ชัย เกียรตินาคินทร์. (2534). คู่มือฝึกเขียนการ์ตูนด้วยตนเอง. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-17

How to Cite

โภคสกลวาณิช ช. ., อุปมา พ., & ศรีสุขา ว. . (2025). สัญญะจากการ์ตูนล้อเลียนสังคมในเพจ Gthai movie เกย์เว้ยเฮ้ย. วารสารครุศาสตร์และการพัฒนามนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 3(2), 90–106. สืบค้น จาก https://so18.tci-thaijo.org/index.php/edusskru/article/view/965