การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เลือกเรียนภาษาฝรั่งเศส โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายมัธยม) ในการจัดการเรียนการสอนด้วยการใช้สื่อออนไลน์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยในชั้นเรียนฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เลือกเรียนภาษาฝรั่งเศส โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายมัธยม) ในการจัดการเรียนการสอนด้วยการใช้สื่อออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยในชั้นเรียนนี้ คือ นักเรียนที่เลือกเรียนภาษาฝรั่งเศสในวิชาเลือกเสรีระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่เรียนแผนภาษาอังกฤษ-ฝรั่งเศส จำนวน 50 คน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่เลือกเรียนภาษาฝรั่งเศสโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายมัธยม) ในการเรียนออนไลน์ด้วยการใช้สื่อการสอนออนไลน์ จำนวน 15 ข้อ ซึ่งเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย
ผลการวิจัยในชั้นเรียนพบว่า ลักษณะของผู้สอนมีดังนี้ อาจารย์สามารถให้คำปรึกษาเรื่องการเรียนได้และ อาจารย์มีการสอนที่เข้าใจง่าย สำหรับผลความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนภาษาฝรั่งเศสที่ใช้สื่อการสอนออนไลน์ดังนี้ การออกแบบสื่อการสอนออนไลน์ของผู้สอนเหมาะสมอยู่ในระดับมาก นักเรียนรู้สึกอยากเรียนภาษาฝรั่งเศสอยู่ในระดับปานกลาง นักเรียนมีความสุขต่อการเรียนภาษาฝรั่งเศสอยู่ในระดับมาก และนักเรียนชื่นชอบกิจกรรมและพึงพอใจต่อการใช้สื่อการสอนออนไลน์อยู่ในระดับมาก จากการวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่านักเรียนที่เรียนภาษาฝรั่งเศสด้วยสื่อการสอนออนไลน์มีความพึงพอใจในการใช้สื่อการสอนแบบออนไลน์ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย ซึ่งผู้สอนจะนำข้อเสนอแนะต่าง ๆ ไปปรับปรุงสื่อการเรียนการสอนให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบันต่อไป
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผู้ส่งบทความ (และคณะผู้วิจัยทุกคน) ตระหนักและปฎิบัติตามจริยธรรมการวิจัยอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้บทความ เนื้อหา ข้อมูล ข้อความ ภาพ ตาราง แผนภาพ แผนผัง หรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในบทความ เป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ โดยถือเป็นความรับผิดของของเจ้าของบทความเพียงผู้เดียว
References
Homsuwan, P., Hindee, I., & Siriphaet, K. (2017). The satisfaction online learning management system for Google classrooms in technical colleges automotive industry. Retrived from https://research.kpru.ac.th/sac/fileconference/5152018-05-01.pdf (in Thai)
Naowprateep, K. (2010). Factors affecting level of satisfaction of students of master's degree program in accounting, faculty of commerce and accountancy, Thammasat university. [Master of Accounting, Thammasat University]. (in Thai)
Paramee, p. (2021). A study of the satisfaction of learners towards online teaching and learning in Physics 3 (W 33203) of 2nd year military prep students, semester 1, academic year 2021. Bangkok: Military Preparatory School, Education Division, Science Division. (in Thai)
Royal Academy. (1999). The Royal Institute's d ictionary B.E. 1999. Bangkok: Aksorn Charoenthat. (in Thai)
Suebka, S. (2009). Satisfaction of students on the course via the web program moodle (Moodle e-Learning). [Master of Engineering, Maejo University]. (in Thai)
Tandatanaya, P. (2017). Selected factors affecting the pre-cadet students’ happiness in learning in national defence studies institute. [Master of Education, Rajamangala University of Technology Thanyaburi]. (in Thai)
Tiasuttikun, P., Prommanee, P., Srigate, J., Meenakan, N., & Phongwarinsath, S. (2018). Attitude measurement for public health operations. Valaya Alongkorn Review (Humanities and Social Science), 8(4), 214-225. (in Thai)
U-on, V. (2007). Data analysis in qualitative research (9th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Printing House. (in Thai)
Wuttiyan, K. (2017). Students’satisfaction with learning English online via skype program at ECC language institute. Retrived from http://www.edu-journal.ru.ac.th/Abstract Pdf/2560-5-1_1510839827_is-eng-bkk03-0023.pdf (in Thai)