การบริหารจัดการสถานศึกษาที่เป็นเลิศ: กรณีศึกษาวิทยาลัยการอาชีพบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

นริศรา ทองยศ

บทคัดย่อ


การวิจัยเรื่อง การบริหารจัดการสถานศึกษาที่เป็นเลิศ: กรณีศึกษาวิทยาลัยการอาชีพบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปรากฏการณ์การบริหารการศึกษาของวิทยาลัยการอาชีพบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น (2) ศึกษาแนวทางในการบริหารการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ (Best Practice) กรณีศึกษาการบริหารจัดการสถานศึกษา ที่เป็นเลิศ วิทยาลัยการอาชีพบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บรวบรวม ข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์จากผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้บริหาร 2 คน ครู 5 คน และนักเรียนนักศึกษา 4 คน โดยศึกษา ข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ประเด็นที่ทําการศึกษา คือ แนวคิดในหลักของระบบการบริหารที่มุ่งเน้นความ เป็นเลิศของสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ (1) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (2) แบบวิเคราะห์เอกสาร โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยด้วยวิธี การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation) จากนั้นนําข้อมูลที่ ได้มาวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) เพื่อนํามาสรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า (1) วิทยาลัยการอาชีพบ้านไผ่ มีการบริหารจัดการเช่นเดียวกับวิทยาลัยของ สอศ.ทั่วไป แต่ประเด็นโดดเด่นของวิทยาลัยการอาชีพบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น มีการบริหารที่เป็นเลิศ คือ (1.1) ด้านบริหารวิชาการ มีการเตรียมความพร้อมด้านการต่างประเทศ มีการทําความร่วมมือกับต่างประเทศ (1.2) ด้านบริหารงบประมาณ มีการวางแผนการใช้งบประมาณประจําปีไว้
ล่วงหน้า มีการบริหารงบประมาณจากภาครัฐและงบประมาณพิเศษที่ได้รับการสนับสนุน (1.3) ด้านบริหารงานบุคคล มีการรับครูต่างประเทศที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทั้งภาษาอังกฤษและด้านภาษาประจําชาติ เพื่อช่วยในการเตรียม ความพร้อมด้านภาษาให้แก่นักเรียนนักศึกษาที่จะไปเรียนยังประเทศที่ทําความร่วมมือด้วย โดยมีการใช้แนวทางการ บริหารแบบครอบครัว แบบพี่น้อง (1.4) ด้านการบริหารงานทั่วไป มีการระดมทรัพยากร เพื่อการศึกษาโดยการขอรับ ทุนสนับสนุนจากหน่วยงานและสถานประกอบการ และในส่วนของงานส่งเสริมกิจการนักเรียนนักศึกษา วิทยาลัยได้ ส่งเสริมให้นักเรียนแต่งชุดด้วยผ้าไทยในทุกวันศุกร์ เพื่อให้เด็กมีความภูมิใจในความเป็นชาติไทย เรียนรู้วัฒนธรรมและ สร้างการยอมรับวัฒนธรรมอีสานในท้องถิ่นของตน (2) แนวทางในการบริหารการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ (Best Practice) ประกอบไปด้วย องค์ประกอบหลักของระบบการบริหารที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศของสถานศึกษา 6 องค์ประกอบ ประกอบด้วย (2.1) ภาวะผู้นําของผู้บริหารสถานศึกษา (2.2) กระบวนการจัดการเรียนรู้ของครู (2.3) การวางแผนกลยุทธ์ (2.4) การบริหารทรัพยากรบุคคล (2.5) กระบวนการบริหารจัดการ และ (2.6) ความคาดหวังต่อความสําเร็จของผู้เรียน

 


Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขัตติยา ด้วงสําราญ. (2552).รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สําหรับโรงเรียนขนาดเล็ก ดุษฎีนิพนธ์-ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จาตุรนต์ ฉายแสง. (2556). 8 นโยบายการศึกษา, กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ สํานักนโยบายและ ยุทธศาสตร์

ธีระ รุญเจริญ (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดการและบริหารการศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษา.กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์ข้างฟ่าง.

นงลักษณ์ เรือนทอง. (2552). รูปแบบการบริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิผล, ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2544). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพมหานคร รื่นจิตต์ ตรีนุรักษ์. (2545) การบริหารโรงเรียนอนุบาลเอกชนเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศในจังหวัดนครปฐม กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วันเพ็ญ บุรีสูงเนิน. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสําเร็จในการบริการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพัฒนาพื้นที่ชายฝั่ งทะเลตะวันออก. ดุษฎีนิพนธปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). สรุปสาระสําคัญ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564, กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). การศึกษาความต้องการกําลังคนเพื่อวางแผนการผลิตและพัฒนากําลังคน ของประเทศ. กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2558). สถานภาพการผลิตและการพัฒนาครูในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.

สุนันทา สังฃทัศน์. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศีกษา โดยใช้แนวคิด Balanced Scorecard (BSC). วารสารวิชาการ RMUTT Global Business and Economics Review, 81), 99-108.

Mok, K., H. (2003). Decentralizational and marketization of education in Singapore: A case study of the excellence model Journal of educational administration, 41(4), 348-366.