รูปแบบภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมสำหรับผู้บริหารการศึกษาในศตวรรษที่ 21
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เรียบเรียงจากข้อเขียนเรื่อง Moral Leadership: A Model for Educational Leaders in the 21st Century โดย Paul M. Quick (2013) และ ความยุติธรรมกับความเกื้อกูลในจริยศาสตร์สตรีนิยม โดย วัชระ งามจิตร เจริญ (2548) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและทําความเข้าใจรูปแบบภาวะผู้นําเชิงจริยธรรมโดยการสังเคราะห์แนวคิดต่าง ๆ และนําเสนอรูปแบบใหม่สําหรับผู้บริหารทางการศึกษา บทความนี้มีทั้งหมดหกส่วน ส่วนที่หนึ่งเป็นบทนํา ส่วนที่สอง เป็นการนําเสนอวัฒนธรรม, บรรยากาศ และสังคมในโรงเรียน ส่วนที่สามเป็นการนําเสนอหลักสามประการสําหรับผู้นํา ทางการศึกษา ส่วนที่สี่เป็นบทบาทของผู้บริหาร ส่วนที่ห้าเป็นการนําไปปฏิบัติสําหรับผู้บริหารการศึกษา และส่วนท้ายสุด เป็นบทสรุปซึ่งมีสาระสําคัญ คือ ผู้บริหารการศึกษาในฐานะที่เป็นผู้นําทางการศึกษาจําเป็นต้องมีภาวะผู้นําซึ่งรูปแบบภาวะผู้นําเชิงจริยธรรมเป็นรูปแบบหนึ่งที่เหมาะสมกับการบริหารการศึกษาในศตวรรษที่ 21 กล่าวคือ การที่ผู้นําจะต้องมีความสามารถในการนําผู้ใต้บังคับบัญชาไปในทางที่ถูกต้องและคํานึงถึงผลประโยชน์ขององค์กรและสังคมเป็นหลัก โดยมีหลักสามประการในการบริหารองค์กร ซึ่งประกอบด้วย (1) ความเป็นของแท้ ความน่าเชื่อถือได้ (authenticity) (2) ความสมดุล (balance) และ (3) ระบบการคิด (system thinking) หลักสามประการนี้จะเป็นส่วนสําคัญ ในการบริหารองค์กรให้เจริญก้าวหน้าไปได้คําสําคัญ: ภาวะผู้นําเชิงจริยธรรม; ผู้บริหารการศึกษา; ศตวรรษที่ 21
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผู้ส่งบทความ (และคณะผู้วิจัยทุกคน) ตระหนักและปฎิบัติตามจริยธรรมการวิจัยอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้บทความ เนื้อหา ข้อมูล ข้อความ ภาพ ตาราง แผนภาพ แผนผัง หรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในบทความ เป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ โดยถือเป็นความรับผิดของของเจ้าของบทความเพียงผู้เดียว
References
วัชระ งามจิตรเจริญ. (2548). ความยุติธรรมกับความเกื้อกูลในจริยศาสตร์สตรีนิยม, วารสารศิลปศาสตร์ คณะศิลปะ ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 5(2), 1-36.
Berreth, D., & Berman, S. (1997). The moral dimensions of schools. Educational Leadership, 54(8), 24-27.
Evans, R. (1996). The human side of school change: Reform, resistance, and the real-life problems of innovation. San Francisco, Calif.: Jossey-Bass.
Nucci, L.P. (2001). Education in the moral domain. NY: Cambridge University Press.
Quick, P.M. (2013). Moral Leadership: A Model for Educational Leaders in the 21st Century. Retrieved August 8, 2016, from https://digitalcommons.fiu.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=1044&context.
Schaps, E. (1998). Risks & rewards of community building. Thrust for Educational Leadership, 28(1), 6-9.
Senge, P.M. (1990). The fifth discipline: The art and practice of the leaming organization. New York: Doubleday.
Senge, P.M., Mccabe N.C., Lucas T., Smith B., Dutton J., Kleiner A. (2000). Schools that learn: A fifth discipline fieldbook for educators, parents, and everyone who cares about education. NY: Doubleday.
Sizer, T.R., & Sizer, N.F. (1999). The students are watching: Schools and the moral contract. Boston: Beacon Press.