ศึกษาความเชื่อประเพณีบุญผะเหวดของชุมชนสามพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

พระมหาเจนภพ ปภาโส (วรเมธาพงศ์)
พระครูพิศาลสารบัณฑิต
พระครูจิรธรรมธัช
อริย์ธัช เลิศรวมโชค

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ  เป็นการศึกษาแนวคิดทฤษฎีบุญผะเหวดในภาคอีสาน และในทางพระพุทธศาสนา เพื่อสร้างเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัยในการศึกษาความเชื่อประเพณีบุญผะเหวดของชุมชนสามพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1. เพื่อศึกษาพัฒนาการอิทธิพลการเทศน์ผะเหวดในสังคมอีสาน 2. เพื่อศึกษาประเพณีการเทศน์ผะเหวดในตำบลสามพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 3. เพื่อศึกษาความเชื่อประเพณีบุญผะเหวดของชุมชนสามพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ผลการวิจัยพบว่า


  1. พัฒนาการอิทธิพลการเทศน์ผะเหวดในสังคมอีสาน เป็นการรักษาไว้ซึ่งประเพณี ฮีต 12
    ของกิจกรรมงานบุญในภาคอีสานทุก ๆ จังหวัด ส่วนมากจะจัดขึ้นใน เดือน 2 ถึงเดือน 4 คนอีสานเรียนว่าบุญผะเหวด อิทธิพลเป็นการอนุรักษ์ประเพณีของชุมชนเพื่อเป็นการสร้างพลังความรัก ความสามัคคีให้เกิดขึ้นในชุมชน

  2. ประเพณีการเทศน์ผะเหวดในตำบลสามพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เป็นกิจกรรมของชุมชนที่มีความร่วมมือระหว่าง วัด ผู้นำชุมชน หน่ายงานราชกาล และโรงเรียนเพื่อสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นภายในชุมชน เนื้อหาของการเทศผะเหวดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การเทศตามคัมภีร์ใบลานสมัยเก่า และการเทศน์แบบนอกคัมภีร์มีการแต่งเรื่องเพื่อให้เกิดคติเตือนในให้เข้ากับยุคสมัย วิธีการเทศผะเหวด เป็นการเทศน์เสียงหรือการเทศน์แหล่

  3. ความเชื่อประเพณีบุญผะเหวดของชุมชนสามพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี มีความเชื่อเรื่องพระศรีอริยเมตไตร เมื่อฟังเทศน์ครบทั้ง 13 กัณฑ์ จะได้เกิดในยุคพระศรีอริยเมตไตร ที่ส่งผลให้เป็นการปลูกฝังการเรียนรู้ของประชาชน มีการเสียสระส่วนตน เพื่อส่วนรวม

Article Details

How to Cite
ปภาโส (วรเมธาพงศ์) พ., พระครูพิศาลสารบัณฑิต, พระครูจิรธรรมธัช, & เลิศรวมโชค อ. (2024). ศึกษาความเชื่อประเพณีบุญผะเหวดของชุมชนสามพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการแห่งอนาคต, 3(2), 1–10. สืบค้น จาก https://so18.tci-thaijo.org/index.php/FACJ/article/view/84
บท
บทความวิจัย

References

ธวัช ปุณโณทก. (2530). คติความเชื่อพื้นบ้านอันสัมพันธ์กับชีวิตในสังคมอีสาน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธิติพล กันตีวงศ์. (2555). ทำนองการเทศน์มหาชาติกัณฑ์มัทรีในประเพณีตั้งธัมม์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล.

บัวศรี ศรีสูง. (2533). ฮีต-คองอีสาน และปกิณกะคดี. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ๊งกรุ๊ฟ.

ประคอง นิมมานเหมินท์. (2526). มหาชาติลานนา: การศึกษาในฐานะที่เป็นวรรณคดีท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

พระมหาบุญทัน อานนฺโท (พาหา). (2540). การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องเวสสันดรชาดก ศึกษาเฉพาะทานบารมี(วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสมชาติ นนฺทธมฺมิโก. (2549). ศึกษาคุณค่าการเทศน์มหาชาติในล้านนา (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2533). พุทธศาสนากับปรัชญา. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊ฟ.

ยุพา กาฬเนตร และคณะ. (2544). ประเพณีอีสานในเชิงอนุรักษ์และเผยแพร่. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมี บุ๊คพับลิเคชั่น.

สนิท ตั้งทวี. (2527). วรรณคดีและวรรณกรรมทางศาสนา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สันทนี อาบัวรัตน์. (2529). มาลัยหมื่นมาลัยแสน. นครราชสีมา: ม.ป.พ.