ผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับแผนผังความคิด ที่มีต่อความสามารถในการวิเคราะห์คุณค่าวรรณคดี เรื่อง นิราศภูเขาทอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับแผนผังความคิด ที่ส่งผลต่อความสามารถในการวิเคราะห์คุณค่าวรรณคดี เรื่อง นิราศภูเขาทอง ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เปรียบเทียบความสามารถในการวิเคราะห์คุณค่าวรรณคดี เรื่อง นิราศภูเขาทอง ระหว่างก่อนและหลังเรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอนร่วมกับแผนผังความคิด และ (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียน โดยใช้ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับแผนผังความคิด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/9 โรงเรียนมหาวชิรวุธ จังหวัดสงขลา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 44 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง นิราศภูเขาทอง (2) บทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง นิราศภูเขาทอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1(3) แบบวัดความสามารถในการวิเคราะห์คุณค่าวรรณคดี เรื่อง นิราศภูเขาทอง และ (4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ร่วมกับแผนผังความคิด ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับแผนผังความคิด ที่ส่งผลต่อความสามารถในการวิเคราะห์คุณค่าวรรณคดี เรื่อง นิราศภูเขาทอง มีประสิทธิภาพ :0.11/85.45 แสดงว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่สร้างขึ้นร่วมกับแผนผังความคิดมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 เปรียบเทียบความสามารถในการวิเคราะห์คุณค่าวรรณคดี เรื่อง นิราศภูเขาทอง ระหว่างก่อนและหลังเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับแผนผังความคิด หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .00 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ได้กำหนดไว้ และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับแผนผังความคิด โดยภาพรวมพบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับดี ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.45 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.70
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผู้ส่งบทความ (และคณะผู้วิจัยทุกคน) ตระหนักและปฎิบัติตามจริยธรรมการวิจัยอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้บทความ เนื้อหา ข้อมูล ข้อความ ภาพ ตาราง แผนภาพ แผนผัง หรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในบทความ เป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ โดยถือเป็นความรับผิดของของเจ้าของบทความเพียงผู้เดียว
References
Buranasinvattanakul, K. (2017). How to teach literature to enhence students’conceptual thinking skill. Journal of MCU Social Science Review, 6(4), 203-213. (in Thai)
Chotmanset, P. (2008). Construction of computer-assisted instruction for teaching Thai on the topic Tri Phum Pra Raung for grade level 4. Master of Education, Chiang Mai University. (in Thai)
Jaito, P. (2015). The development of computer-assisted instruction game lesson with enhancement techinques on the topic of thai parts of speech for mathayomsuksa 1 students at banhuawang school. Master of Education, Silpakorn University. (in Thai)
Kummongkun, S. (2014). The development of reading and critical thinking using mind mapping in Thai learing subustance group for matthaymsuksa 6 students. Master of Education, Rajabhat Maha Sarakham University. (in Thai)
Manathanyakul, Y. (2009). The dveelopment of instructional multimedia computer on self-supporting economic in social syudy, religion and cultural substance for fifth-grade studenth. Master of Education, Srinakharinwirot University. (in Thai)
Meeboonya, W. (2015). The development of computer assisted instruction for teaching thai on the topic of ngao paa play for prathomsuksa 4 syudents. Master of Education, Srinakharinwirot University. (in Thai)
Ministry of Education. (2008). Basic education core curriculum 2008. Bangkok: Teachers Council of Thailand Printing House Ladprao. (in Thai)
Ministry of Education. (2019). Guidelines for teaching and learning management of schools under the Office of the Commission. Bangkok: Author. (in Thai)
Pathompattana, P. (2012). The development of finished lessons on the use of English for communication for students in mathayom 1 at Ban Thung Samo school Phetchabun province. Master of Education, Rajabhat Phetchabun University. (in Thai)
Prasitrat, O. (1987). Computers for teaching and learning (2nd ed.). Bangkok: Craftman Press. (in Thai)
Prommanot, P. (2010). The development of computer assisted instruction for teaching Thai on the topic of tribhumpraruang manussabhum for matthayomsuksa 6 students. Master of Education, Silpakorn University. (in Thai)
Soonthornrot, W. (2012). Innovation for learning: Department of curriculum and Instruction (2nd ed.). Maha Sarakham: Mahasarakham University Press. (in Thai)
Wiboolyasarin, W. (2013). Bibliographic information. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)
Wutthanu, S. (2010). Developing reading comprehension skills of mathayom Suksa 2 students using a mind map. Master of Education, Khon Kaen University. (in Thai)