เกี่ยวกับวารสาร
1.ขอบเขตวารสาร
วารสารมุ่งนำเสนอในมิติต่างๆในเชิงสหวิทยาการ (Interdisciplinary) ครอบคลุมทางด้านการเมือง ความมั่นคง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ธุรกิจ ปรัชญา สังคม กฎหมาย อัตลักษณ์ด้าน ศาสนา ชาติพันธุ์ การสื่อสาร ภาษา ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม วรรณกรรม ชุมชน ท้องถิ่น สิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการ และธรรมาภิบาล หรือมิติทางการเมือง เศรษฐกิจ กฎหมายและมิติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
บทความที่ได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์จะต้องมีสาระที่น่าสนใจต่อสังคม เป็นปัญหาที่ถกเถียงในสังคม วิวาทะในสังคม โดยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ บทความอาจเป็นมุมมองสังคมใหม่ อาจเป็นองค์ความรู้ใหม่ หรือนำเสนอองค์ความรู้เดิมในมุมมองใหม่ ประเด็นทางสังคมการเมืองทั้งในไทย และต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติของการต่อสู้ หรือการเคลื่อนไหวทางการเมือง ในเนื้อหาเชิงวิเคราะห์ วิจารณ์ เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว และการเปลี่ยนแปลงของประเทศต่าง ๆ ในเอเชียและไม่เคยถูกนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่นมาก่อน รวมถึงไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่นใด
2.ข้อกำหนดวารสาร
บทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อย 2-3 ท่าน ในแบบไม่เปิดเผยตัวตนสองทาง (Double-blind review) บทความที่เสนอขอรับการพิจารณาตีพิมพ์จะถูกเสนอให้ผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 คนพิจารณาให้ความเห็น บทความที่ได้รับอนุมัติตีพิมพ์จะต้องได้รับผลการประเมินในระดับ “ผ่าน” หรือ “ให้แก้ไขปรับปรุง แต่ไม่ต้องประเมินใหม่” แล้วผู้แต่งแก้ไขปรับปรุงตามความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิจนเป็นที่น่าพอใจจากผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 2 ท่าน วารสารเปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยรับพิจารณาตีพิมพ์ต้นฉบับของทุกบุคคลแม้เป็นบทความในลักษณะวิพากษ์สังคม การเมืองฯ ผลงานที่ส่งมาจะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความวิชาการหรือบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอย่างเคร่งครัด รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสาร
3.นโยบาย
ทัศนะและข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น มิใช่ความคิดของคณะผู้จัดทำ และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ทั้งนี้กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
4.ค่าธรรมเนียมตีพิมพ์
-วารสารไม่มีนโยบายเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ในทุกขั้นตอนในขณะนี้
-บทความจากนักศึกษาปริญญาตรี หรือบทความที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่เป็นภาษาอังกฤษจะได้รับค่าตอบแทน เรื่องละ 2,000บาท (นักศึกษาปริญญาตรี ต้องแสดงสำเนาบัตรนักศึกษาที่ยังไม่หมดอายุ)
5.กำหนดการเผยแพร่
วารสารได้เริ่มจัดทำและตีพิมพ์ตั้งแต่ พ.ศ. 2567 ได้เริ่มจัดทำในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยจะมีการเผยแพร่ระบบออนไลน์เพียงช่องทางเดียวตั้งแต่ พ.ศ.2567 หมายเลข ISSN : 3057-0204 (Online) โดยวารสารมีนโยบายกำหนดกระบวนพิจารณาบทความให้เสร็จภายใน 30วันและบรรจุบทความนั้นขึ้นสู่วารสารทันทีที่เสร็จกระบวนพิจารณาบทความ
วารสารมีกำหนดการเผยแพร่ปีละ 3 ฉบับ ประกอบด้วย
ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-เมษายน
ฉบับที่ 2 เดือน พฤษภาคม-สิงหาคม
ฉบับที่3 เดือน กันยายน-ธันวาคม
6.ภาษาที่รับตีพิมพ์
วารสารรับพิจารณาตีพิมพ์บทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยบทความที่ได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์จะต้องมีสาระที่น่าสนใจต่อสังคม เป็นปัญหาที่ถกเถียงในสังคม วิวาทะในสังคม โดยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
7.ประเภทของผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสาร
การส่งบทความต้องจัดพิมพ์ตามรูปแบบที่กำหนด และต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น ๆ จึงจะได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร บทความที่วารสารรับพิจารณาตีพิมพ์แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ
1)บทความวิชาการ (Academic Article)
เป็นบทความวิเคราะห์ วิจารณ์หรือเสนอแนวคิดใหม่เป็นงานเขียนวิชาการซึ่งมีการวิเคราะห์ประเด็นตาม หลักวิชาการ บทความมีการสำรวจวรรณกรรมและวิเคราะห์อย่างเป็นระบบเพื่อสนับสนุนและสามารถสรุปผลการวิเคราะห์ในประเด็นนั้นได้ มีเนื้อหาเน้นหนักไปในด้านวิชาการ เสนอความคิด วิทยาการใหม่ หรือเป็นการตีความ ค้นคว้าหาข้อเท็จจริงที่แปลกใหม่ของสังคมมาเสนอต่อผู้อ่าน
2.) บทความวิจัย (Research Articles)
เป็นบทความที่นำเสนอผลการดำเนินการวิจัยอย่างเป็นระบบ และได้บรรลุวัตถุประสงค์ของการวิจัย ประกอบด้วย ชื่อเรื่อง รายละเอียดผู้เขียน บทคัดย่อ และเนื้อหาซึ่ง ประกอบไปด้วย บทนำ วิธีการวิจัย ทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วัตถุประสงค์ สมมติฐาน(ถ้ามี) ขอบเขตการ วิจัย ระเบียบวิธีวิจัย ผลการวิจัย สรุปและข้อเสนอแนะ และบรรณานุกรม
3.) บทความปริทัศน์ (Review Articles)
เป็นบทความที่เขียนจากการรวบรวมความรู้ในเรื่องที่ น่าสนใจในปัจจุบันเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ผ่านกระบวนการ วิเคราะห์ สังเคราะห์ เปรียบเทียบ และ/หรือ วิจารณ์ เพื่อให้เกิดเป็นองค์ความรู้ในมุมมองใหม่ ประกอบด้วย บทนำ เนื้อหา วิจารณ์ สรุป และบรรณานุกรม
4.) บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review)
เป็นบทความเขียนเล่าเรื่องและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหนังสือเล่มใดเล่มหนึ่งโดยเจตนาจะแนะนำหนังสือเล่มนั้นให้ผู้อ่านรู้จัก โดยให้รายละเอียดทางบรรณานุกรมของหนังสืออย่างสมบูรณ์ รวมถึงประเภทของหนังสือ ให้ขอบเขตเนื้อหา คุณลักษณะพิเศษหรือข้อเด่นของหนังสือ กล่าวถึงการประเมินคุณค่า แสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผลว่ามีค่าควรอ่านหรือควรจัดหา เหมาะกับผู้อ่านกลุ่มใด มีการเปรียบเทียบกับหนังสือเล่มอื่นในประเภทเดียวกัน โดยผู้วิจารณ์ควรมีความรู้ในสาขาที่วิจารณ์ ควรระบุชื่อหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้วิจารณ์ เพื่อใช้พิจารณาความน่าเชื่อถือของบทวิจารณ์