ผลกระทบของการท่องเที่ยวที่มีต่อชุมชนท้องถิ่น ณ ชุมชนบ้านแม่แจ๋ม จังหวัดลำปาง

Main Article Content

ภัทรชนม์ รัชตะหิรัญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ของคนในชุมชนบ้านแม่แจ่ม จังหวัดลำปาง (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อการท่องเที่ยวที่มีต่อชุมชนท้องถิ่น ณ ชุมชนบ้านแม่แจ๋ม จังหวัดลำปาง และ (3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อการท่องเที่ยวที่มีต่อชุมชนท้องถิ่น ณ ชุมชนบ้านแม่แจ๋ม จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ คนในชุมชนบ้านแม่แจ๋ม จังหวัดลำปาง จำนวน 230 คน โดยใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม และรวบรวมข้อมูลมาทำ การวิเคราะห์โดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการทดสอบ สมมติฐานโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA)
จากผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 128 คน คิดเป็นร้อยละ 55.7 มีอายุ 40-49 ปี จำนวน 72 คน คิดเป็นร้อยละ 31.3 มีสถานภาพสมรส จำนวน 155 คน คิดเป็นร้อยละ 67.4 มีระดับการศึกษาปริญญาตรี จำนวน 145 คน คิดเป็นร้อยละ 63.0 และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-25,000 บาท จำนวน 71 คน คิดเป็นร้อยละ 30.9 ข้อมูลด้านผลกระทบของการท่องเที่ยวต่อชุมชนท้องถิ่น ทางด้านผลบวกของคนในชุมชนบ้านแม่แจ๋ม จังหวัดลำปาง มีระดับการตัดสินใจอยู่ในระดับมากที่สุดในด้านเศรษฐกิจ รองลงมาคือ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านวัฒนธรรม และด้านสังคม ตามลำดับ ข้อมูลด้านผลกระทบของการท่องเที่ยว ต่อชุมชนท้องถิ่น ทางด้านผลลบ ของคนในชุมชนบ้านแม่แจ๋ม จังหวัดลำปาง มีระดับการตัดสินใจอยู่ในระดับ มากที่สุด ในด้านเศรษฐกิจ รองลงมาคือ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคม และด้านวัฒนธรรม ตามลำดับ
ผลการทดสอบสมมติฐานที่ 1 ลักษณะประซากรศาสตร์ของคนในชุมชนบ้านแม่แจ๋ม จังหวัดลำปาง ที่แตกต่างกันมีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวต่อชุมชนท้องถิ่นทางด้านผลบวก แตกต่างกัน พบว่า เพศ และอายุ ของคนในชุมชนบ้านแม่แจ๋ม จังหวัดลำปาง ที่แตกต่างกันมีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวต่อชุมชนท้องถิ่นทางด้านผลบวก ไม่แตกต่างกันในภาพรวม และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า เพศ และอายุ ของคนใน ชุมชนบ้านแม่แจ๋ม จังหวัดลำปาง ที่แตกต่างกันมีผลกระทบของการท่องเที่ยวต่อชุมชนท้องถิ่นทางด้านผลบวก แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 สถานภาพ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ของคนใน ชุมชนบ้านแม่แจ๋ม จังหวัดลำปาง ที่แตกต่างกัน มีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวต่อชุมชนท้องถิ่นทางด้านผลบวก ไม่แตกต่างกัน ทั้งในภาพรวม และรายด้านที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05
ผลการทดสอบสมมติฐานที่ 1 ลักษณะประชากรศาสตร์ของคนในชุมชนบ้านแม่แจ๋ม จังหวัดลำปาง ที่แตกต่างกันมีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวต่อชุมชนท้องถิ่นทางด้านผลลบ แตกต่างกัน พบว่า เพศ และอายุ ของคนในชุมชนบ้านแม่แจ่ม จังหวัดลำปาง ที่แตกต่างกันมีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวต่อชุมชนท้องถิ่น ทางด้านผลลบ ไม่แตกต่างกันทั้งในภาพรวม และรายด้านที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05
สถานภาพ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของคนในชุมชนบ้านแม่แจ๋ม จังหวัดลำปาง ที่แตกต่างกัน มีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวต่อชุมชนท้องถิ่นทางด้านผลลบ ไม่แตกต่างกันในภาพรวม และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า สถานภาพ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของคนในชุมชนบ้านแม่แจ๋ม จังหวัดลำปางที่แตกต่างกัน มีผลกระทบของการท่องเที่ยวต่อชุมชนท้องถิ่นทางด้านผลลบ แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 โดยระดับการศึกษา ของคนในชุมชนบ้านแม่แจ๋ม จังหวัดลำปาง ที่แตกต่างกัน มีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวต่อชุมชนท้องถิ่นทางด้านผลลบ ไม่แตกต่างกันในภาพรวม และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ระดับการศึกษาของคนในชุมชนบ้านแม่แจ๋ม จังหวัดลำปาง ที่แตกต่างกัน มีผลกระทบของการท่องเที่ยวต่อชุมชนท้องถิ่นทางด้านผลลบ แตกต่างกันในด้านสังคม และด้านวัฒนธรรมที่ระดับนัยสำคัญทาง สถิติ .05
จากผลการศึกษาเรื่อง ผลกระทบของการท่องเที่ยวที่มีต่อชุมชนท้องถิ่น ณ ชุมชนบ้านแม่แจ๋ม จังหวัดลำปาง ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะจากการวิจัยดังนี้
เนื่องจากชุมชนบ้านแม่แจ๋ม จังหวัดลำปาง มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเป็นจำนวนมาก จนเกิดผลกระทบต่อวิถีชีวิต และค่านิยมของคนในชุมชน ดังนั้น ชุมชนบ้านแม่แจ๋ม จังหวัดลำปาง ควรมีการจัดประชุมโดยให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นถึงแนวทางในการจัดการการท่องเที่ยว ทั้งในด้านการแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้รับจากการท่องเที่ยว เพื่อให้เกิดการจัดสรรผลประโยชน์ที่คนในชุมชนจะได้รับอย่างเหมาะสม และเท่าเทียมกัน รวมไปถึงการจัดอบรมให้ความรู้แก่คนในชุมชนให้เห็นถึงความสำคัญของวิถีชีวิต และค่านิยมดั้งเดิมของสังคม การวางแผนการจัดระเบียบสิ่งก่อสร้างที่พักและสถานที่ท่องเที่ยว ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรม เพื่อเป็นการป้องกันและรักษาภูมิทัศน์เดิมให้คงอยู่และพัฒนาชุมชนเพื่อรองรับการท่องเที่ยวควบคู่กันไป

