การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนชุมชนชายแดนภาคเหนือ

Main Article Content

รุจิร์ ภู่สาระ
นิภา แก้วศรีงาม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินและเปรียบเทียบคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนชุมชนชายแดน ภาคเหนือ (2) สร้างสมการพยากรณ์ผลลัพธ์ของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหาร ครู และบุคลากรในสถานศึกษา จำนวน 359 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (custer random) จากสถานศึกษาที่ตั้งอยู่เขตชายแดนจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดน่าน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามสภาพการปฏิบัติและผลลัพธ์จากการจัดการศึกษาที่มีลักษณะเป็นการประเมินค่า 4 ระดับ พัฒนามาจากแนวคิดของ Baldrige Quality Program: Educational Criteria for Performance Excellence จำนวน 100 ข้อ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยหาค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 และค่าความเชื่อมั่นจากการคำนวณโดยใช้ gif.latex?\alpha-coefficient ของ Cronbach มีค่าระหว่าง 0.750-0.971 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยใช้ t test และ ANOVA ส่วนข้อมูลจากการสัมภาษณ์หาค่าความถี่เป็นร้อยละ การสร้างสมการพยากรณ์ผลลัพธ์ใช้การสร้างสมการ พยากรณ์ส้นตรงเชิงเดี่ยว ผลการวิจัยพบว่า (1) สถานศึกษามีคุณภาพการปฏิบัติในเกณฑ์ดี คือ ภาวะผู้นำ และลูกค้า ส่วนด้าน อื่น ๆ มีคุณภาพการปฏิบัติได้ในระดับพอใช้ เช่น การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การวัดผลวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ ผู้ร่วมงาน และการจัดการกระบวนการ ส่วนผลลัพธ์มีคุณภาพอยู่ในระดับพอใช้ทั้ง 6 ด้าน คือ ผลการเรียน ผลที่ผู้ปกครองต้องการงบประมาณ การเงิน ผลด้านผู้ร่วมงาน ประสิทธิผลของกระบวนการและภาวะผู้นำ (2) การเปรียบเทียบคุณภาพการปฏิบัติงาน พบว่าผู้ที่มีอายุเกิน 40 ปี มีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี มีตำแหน่งเป็นผู้บริหารสถานศึกษาอยู่ในสังกัดสถานศึกษาเอกชน เทศบาล และสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา และสถานศึกษาที่อยู่ในโครงการพระราชดำริวิถีพุทธ มีคุณภาพด้านผู้ร่วมงาน ดีกว่ากลุ่มอื่น ๆ ส่วนด้านคุณภาพของผลลัพธ์สถานศึกษาที่มีผลลัพธ์ดีกว่า คือ สถานศึกษาที่มีบุคลากรอายุ 40 ปีขึ้นไป มีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี สถานศึกษาสังกัด อบต. เทศบาล และ สพม. สถานศึกษาที่มีขนาดใหญ่และขนาดใหญ่พิเศษ ส่วนโรงเรียน CU ยังต้องให้การดูแลเอาใจใส่มากขึ้น และ (3) ตัวแปรที่สามารถพยากรณ์ผลลัธ์ของคุณภาพสถานศึกษาได้ดี ที่สุด คือ การจัดการกระบวนการ รวมทั้ง การวัดผลวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ ส่วนลำดับรองลงไปตามลำดับ คือ ภาวะผู้นำ ผลจากผู้ร่วมงาน การวางแผนกลยุทธ์ และลูกค้า สรุปได้ว่า ตัวแปรด้านคุณภาพการปฏิบัติ ทุกตัวมีความสัมพันธ์กับ คุณภาพของผลลัพธ์ในการจัดการศึกษา ดังนั้น ในการประเมินคุณภาพสถานศึกษาควรใช้เกณฑ์ทั้งด้านการปฏิบัติและผลลัพธ์การจัดการศึกษาอย่างสม่ำเสมอ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Baldrige National Quality Program. (2009) . Education criteria for performance. Maryland. The Baldrige National Quality Program.

Cohen, L., Manion, L., & Marrison, K. (2011). Research method in education (7th ed.). Canada: Rutledge. Evans, J. R. (2008). The management and control of quality (7th ed.). Canada: Thomson South Western.

Hansapiromchoke, P., & Kakeaw, J. (2014). The approach for developing the quality of small sized schools in the community. Journal of Humanities and Social Sciences, Srinakharinwirot Research and Development, 6(12), 95-108. [In Thai].

Office of the Basic Education Commission. (2017). Annual Report 2016. Bangkok: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand. [In Thai].

Office of the Education Council. (2004). National Education Plan (2002-2016). Bangkok: Prikwarn Graphic. [In Thai].

Towsend, T. (1994). Effective schooling for the community. London: Rutledge.