อิทธิพลครอบครัว ชุมชนและสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อผลสอบทางการศึกษาระดับชาติ ขั้นพื้นฐานของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดกาญจนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) เป็นการประเมินมาตรฐานการเรียนรู้ในหลักสูตร แกนกลางของการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ประเมินผลใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ มีผลต่อผลสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณผสานกับ การวิจัยเชิงคุณภาพ ข้อมูลเชิงคุณภาพเก็บจากผู้บริหารและฝ่ายวิชาการโรงเรียน 20 ราย ด้วยแบบสัมภาษณ์เจาะลึกเก็บ ข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 ในจังหวัดกาญจนบุรี จํานวน 400 ราย ใช้วิธีการสุ่ม ตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจําลองสมการเชิงโครงสร้าง ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านครอบครัว มีอิทธิพลมากที่สุดต่อผลสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รองลงมา คือ ปัจจัยด้านสถานศึกษา และปัจจัยด้านชุมชน ตามลําดับคําสําคัญ: ผลสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน, นักเรียน, สถานศึกษา
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผู้ส่งบทความ (และคณะผู้วิจัยทุกคน) ตระหนักและปฎิบัติตามจริยธรรมการวิจัยอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้บทความ เนื้อหา ข้อมูล ข้อความ ภาพ ตาราง แผนภาพ แผนผัง หรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในบทความ เป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ โดยถือเป็นความรับผิดของของเจ้าของบทความเพียงผู้เดียว
References
กรรณิการ์ ภิรมย์รัตน์. (2554). รายงานการวิจัยเรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
จิตตินันท์ เดชะคุปต์ และณัฐชนา พวงทอง. (ม.ป.ป.), เอกสารประกอบการสอนรายวิชา แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับ ครอบครัวและชุมชน, นนทบุรี: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ณัฐชา วัฒนวิไล และคณะ. (2552). รายงานการวิจัยเรื่องปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหลักการ บัญชี 1 กรณีศึกษาคณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัย-กรุงเทพ.
พัชสุดา กัลยาณวุฒิ. (2558). รายงานการวิจัยเรื่องปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษาระดับ ปวช. และระดับปวส. ของวิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพ และบริหารธุรกิจ, เชียงใหม่ วิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพ และบริหารธุรกิจ.
วิทยากร เชียงกูล. (2545). การพัฒนาระบบสวัสดิการสําหรับคนจน คนด้อยโอกาส กลุ่มผู้ประกอบการอาชีพอิสระราย ย่อย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์, (2552), ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์เฟื่องฟ้า พริ้นติ้ง.
สุรชัย เทียนขาว. (2550). การเข้าสู่สังคมฐานความรู้ของชาวบ้าน ด้วยศูนย์การเรียนรู้ชุมน. หนังสือพิมพ์มติชน, 149), 5.
สํานักงานปฏิรูปการศึกษา. (2545), แนวทางการบริหารและการจัดการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดี.
อรุณ รักธรรม และณรงค์ กุลนิเทศ. (2552). เอกสารประกอบการบรรยายการวิจัยเชิงคุณภาพ กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
อาภรณ์ อินต๊ะชัย. (2556).รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา คณิตศาสตร์ของนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่.เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.
เอื้ออัมพร ทิพยทิฆัมพร. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความยึดมั่นผูกพันของครูในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร.วารสารการบริหารและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 33), 63-80.
National Institute of Educational Testing Service. (2013). Report on the results of the National Basic Education Testing 2013. Bangkok: Author.