การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมเพื่อขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนคุณธรรม (2) เพื่อศึกษาผลจากการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม ภายใต้นโยบาย สพฐ. โดยมีระเบียบวิธีการวิจัย คือ วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (mixed methods research) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อน ขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม ภายใต้นโยบาย สพฐ. โดยใช้วิธีการสุ่มแบบอย่างง่าย จำนวน 285 ดน และ ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน วิธีการดำเนินการวิจัย คณะผู้วิจัยศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อ นำข้อมูลจัดทำแบบสอบถาม โดยแบบสอบถามได้ผ่านการประเมินค่าความเที่ยงตรง (IOC) ได้ค่า 1.00 และ หาค่าแอลฟา ความเชื่อมั่นของ Cronbach โดยทดลองกับกลุ่มที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้ค่า 0.963 ตลอดจนแบบ สัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ค่าความเที่ยงตรง (IOC) ได้ค่า 1.00
ผลการวิจัยพบว่า (1) การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนคุณธรรมตามความคิดเห็นของครูและผู้บริหารที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.38 โดย 5 อันดับแรกที่มีการปฏิบัติ คือ (1.1) บุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษามีความเชื่อ ยอมรับอัตลักษณ์ด้านคุณธรรมของสถานศึกษา (1.2) นำวิสัยทัศน์ หรือเป้าหมายโรงเรียนคุณธรรมไปสู่การปฏิบัติจริง (1.3) สถานศึกษาเปิดโอกาสให้ นักเรียน ครู มีส่วนร่วมในกิจกรรมการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม (1.4) มีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ หรือเป้าหมายในการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม (1.5) ท่านมีส่วนร่วมในการกำหนดคุณธรรมอัตลักษณ์ของโรงเรียน ทั้ง 5 ระดับอยู่ในระดับมาก (2) ผลที่เกิดจากการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม แบ่งออกเป็น 5 ด้านตามลำดับ ค่าเฉลี่ย ได้แก่ ด้านความกตัญญู ด้านอุดมการณ์คุณธรรม ด้านความซื่อสัตย์สุจริต ด้านความรับผิดซอบ และด้านความพอเพียง ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด นอกจากนี้ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญเห็นสอดคล้องกับผลการวิจัย ที่การบริหารแบบมีส่วนร่วมส่งผลต่อการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรมที่ดี มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผู้ส่งบทความ (และคณะผู้วิจัยทุกคน) ตระหนักและปฎิบัติตามจริยธรรมการวิจัยอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้บทความ เนื้อหา ข้อมูล ข้อความ ภาพ ตาราง แผนภาพ แผนผัง หรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในบทความ เป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ โดยถือเป็นความรับผิดของของเจ้าของบทความเพียงผู้เดียว
References
Buddhadasa Bhikku. (1962). Ethical guidance. Bangkok: Community Promoting Ethics. (in Thai)
Center for Covid-19 Situation Administration. (2019). Information on infected patients and fatalities from the Covid-19 pandemic. https://www.moicovid.com/20/07/2021/uncategorized/4072 (in Thai)
Chuenjaijit, K. (2018). Moral School Administration in Meung Rayong District of Rayong province under the Secondary Educational Service Area office 18. Independent Study, Burapa University. (in Thai)
Khunbut, T. (2019). The strategies of management effectively of the moral school of Banpaknum (Padermjeannavasongkroh) school, muang district, Chumphon province. Journal of Educational Administration, Silpakorn University, 10(1), 955-966. (in Thai)
Khwankawin, N., Vehachart, R. (2021). Developing moral schools for success. Journal of Educational Studies, 15(1), 13-27. (in Thai)
Ministry of Education. (2008). ฺ Basic education core curriculum 2008. Bangkok: Author. (in Thai)
Office of the National Culture Commission. (2008). Culture and change. Bangkok: Amarin Printing Group. (in Thai)
Phra Dhammapitaka (P.A. Yotto). (1997). Developmental or integrative education. Bangkok: Buddhadharma Foundation. (in Thai) Royal Society of Thailand. (1995). Dictionary of royal society of Thailand, B.E. 2525. Bangkok: Aksorn Charoen Tat. (in Thai)
Safder, M., & Hussain Ch, A. (2018). Relationship between Moral Atmosphere of School and Moral Development of Secondary School Students. 40(3), 43-71.
Songsri, N., & Inrak, S. (2019). Moral School Management of Banpong 3 School Cluster, Banpong District, Ratchaburi Province. Journal of Educational Administration, Silpakorn University. 10(2), 712-724. (in Thai)
Sukkasi, S., & Prasertsak, A. (2017). A Model for Development Basic Moral for Students in Schools. Rajabhat Rambhai Barni Research Journal, 11(2), 133-140. (in Thai)
Wattanachai, K. (2014). Path to sufficiency. Bangkok: Century. (in Thai) Wongsuwan, N., & Siriwan, I. (2017). The participative management. Mahachula Academic Journal, 4(1), 176-187. (in Thai)