การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบ วัฏจักรการเรียนรู้หรือ 4 MAT ในรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ความขัดแย้งและความร่วมมือของมนุษยชาติในคริสต์ศตวรรษที่ 20 จนถึงปัจจุบัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมหาชนะ
คำสำคัญ:
การใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้หรือ 4 MATบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้หรือ 4 MAT รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ความขัดแย้งและความร่วมมือของมนุษยชาติในคริสต์ศตวรรษที่ 20 จนถึงปัจจุบัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนมหาชนะชัยวิทยาคมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อสร้างรูปแบบการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT เรื่อง ความขัดแย้งและความร่วมมือของมนุษยชาติในคริสต์ศตวรรษที่ 20 จนถึงปัจจุบัน 2. เพื่อหาประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระประวัติศาสตร์ เรื่อง ความขัดแย้งและความร่วมมือของมนุษยชาติในคริสต์ศตวรรษที่ 20 จนถึงปัจจุบัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนมหาชนะชัยวิทยาคม อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร ภาคเรียนที่ 2/2563 โดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 29 คน รายวิชาประวัติศาสตร์ (ส32104) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 4 แผนการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน (Pretest) และหลังเรียน (Posttest) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ยกลุ่มตัวอย่างสัมพันธ์กัน (t-test Dependent Samples) และทดสอบค่าเฉลี่ยกลุ่มตัวอย่าง 1 กลุ่ม ทดสอบค่า t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1. สร้างรูปแบบการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT เรื่อง ความขัดแย้งและความร่วมมือของมนุษยชาติในคริสต์ศตวรรษที่ 20 จนถึงปัจจุบัน เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ 4 แผน จำนวน 4 ชั่วโมง 2. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาประวัติศาสตร์ เรื่องความขัดแย้งและความร่วมมือของมนุษยชาติในคริสต์ศตวรรษที่ 20 จนถึงปัจจุบัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพ 91.72/86.38 และ 3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เกิดกระบวนการคิดวิเคราะห์ในเรื่องความขัดแย้งและความร่วมมือของมนุษยชาติในคริสต์ศตวรรษที่ 20 จนถึงปัจจุบัน รายวิชาประวัติศาสตร์ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT โดยคะแนนเก็บระหว่างเรียนและคะแนนการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คิดคะแนนเป็นร้อยละ 91.72 และ 86.38 และนักเรียนที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT มีความสามารถคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
กมลทิพย์ ใยรีอ่าง. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT. มหาสารคาม: วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
จันทร์เพ็ญ หาดขุนทด. (2551). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT กับวิธีสอนตามรูปแบบปกติที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องสถิติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะศาสนาประจำชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.
พระมหาก้องนภา สิงห์ศร. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. สงขลา: วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
พัชรีวัลย์ เกตุแก่นจันทร์. (2544). สมองกับการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เพชรศิริวรรณ อินธิสาร. (2553). การเปรียบเทียบผลการเรียนเรื่องการสร้างผลงานด้วยทักษะคอมพิวเตอร์ กลุ่มสาระเพิ่มเติมคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการเรียนด้วยบทเรียนบนระบบเครือข่ายตามรูปแบบ 4 MAT กับการเรียนปกติ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เรืองศักดิ์ หงส์ทะนี. (2551). การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องทรัพยากรของโลก กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ 4 MAT. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วรรณี แสนคำภา. (2553). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบ 4MAT เรื่องอัตราส่วนและร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
วัฒนา วิชัย. (2550). ผลการเรียนรู้กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม วิชาพระพุทธศาสนา เรื่องวันสำคัญทางพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ (4 MAT). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศักดิ์ชัย นิรัญทวี และ ไพเราะ พุ่มมั่น. (2543). วัฏจักรการเรียนรู้ (4 MAT) การจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะ ดี เก่ง มีสุข. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: แว่นแก้ว.
สมบูรณ์ ภูสนิท. (2551). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สมบูรณ์ สุขเกษม. (2551). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบโยนิโสมนสิการและการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2563. จาก http://academic.obec.go.th/newsdetail.php?id=75.
สุจีรา. รูปแบบการเรียนการสอนแบบ 4 MAT. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2563. จาก http://krusucheera.blogspot.com/2011/04/4-mat.html.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 คณะครุศาสตร์และการพัฒนามนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์และการพัฒนามนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง