ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ปัทมาภรณ์ บุญทัน
เกษม ชูรัตน์
สุรีย์พันธุ์ วรพงศธร
ธวัชชัย วรพงศธร

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยนํา (ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านครอบครัว และปัจจัยด้าน สิ่งแวดล้อม) วิธีเผชิญความเครียด และความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย รามคําแหง กรุงเทพมหานคร (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนํา (ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านครอบครัว และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม) วิธีเผชิญความเครียด กับความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยรามคําแหง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคําแหง จํานวน 440 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่สร้างขึ้นโดยมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับความเครียดของนักเรียน และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.943 การวิเคราะห์ข้อมูล ได้ใช้สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และใช้สถิติ ไคสแควร์ (Chi-square test) และสถิติวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson's product moment correlation coefficient ) สําหรับวิเคราะห์ความสัมพันธ์ โดยกําหนดนัยสําคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคําแหง กรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 53.20 เรียนอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ร้อยละ 34.10 อยู่ในแผนการเรียน วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ร้อยละ 34.20 สถานภาพสมรสของบิดามารดาอยู่ร่วมกัน ร้อยละ 73.00 สถานภาพ ทางการเงินของครอบครัวพอใช้และมีเงินเก็บ ร้อยละ 60.70 สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครอบครัว เพื่อน และครู ส่วนใหญ่รักใคร่กลมเกลียว ร้อยละ 88.20 94.80 และ79.50 ตามลําดับ นักเรียนส่วนใหญ่มีวิธีเผชิญความเครียด ค่อนข้างต่ํา ร้อยละ 61.60 และมีความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 63.00 ระดับชั้นเรียน สถานภาพสมรสของบิดามารดา สถานภาพการเงินของครอบครัว สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครอบครัว สัมพันธภาพระหว่าง
นักเรียนกับเพื่อน สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครูและวิธีเผชิญความเครียด มีความสัมพันธ์กับความเครียดของ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคําแหง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 


Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Archawanijkun, S. (1994). Stressful (3rd). Bangkok: Doublenine Printing.

Chanem, S. (1997). Developmental psychology (3rd). Bangkok: Thai Wattanaphanit Publication.

Hochin, P. (2014). Factors affecting the stress of higher secondary school students at Ramkhamhaeng University Demonstration School (Master's Thesis in Education) Ramkhamhaeng University.

Jiamnakarin, P. (1996). Teenage development. Bangkok: Samcharoen-Phanit.

Jumkham, S. (2004). The relationship between the five personality elements and coping. (Master's Thesis in Education; Developmental Psychology), Srinakharinwirot University.

Khummuan, C. (2015). Prevalence and related factors of stress among grade 12 students in Burirampittayakhom School (Master's Thesis in Science; Health Research andManagement), Chulalongkorn University.

Koothavegul, S. (2003). Factors associated with the stress of the students of the Department of General Education at Prarajchawangderm Campus. (Master's Thesis in Education), Rajabhat Institute Dhonburi.

Laipasu, P. (2011). Factors affecting the stress of high school students: Case study of school in Ladkrabang district, Bangkok. 49th Kasetsart University Annual Conference: Science. Kasetsart University.

Malarad, W. (2000). Stress and stress coping behavior of the upper secondary school students in Chiang Mai Province. (Master's Thesis in Education; Educational Psychology and Guidance), Chiang Mai University.

Ministry of Public Health, Department of Mental Health. (2018). Stress and meaning of stress.Retrieved December 24, 2018, from https://www.dmh.go.th

Ministry of Public Health, Division of Health Education. (2019). Stress and effects of stress. Retrieved January 12, 2019, from https://www.hed.go.th

Mulashewa, W. (2004). Factors affecting preparation stress entrance examination for higher education of Mathayom Suksa 6 students, Phra Haruthai Convent School, Khlong Toei District, Bangkok. (Master's Thesis in Education; Educational Psychology). Srinakharinwirot University.

Nealnara, J. (1999). Variables influencing stress of Mathayom Suksa Vi students under the department of general education, region 9. (Master's Thesis in Education), Khon kaen University.

Nuttapong, T. et al. (2015). Factors related to stress among Matthayom 6 students in Warinchamrab District, Ubonratchathani Province. Mahasarakham University Research Conference in 2016, the 12 volume.

Palirat, K. (2014). Stress in high school students in Bangkok being tutored for national admission examination. (Master's Thesis in Science; Mental health), Chulalongkorn University.

Puttreepoom Rujirada. (2018). Factors related to stress regarding new Thai University Central Admission System Examination of Mathayomsuksa 6 Students, Changwat Trang. (Bachelor's Independent Study in Public Health; Community Public Health). Sirindhorn College of Public Health, Ubon Ratchatani.

Satirapanya, C., & Kochapakdee, W. (2008). Mental health. Bangkok: Nam Sin Advertising.

The Bangkok insight. (2019). Teen suicide statistics. Retrieved January 4, 2019, from:https://www.thebangkokinsight.com

Tontuan, S. (2010). A study of stress and coping strategies of high school students. (Master's Thesis in Education; Developmental Psychology) Srinakharinwirot University.

Vorapongsathorn, T., & Vorapongsathorn, S. (2018). Sample size calculation for research using G*Power program. Journal of Health Promotion and Environmental Health, 41(2), 11-21.