สตรีเพศ: บทบาทเชิงบวกในพระพุทธศาสนา

Main Article Content

พระมหาสาทร ธมฺมาทโร

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทเชิงบวกของสตรีเพศในพระพุทธศาสนาในฐานะอุบาสิกาที่ได้รับการยอมรับเป็นอย่างดี สตรีมีบทบาทมิได้ด้อยไปกว่าบุรุษในด้านศาสนาแต่อย่างใด ทั้งเรื่องการเป็นผู้ถวายทาน เป็นผู้ปฏิบัติธรรม สตรีมีส่วนช่วยประคับประคองศาสนาเป็นอย่างมาก ด้วยการอุปถัมภ์บำรุงตั้งแต่สมัยพุทธกาลมาจนถึงสมัยปัจจุบันนี้ พระพุทธศาสนาเปิดกว้างสำหรับสตรี ทำให้สตรีทุกชนชั้นวรรณะมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันในทางพระพุทธศาสนา สตรีสามารถปฏิบัติธรรมและทำหน้าที่เผยแผ่ธรรมได้ไม่แตกต่างจากบุรุษ สตรีที่ได้รับการยอมรับจากสังคม จากบุรุษเพศที่มากขึ้นตามลำดับนี้ จึงนับว่าเป็นบทบาทเชิงบวกที่มีต่อสตรีเพศ โดยบทบาทเชิงบวกของสตรีเพศนี้ นับว่าเป็นบทบาทที่มีค่ายิ่ง มีศักยภาพไม่หย่อนไปกว่าบุรุษเพศในหลากหลายมิติ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและการจัดการทรัพยากร

Article Details

How to Cite
ธมฺมาทโร พ. (2024). สตรีเพศ: บทบาทเชิงบวกในพระพุทธศาสนา. วารสารวิชาการแห่งอนาคต, 1(2), 12–17. สืบค้น จาก https://so18.tci-thaijo.org/index.php/FACJ/article/view/63
บท
บทความวิชาการ

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหากมล ถาวโร (คำมั่งมี). (2543). สถานภาพสตรีในพระพุทธศาสนา (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาดาวสยาม วชิรปญฺโญ. (2560). สัมมนาพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น.

พระมหาสมปอง มุทิโต (แปลและเรียบเรียง). (2542). คัมภีร์อภิธานวรรณา. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

มนตรี สิระโรจนานันท์. (2562). สตรีในพระพุทธศาสนา ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 ปรับปรุงใหม่. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2551). พระธรรมบทแปล ภาค 2. พิมพ์ครั้งที่ 21. กรุงเทพฯ : มหามกุฎราชวิทยาลัย.

สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2550). พระไตรปิฎกฉบับประชาชน. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ: มหามกุฎราชวิทยาลัย.

สำนักพิมพ์เลี่ยงเซียง. (2553). 40 ภิกษุณีอรหันต์. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

ศุภวิชญ์ แก้คูนอก. (2564). แหวกม่านวัฒนธรรม ส่องสถานภาพสตรีในสังคมอินเดีย. สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2564, จาก https://www.the101.world/woman-rights-in-india/#