การส่งเสริมเด็กที่มีความสามารถพิเศษ

Main Article Content

ปรียา บุญญสิริ

บทคัดย่อ


เด็กและเยาวชนในประเทศไทยมีจํานวนไม่น้อยที่เป็นผู้ที่มีความสามารถพิเศษ เด็กเหล่านี้จําเป็น ต้องได้รับโอกาส ในการพัฒนาความสามารถพิเศษของตนอย่างเต็มศักยภาพด้วยหลักสูตรสําหรับผู้ที่มีความสามารถพิเศษ โดยเลือกใช้วิธีใด ก็ได้ที่เหมาะสมกับเด็กและบริบทของโรงเรียน โปรแกรมการเพิ่มพูนประสบการณ์ เป็นการจัดการศึกษาแนวทางหนึ่งที่เน้น กระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหา เป็นการปูพื้นทักษะการเรียนรู้ การคิดวิเคราะห์ การสืบสวนสอบสวน การหาความรู้ ความจริงและสนับสนุนให้เด็กศึกษาหาความรู้ที่นอกเหนือจากจุดมุ่งหมายในการเรียนสําหรับเด็กปกติ กิจกรรมที่จัดควรเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมเด็กที่มีความสามารถพิเศษในด้านทักษะการคิด ซึ่งอาจเป็นโครงงานหรือสะเต็มศึกษาที่สามารถพัฒนาเด็ก ให้เป็นผู้มีทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์ อีกทั้งส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้การนําไปใช้ใน ชีวิตจริงอันจะนําไปสู่การประกอบอาชีพในอนาคต สามารถนําประเทศไทยไปสู่สังคมโลกอย่างมั่นคงและมั่งคั่งต่อเนื่องอย่างถาวร


Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปรียา บุญญสิริ. (2553). กลวิธีการจัดการเรียนรู้โดยการทําโครงงาน ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร:สํานักพิมพ์พัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.).

ปรียา บุญญสิริ และคณะ. (2556). รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเติมเต็มศักยภาพ ผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษ ประชุมวิชาการ เรื่องจากการปฏิบัติสู่งานวิจัยเพื่อเติมเต็มศักยภาพผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษ (หน้า 59-60). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์ (1987)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). รู้จักสะเต็ม ค้นจาก http://www.stemedthailand.org/

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545), รายงานสรุปสภาพปัจจุบันและยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาสําหรับ เต็กและเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2548). ยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กและเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษ (พ.ศ.2549-2559) กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดี.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2560) แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค สํานักนายกรัฐมนตรี, สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542), พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

อุษณีย์ อนุรุทธ์วงศ์. (2556). การสร้างโอกาสแก่ผู้มีความสามารถพิเศษ ประสบการณ์จากผู้ปฏิบัตินานาชาติ ประชุม วิชาการเรื่องจากการปฏิบัติสู่งานวิจัยเพื่อเติมเต็มศักยภาพผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษ (หน้า 24).กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์ (1987).