การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีเรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง โดยใช้วิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับบทเรียนสำเร็จรูป แอปพลิเคชัน Animaker
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีเรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุ หนิง โดยใช้วิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับบทเรียนสำเร็จรูปแอปพลิเคชัน Animaker และ (2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการเรียนรู้วรรณคดีด้วยวิธีการข้างต้น การวิจัยใช้แบบแผนการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียวโดยวัดผลก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 39 คน ที่ได้รับเลือกมาแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้วรรณคดีเรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง โดยใช้วิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับบทเรียนสำเร็จรูปแอปพลิเคชัน Animaker แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนก่อนและหลังเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทีแบบกลุ่มไม่เป็นอิสระต่อกัน
ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยของนักเรียนด้วยวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับบทเรียนสำเร็จรูปแอปพลิเคชัน Animaker มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีนี้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผู้ส่งบทความ (และคณะผู้วิจัยทุกคน) ตระหนักและปฎิบัติตามจริยธรรมการวิจัยอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้บทความ เนื้อหา ข้อมูล ข้อความ ภาพ ตาราง แผนภาพ แผนผัง หรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในบทความ เป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ โดยถือเป็นความรับผิดของของเจ้าของบทความเพียงผู้เดียว
References
Chanthanuwong, W., & Sinthuwong, K. (2015). Metacognitive development process (MDP). Kulangnanawitthaya.
Hongnoi, P. (2016). A comparison of achievement in Thai literature “Mathanabadha” of Mattayomsuksa 5 students taught by inquiry method (5E). [Master thesis, Silpakorn University]. https://sure.su.ac.th /xmlui/bitstream/handle/123456789/23226/MA_Ponpimon _Hongnoi.pdf?sequence=1&isAllowed =y (in Thai)
Khaemmanee, T. (2014). Pedagogy: The body of knowledge for efficient learning process management. (18th ed.). Chulalongkorn University. (in Thai)
Namna, C. (2017). A study of achievement on Thai literature of Matthayomsuksa 4 students taught by creativity- based learning. Master thesis, Silpakorn University]. Retrieved from http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/1508/1/58255303.pdf (in Thai)
Ninnun, K. (2016). The importance of student-centered teaching and learning. https://www.gotoknow.org /posts/602149 (in Thai)
Pookkesorn, N. (2008). The development of programmed instruction on Thai interpretive reading for mathayomsuksa iv students, st. Francis XAVIER SCHOOL, NONTHABURI. http://thesis.swu .ac.th/swuthesis/Sec_Ed/Nittaya_P.pdf (in Thai)
Saengmanee, T. (2016). Exploratory teaching (5Es). http://www.thaischool.in.th/filesschool/84101600 /workteacher/ (in Thai)
Salaksorn, S., & Boonwanno, J. (2022). Development of learning achievements in Thai literature Rachathirat story Saming Rama volunteered with a search-for-knowledge teaching method (5E) of Mathayom Suksa 1 students at La-ngu Pittayakom School, La-ngu District, Satun Province. The 13th Hatyai National and International Conference, Hatyai, 2129–2138. https://www.hu.ac.th/Conference /conference2022/proceedings/doc/Proceeding%20HU%20Conference13.pdf (in Thai)
Sawatsaringkarn, P. (2020). 5E Instructional Model. https://drpiyanan.com/2020/07/29/5e-instructional-model/?fbclid= (in Thai)
Thammawithikul, A. (2009). Ready-made lessons. https://panchalee.wordpress.com/2009/04/17 /programinstructional1/ (in Thai)
Vipavawanich, T. (2010). The development of self-learning packages through literature in title Inao episode on the war of Kamangkuning section for Mathayomsuksa iv students, Triamudomsuksa school [Master thesis, Srinakharinwirot University]. https://ir.swu.ac.th/jspui/bitstream/123456789 /965/1/Thitaporn_V.pdf (in Thai)