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Designated Area for Sustainable Tourism Administration (Public Organization). (2019). Standard criteria handbook of community-based tourism management. Bangkok: Designated Area for Sustainable Tourism Administration (Public Organization). (in Thai)

Government Saving Bank Research (2019). Community-based tourism sustainability. Retrieved December 20 2018, from https://www.gsbresearch.or.th/wp-content/uploads/2019/10/GR_report_travel_detail.pdf (in Thai)

Jittangwattana, B., & Srikumpa, P. (2014). Sustainable tourism development (2th ed.). Nonthaburi: Dhammasan. (in Thai)

Klinmuenwai, K., & Sucharitkul, J. (2022). The impact of tourism affects the local community of khong District, Nakhon Ratchasima province. Rajapark Journal, 16(44), 56-72. (in Thai)

Lampang Public Relation Officer. (2018,). The Mae Jam Community Was Ready to Open a Village to Welcome Tourists Visit the Way of Life in Touch with Nature from 1-2 December 2018. Retrieved October 15, 2008, from https://thainews.prd.go.th/th/news/print_news/TNECO6111300010019

Likitsarun, N. (2019). Impacts of tourism on communities around the area of Phu Toei National Park Suphanburi province. Journal of Sports Science and Health, 20(2), 139-150. (in Thai)

Meebua, S., Uejitmet, W., & Subsin, W. (2017). Changes in the way of life and the impact of tourism on the local way of Kiriwong life. Narkbhutparitat Journal, 9(1), 128-139. (in Thai)

Nantapanit, S. (2009). 6 Years gender and development research institute/text by Maytinee Bhongsvej; edited by Suteera Thomson. Bangkok: Gender and Development Research Institute : Association for the Promotion of the Status of Women.

Pariwutti, A. (2010). Seminar on “brand identity: creating chains gay sexuality male homosexuals in the Thai media.” Retrieved November 14, 2016, from www.teen.Path.net.html

Tansawaswong, P. (2015). The concept, theory, methodology in the study of sexuality. Documents

Techataweewan, S. (2008). Behavior of tourist (teaching publication). Khon Kaen: Khon Kaen University. (in Thai)

Tourism Authority of Thailand. (2020). Mae Jam, Lampang agricultural tourism toute. Retrieved December 20 2018, from https://sukjaistation.tourismthailand.org/view/tour/1420 (in Thai)

Tourism Authority of Thailand. (2021). National action plan for ecotourism. Bangkok: Conservation Division, Tourism Authority of Thailand. (in Thai)

Wongwareatip, V. (2016). Gender diversity in Thai learning. Bangkok: Foundation for Gender Rights and Justice.