จิตวิทยากับพัฒนาการเรียนรู้เชิงพุทธิปัญญา

Main Article Content

สิบเอกนพเก้า สุโพธิ์

บทคัดย่อ

บทความเรื่อง จิตวิทยากับพัฒนาการเรียนรู้เชิงพุทธิปัญญา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาการเรียนรู้ในเชิงพุทธและการเรียนรู้เชิงจิตวิทยาตะวันตก จากผลการศึกษา พบว่า การพัฒนาความรู้เชิงพุทธิปัญญา เป็นการสังเกตตนเองแล้วปรับปรุงให้มีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้น เป็นการพัฒนา
พฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองได้อย่างภาคภูมิใจ เพราะเกิดจากแรงจูงใจภายในที่นำมาพัฒนาความรู้ โดยที่ไม่ต้องรอให้คนอื่นมาบอกกล่าว การพัฒนาการเรียนรู้ดังกล่าวจำเป็นต้องใช้หลักการพิจารณาด้วยใจอย่างใคร่ครวญ ใช้หลักการส่งพลังความเมตตาให้เกิดความเชื่อมโยงไปสู่การดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขและปลอดภัย มุ่งไปสู่กระบวนการฝึกฝนเพื่อนำไปใช้ในชีวิตอย่างต่อเนื่อง ขยายผลไปสู่ผู้อื่นกลายเป็นกลุ่มเกื้อหนุนให้เกิดการพัฒนาเรียนรู้อย่างยั้งยืน


ส่วนการพัฒนาความรู้ตามหลักนักทฤษฎีตะวันตก คือ การพัฒนาการเรียนรู้จากพฤติกรรมในสภาพแวดล้อมด้วยตนเอง สามารถเลือกหาสิ่งที่ตนชื่นชอบมาสร้างแรงจูงใจในการเริ่มต้นพัฒนาการเรียนรู้ พฤติกรรมการพัฒนาความรู้ของมนุษย์จึงเกิดจากองค์ประกอบ ที่เป็นปัจจัยภายในตัวของบุคคล ได้แก่ ความเชื่อการรับรู้ตนเอง การมีเงื่อนไขเชิงพฤติกรรม การมีเงื่อนไขเชิงสิ่งแวดล้อม มีปฏิสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องเป็นขั้นตอนที่มีความเกี่ยวเนื่องซึ่งกันและกันอยู่เสมอ

Article Details

How to Cite
สุโพธิ์ ส. (2024). จิตวิทยากับพัฒนาการเรียนรู้เชิงพุทธิปัญญา. วารสารวิชาการแห่งอนาคต, 3(1), 39–46. สืบค้น จาก https://so18.tci-thaijo.org/index.php/FACJ/article/view/76
บท
บทความวิชาการ

References

ประเทือง ภูมิภัทราคม. (2540). การปรับพฤติกรรม: ทฤษฎีและการประยุกต์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

พระมหาโสภณ วิจิตฺตธมฺโม. (2560). พุทธจิตวิทยากับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมนุษย์ตามหลักสติปัฏฐาน 4. วารสารพุทธจิตวิทยา, 2(2), 59-72.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ระวี ภาวิไล. (2558). อภิธรรมสำหรับคนรุ่นใหม่. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม). (2551). โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตรการอบรมและกระบวนการแนวจิตตปัญญาศึกษา. ชุดความรู้การอบรมกระบวนการแนวจิตตปัญญาศึกษา เล่ม 1 “การเจริญวิปัสสนา(Mindfulness Practice and Vipassana)”. กรุงเทพฯ : ศูนย์คุณธรรม.

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2550). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bandura, A. (1986). Social Foundations of Thought and Action : A Social cognitive theory. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall, Inc.