การศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาการเขียนคำทับศัพท์ที่ปรากฏในนิตยสาร Vogue Thailand
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาคำและความหมายของคำทับศัพท์ และ (2) วิเคราะห์ปัญหาการเขียนคำทับศัพท์ที่ปรากฎในนิตยสาร Vogue Thailand ฉบับที่ 6 - 12 ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - เดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2564 จำนวน 51 คำ โดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์ลักษณะการเขียนคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษตามหลักเกณฑ์ของราชบัณฑิตยสถานในประเด็นที่กำหนดไว้
ผลการวิจัยพบว่า (1) การศึกษาคำและความหมายของคำทับศัพท์ที่ปรากฎในนิตยสาร Vogue Thailand ฉบับ ที่ 6 - 12 ปี พ.ศ. 2564 พบว่า มีการนิยมใช้คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษตีพิมพ์ลงในเนื้อหาของนิตยสาร (2) การวิเคราะห์ปัญหาการเขียนคำทับศัพท์ที่ปรากฎในนิตยสาร Vogue Thailand ฉบับที่ 6 - 12 ปี พ.ศ. 2564 พบว่า มีคำทับศัพท์ทั้งหมด 1,473 คำ (รวมคำซ้ำ ค่าความถี่คำทับศัพท์ที่พบมากที่สุด คือ คำว่า สไตล์ (Style) มีค่าความถี่ เท่ากับ 65 ครั้ง และพบปัญหาการเขียนคำทับศัพท์ผิดหลักเกณฑ์ จำนวน 20 คำ ได้แก่ ปัญหาการลด รูปวรรณยุกต์ เปลี่ยนรูปตัวการันต์ เปลี่ยนรูปสระ และปัญหาเปลี่ยนรูปพยัญชนะ
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผู้ส่งบทความ (และคณะผู้วิจัยทุกคน) ตระหนักและปฎิบัติตามจริยธรรมการวิจัยอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้บทความ เนื้อหา ข้อมูล ข้อความ ภาพ ตาราง แผนภาพ แผนผัง หรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในบทความ เป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ โดยถือเป็นความรับผิดของของเจ้าของบทความเพียงผู้เดียว
References
Kanjanawan, N. (2015). The principles of Thai language (10th ed.). Bangkok: Bamrungsarn Publisher. (in Thai)
Kannaovakun, P. (2015). English code mixing in Thai: A case study in Thai TV show characteristic, attitude, perception, and motivation. Pattani: Faculty of Humanities and Social Sciences, Prince of Songkla University. (in Thai)
Khatawong, K., & Thammawitan, T. (2020). A study of English loanwords in Cheewajit Magazine from June to July 2020 (Issue 520-523). Journal of Humanities and Social Science Loei Rajabhat University, 3(1), 57-64. (in Thai)
Komkla, T. (2018). A study of English loanwords in Russian newspaper: A case study of online newspaper Gazeta.ru period in May 2019. [Master's Thesis, Thammasat University]. (in Thai)
Office of the Royal Society. (1989a). The English transliteration. Bangkok: Amorn Printing Group. (in Thai)
Office of the Royal Society. (1992b). The English, French, German, Italian, Spanish, Russian, Japanese, Arabian, and Malayu Transliteration. Bangkok: Office of the Royal Society. (in Thai)
Office of the Royal Society. (2015d). Getting Feedback on the Proposed Transliteration Rules. Getting Feedback on the Proposed Transliteration Rules Focus Group Conference. Retrieved May 15, 2020, from http://legacy.orst.go.th/?p=11825 (in Thai)
Office of the Royal Society. (2015e). The transliteration. Retrieved May 15, 2020, from http://www.royin.go.th/?page_id=617. (in Thai)
Prasitruttasin, A. (2004). The evolution of loanwords and Thai vocabulary commandments in Thai society. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)
Thonglor, K. (1994). The principles of Thai language (9th ed.). Bangkok: Amorn Printing. [in Thai]
Thongsakul, R. (2016). English transliterated words appeared in Vogue Thailand magazine. Liberal Arts Review, 14(1), 54-66. (in Thai)
Yamapai, S. (1983). Human communication. Bangkok: 68 Printing. (in Thai)