บทสังเคราะห์ผ่านวิธีการทำงานภาคสนามจากยอดดอยแม่ฮ่องสอนสู่ชุมชนเมืองบางยี่ขัน
Main Article Content
Abstract
ความรู้ทางด้านสังคมศาสตร์เป็นผลจากการศึกษาเรื่องราวต่าง ๆ เพื่อทำความเข้าใจสังคมและวัฒนธรรมในอดีตที่ผ่านมา โดยมีแนวคิดและวิธีการของศาสตร์แตกต่างกันไปในการหาคำตอบ บทความทางวิชาการชิ้นนี้มุ่งเสนอให้เห็นถึงความพยายามในการทลายกำแพงวิธีการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นให้มีหลายมิติมากขึ้น ในส่วนแรกแสดงให้เห็นถึงความหมายและความสำคัญของการทำงานข้ามศาสตร์ ส่วนที่สองเป็นการทำงานภาคสนามในพื้นที่ศึกษาชุมชนตามเส้นทางการท่องเที่ยว จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อแสดงให้เห็นถึงการทำงานประวัติศาสตร์ร่วมศาสตร์อื่น ๆ ส่วนที่สาม บททดลองจากภาคสนามผ่านกิจกรรม เสียง-เรื่องเล่า-ท้องถิ่นย่านบางยี่ขัน: บูรณาการความรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และดนตรีสร้างสรรค์เพื่อประชาสังคม ผ่านการทำงานนักประวัติศาสตร์ท้องถิ่น มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับนักมานุษยวิทยาดนตรีประยุกต์ สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา การค้นพบนี้แสดงให้เห็นว่าการข้ามสาขาวิชาสามารถเข้าใจคนในท้องถิ่นได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นการข้ามพรมแดนของความรู้ที่ขยายวิธีการทำงานภาคสนามจากความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.