การเรียนรู้เป็นทีม โดยใช้กระบวนการสอนแบบเรียนรู้ร่วมกัน (Learning Together: LT) ผ่านการสอนเรื่องสิทธิมนุษยชนกับสันติภาพ ในวิชาสังคมศึกษา

Main Article Content

อภิรดี ณ สงขลา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) นำเสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้เป็นทีมโดยใช้กระบวนการสอนแบบเรียนรู้ร่วมกัน (Learning together--LT) ในวิชาสังคมศึกษา เรื่อง สิทธิมนุษยชนกับสันติภาพ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์และเสริมสร้างทักษะการทำงานร่วมกัน และ (2) นำเสนอแนวทางการจัดกิจกรรมเสริมสร้างสมรรถนะหลักด้านความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน (Team spirit) ซึ่งเป็นสมรรถนะที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อการเรียน การทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวัน ผ่านการศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด LT   ในนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม ซึ่งได้ร่วมกันศึกษาและอภิปรายในหัวข้อเรื่องสิทธิมนุษยชนกับสันติภาพ ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด LT ดังกล่าวพบว่านักเรียนภายในแต่ละกลุ่มย่อยได้แสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลาย สามารถพูดสนับสนุนและโต้แย้งในประเด็นที่อภิปรายได้อย่างมีเหตุผล ตลอดจนสามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายทั้งงานกลุ่มและงานรายบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้ แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด LT จึงมีประโยชน์อย่างมากต่อการจัดการเรียนการสอน และเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริม พัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ทักษะทำงานร่วมกัน และสร้างสมรรถนะหลักด้านความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันให้แก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Chulalongkorn University Demonstration School. (2022). Student and Parent Handbook for the Academic Year 2022. https://satitm.chula.ac.th/images/pdf/std_manual65.pdf (in Thai)

Gibson, D. R., & Campbell, R. M. (2000). The role of cooperative learning in the training of junior hospital doctors: a study of pediatric senior house officers. Medical Teacher, 22(3), 297-300. DOI: https://doi.org/10.1080/01421590050006296

Jaithiang, A. (2007). Theory of teaching (4th ed.). Odean store. (in Thai)

Johnson, D. W., & Johnson, F. P. (1987). Joining together: Group theory and group skills (3rd ed.). Prentice-Hall.

Johnson, D. W., & Johnson, F. P. (1991). Joining together: Group theory and group skills (4th ed.). Prentice-Hall.

Khaemanee, T. (2005). Instructional methods: varied alternatives (3rd ed.). Chulalongkorn University Press. (in Thai)

Moonkum, S. A. (2003). 19 Learning Strategies: Enhancing Knowledge and Skills. Parbpim Printing. (in Thai)

Office of Human Resource Management, Chulalongkorn University. (2017). Core Competency Handbook. https://www.hrm.chula.ac.th/newhrm/wp-content/uploads/2017/11/core_compotecies_print_v8_-1-V1-1.pdf (in Thai)

Office of the Basic Education Commission. (2017). Key Performance Indicators and Content Focus: Social Studies, Religion, and Cultural Learning. https://drive.google.com/file/d/0B9t56k6dmUe5Z202Wmw5S1dvOGM/view?resourcekey=0-5dzEmHF7yipsPKfkZShqjw (in Thai)

Pimthong, N., & Thongaem, A. (2016). The development of cooperative learning by learning together technique for health education subject, Matthayomsuksa 3 students. Graduate Journal Dhurakij Pundit University, 4(3), 880-890. (in Thai)

Rangabthuk, W. (2000). Student-Centered Teaching Plan (3rd ed.). Watanapanich Printing. (in Thai)