การประเมินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธโรงเรียนวัดประยุรวงศาวาส โดยประยุกต์ใช้รูปแบบ CIPPIEST
Main Article Content
บทคัดย่อ
การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธโรงเรียนวัดประยุรวงศาวาส โดยประยุกต์ใช้รูปแบบ CIPPIEST ประเมิน 8 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท (Context Evaluation--C) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation--I) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation--P) ด้านผลผลิต (Product Evaluation--P) ด้านผลกระทบ (Impact Evaluation--I) ด้านประสิทธิผล (Efficiency Evaluation--E) ด้านความยั่งยืน (Sustainability Evaluation--S) และด้านการส่งต่อ (Transportability Evaluation--T) กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ครู 25 คน คณะกรรมการสถานศึกษา 10 คน เครือข่ายผู้ปกครอง 108 คน นักเรียน 206 คน รวมทั้งสิ้น 349 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามสำหรับครู คณะกรรมการสถานศึกษา เครือข่ายผู้ปกครอง และแบบสอบถามสำหรับนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินพบว่า 1) ด้านบริบท (Context Evaluation--C) อยู่ในระดับมากที่สุด โครงการมีความสอดคล้องกับพระบรมรา โชบายด้านการศึกษา ยุทธศาสตร์ชาติ วิสัยทัศน์ และโมเดลของโรงเรียน 2) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation--I) อยู่ในระดับมาก ครู และบุคลากรมีความรับผิดชอบและมีความพร้อมในการดำเนินงาน งบประมาณยังไม่เพียงพอ 3) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation--P) อยู่ในระดับมากที่สุด กิจกรรมที่นำมาจัดให้กับผู้เรียนมีความเหมาะสม อย่างยิ่ง 4) ด้านผลผลิต (Product Evaluation--P) อยู่ในระดับมากที่สุด ผู้เรียนมีคุณลักษณะตามโมเดลของโรงเรียน (ส.ว.ย. โมเดล: สง่างาม วิชาการเปี่ยม ยอดเยี่ยมเยาวชน) 5) ด้านผลกระทบ (Impact Evaluation--I) อยู่ในระดับมาก ที่สุด ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่ดีขึ้น 6) ด้านประสิทธิผล (Efficiency Evaluation--E) อยู่ในระดับมากที่สุด โครงการนี้ มีประสิทธิผล ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจต่อโครงการ 7) ด้านความยั่งยืน (Sustainability Evaluation--S) อยู่ในระดับมากที่สุด โครงการมีความยั่งยืน และ 8) ด้านการส่งต่อ (Transportability Evaluation--T) อยู่ในระดับ มากที่สุด โครงการมีการขยายผลไปยังหน่วยงานอื่น ๆ
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผู้ส่งบทความ (และคณะผู้วิจัยทุกคน) ตระหนักและปฎิบัติตามจริยธรรมการวิจัยอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้บทความ เนื้อหา ข้อมูล ข้อความ ภาพ ตาราง แผนภาพ แผนผัง หรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในบทความ เป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ โดยถือเป็นความรับผิดของของเจ้าของบทความเพียงผู้เดียว
References
กรมกิจการเด็กและเยาวชน. (2562). รายงานการพัฒนาเด็กและเยาวชน ประจําปี พ.ศ. 2560. ค้นเมื่อ 17 กันยายน 2562 จาก https://www.watnyanaves.net/uploads/File/books/pdf/integrated_development_of_thai_children.pdf
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2562). รายงานสถิติตัวบ่งชี้สภาวการณ์เด็กและเยาวชนระหว่าง พ.ศ. 2559-2560. ค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2562, จาก http://www.Msociety.go.th/.content_stat_detail.php?pageid=551
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). น้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษา สู่การปฏิบัติและปลุกจิตสำนึก. ค้นเมื่อ 3 กันยายน 2562, จาก https://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=54592&Key=news2
เชาว์ อินใย. (2553). การประเมินโครงการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.
บำรุง โพธิ์ศรี. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการปลูกฝังคุณธรรม และจริยธรรมของนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโยลี สยาม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช. (2543). คำพ่อสอน ประมวลพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัส เกี่ยวกับเด็กและเยาวชน. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย
ภัทรา ไวทยกุล. (2558). การประเมินเชิงระบบโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ กระทรวงศึกษาธิการ. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ส่วนวางแผนและพัฒนาการอบรม. (2562). การศึกษาวิถีพุทธ หลักการ จัดการศึกษาตามแนวพุทธศาสตร์เพื่อความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์. พระนครศรีอยุธยา: มหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย.
มานิดา เจริญภูมิ. (2559). การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนบ้านแวงน้อยสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 โดยประยุกต์ใช้รูปแบบ CIPPEIST. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต , มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ราชกิจจานุเบกษา. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ. ค้นเมื่อ 2 กันยายน 2562, จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/082/T_0001.PDF
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). การพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโกมลคีมทอง.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2562). พัฒนาการแบบองค์รวมของเด็กไทย. ค้นเมื่อ 17 กันยายน 2562, จาก https://www.watnyanaves.net/uploads/File/books/pdf/integrated_development_of_thai_children.pdf
สมบูรณ์ บุญธรรม. (2557). การดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธโรงเรียนวัดพระปฐมเจดีย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นครปฐม เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยทองสุข.
สุภารัตน์ ม่วงศิริ.(2547). การศึกษาภาพลักษณ์ที่เป็นจริงและพึงประสงค์ของโรงเรียนอนุบาล สังกัดสำนักบริหารงาน คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและผู้ปกครอง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุราณีย์ ปาจารย์. (2552). การวิจัยและพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม ให้กับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1: การประยุกต์ใช้กระบวนการแผนที่ผลลัพธ์. วิทยานิพนธ์-ครุศาสตรมหา บัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวัฒน์ วิวัฒนานนท์และคณะ. (2563). โครงการและการประเมินโครงการ (ทางการศึกษา): หลักการ แนวคิด ทฤษฎีและเน้น การปฏิบัติโดยประยุกต์ใช้ตัวแบบ CIPP CIPPIEST และ Kirkpatrick.กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.
อังคณา ผุยพรม. (2557). การศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานตามแนวโรงเรียนวิถีพุทธในสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎ อุบลราชธานี.
Stufflebeam, D. L., & Shinkfield, A. J. (2007). Evaluation theory, models and applications. New York: John Wiley and Son.