การศึกษาประสิทธิผลของยาพอกเข่าจากเมล็ดลำไยในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

จรัสเดช ไชยทอง
อัมพกา ตุมกา
ศศิธร ยอดแย้ม
ธวัชชัย วรพงศธร

บทคัดย่อ


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของยาพอกเข่าจากเมล็ดลําไย ในผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ในพื้นที่อําเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมจากการพอก เข่าด้วยเมล็ดลําไย วิธีดําเนินการวิจัยเป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเข่าในเขตพื้นที่ รับผิดชอบของโรงพยาบาลพนมสารคาม และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล ในอําเภอพนมสารคาม จํานวน 50 ราย ดําเนินการทดลองโดยทําการพอกยาจากเมล็ดลําไยบริเวณเข่า 6 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที ต่อเนื่องทุกวันจันทร์ พุธ และศุกร์ โดยใช้เวลา 6 วัน ให้กลุ่มตัวอย่างประเมินอาการปวดเข่า โดยใช้แบบประเมินความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม (Oxford Knee Score) 2 ครั้ง คือ ก่อนและหลังพอกเข่า รวมทั้งให้ผู้สูงอายุทําแบบทดสอบความพึงพอใจ หลังจากการใช้ยาพอกจากเมล็ดลําไยผลการวิจัยพบว่า อาการปวดเข่าหลังการรักษาด้วยการใช้ยาพอกเข่าจากเมล็ดลําไยในการรักษาโรคข้อเข่า เสื่อม มีคะแนนสูงกว่ากว่าคะแนนอาการปวดเข่าก่อนการรักษา (อาการปวดเข่าลดลง) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ที่ระดับ p < 0.01 และการวิเคราะห์ผลความพึงพอใจในประสิทธิผลของยาพอกเข่าจากเมล็ดลําไย ในการรักษาโรค ข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในเรื่องผลการรักษา และความปลอดภัยในการใช้ นวัตกรรมยาพอกเข่าอยู่ในระดับมากที่สุด ผลจากการศึกษานี้ มีข้อเสนอแนะให้นําวิธีการรักษานี้ ไปประยุกต์ใช้ ในการรักษาผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมในท้องที่อื่นในอําเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทราคําสําคัญ: ข้อเข่าเสื่อม, ยาพอกเข่า, เมล็ดลําไย


Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Angkasit, P., Lampang, D., Apichartpongchai, R., Yimyam, N., Promwpong, T. (1999). The botanical of Longan. Retrieved May 2, 2018, from http://www.longancenter.mju.ac.th/main/.

College of Sciences and Sport Technology, Mahidol University. (2018). Body Mass Index: BMI. [Cited 2018 May 20]. Available from: https://ss.mahidol.ac.th.

Department of Health, Ministry of Public Health. (2015). Elderly health record. Bangkok:Chao Chom Restaurant, Suan Sunandha Rajabhat University.

Hengkrawit, S. (2017). Prevention and postponement of the early elderly from Osteoarthritis knee in in Nakhon Prathom Province. Journal of Health Science, 26(1), 105-110.

Karaket, S., Suyarach, N., Jaidee, P., Kasmek, S., Prompao, S., Panita Prawang, P., et al. (2017). Comparative study of pain level before and after cool herbal mud treatment with Thai massage in elderly with knee pain. Chaingrai Medical Journal, 9(2), 115-124.

Koupniratsaikul, V. (2017). Taking care of Osteoarthritis patient. Elderly Medicine. Retrieved May 2,2018, from http://www.si.mahidol.ac.th.

Limtiyayothin, A. et al. (2007). Royal Thai massage manual. Bangkok: Thai Medical Association. Phanom Sarakham Hospital. (2018). Annual Statistical Report in 2018. Phanom Sarakham District,Chachoengsao Province.

Sributsarakam, A. (2012). Value of Longan not only sweetness. Herb Information Office, Faculty of Pharmacy, Mahidol University. Herb Information Newsletter in 2012, 30, 1.

Thai health Organization. (2012). Thailand found 4 million elderly Osteoarthritis patients. Retrieved June 12, 2018, from https://www.thaihealth.or.th/Content/3567.html.

Winijkate khamnuan, A. (2001a). Valued Thai Longan to Longaniod, product of wisdom. Retrieved April 30, 2018, from http://www.dailynews.co.th/agriculture/161610.

Winijkate khamnuan, A. et al. (2001b). Longaniod product reviews. Retrieved April 30, 2018, from http://parunnews.wordpress.com/2012/08/02/longanoid/.