การวิเคราะห์รสชาติกาแฟ ผ่านการเรียนรู้วงจรชีวิตของกาแฟในโลกเสมือนจริง: กรอบแนวคิดการเรียนรู้

Main Article Content

ผกากรอง ปันทะนัน
ธัญวุฒิ เฉลิมพงษ์
บรรพจน์ โนแบ้ว

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอกรอบแนวคิดในการพัฒนาเทคโนโลยีสื่อเสมือนจริง (Virtual Reality: VR) เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ด้านการวิเคราะห์รสชาติกาแฟ โดยมีเป้าหมายเพื่อแก้ไขข้อจำกัดของกระบวนการเรียนรู้แบบเดิม เช่น เวลา สถานที่ และการเข้าถึงทรัพยากรจริงสำหรับการทดลองซ้ำ กรอบแนวคิดนี้อิงทฤษฎีภาระทางปัญญา เพื่อออกแบบองค์ประกอบของสื่อ VR ให้สอดคล้องกับเนื้อหาและสนับสนุนความเข้าใจเนื้อหาแต่ละบทเรียน พร้อมบูรณาการทฤษฎีการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ สนับสนุนการลงมือปฏิบัติผ่านประสบการณ์เสมือนจริง ทีมวิจัยวางแผนออกแบบสภาพแวดล้อมเสมือนเพื่อจำลองกระบวนการผลิตกาแฟตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับแต่ละขั้นตอนตั้งแต่การเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว การแปรรูป การคั่ว การบด ไปจนถึงการชง ตลอดจนสำรวจผลของตัวแปรที่ส่งผลต่อรสชาติ บทความนี้ยังนำเสนอตัวอย่างการออกแบบภาพ กิจกรรม และตัวอย่างการแสดงผลลัพธ์รสชาติที่เป็นไปได้ผ่านวงล้อรสชาติกาแฟ (Coffee Taster’s Flavor Wheel) ซึ่งทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการแสดงความเป็นไปได้ของรสชาติ ผลที่คาดหวังคือการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่สมจริง มีปฏิสัมพันธ์สูง ทดลองซ้ำได้ และนำไปสู่การพัฒนาทักษะการวิเคราะห์รสชาติและการเชื่อมโยงตัวแปรที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ แนวทางการวิจัยในอนาคต ได้แก่ การพัฒนาแพลตฟอร์ม VR เป็นสื่อเสริมการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนปฏิบัติจริง และขยายไปสู่ระบบผู้ใช้เดี่ยวและหลายผู้ใช้ เพื่อเปิดพื้นที่การเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้เรียนและผู้เชี่ยวชาญ เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และฝึกปฏิบัติในบริบทวิชาชีพได้ กรอบแนวคิดนี้จึงเป็นแนวทางใหม่ที่บูรณาการเทคโนโลยี VR กับศาสตร์ด้านรสชาติ เพื่อขยายโอกาสในการฝึกฝนและเข้าถึงองค์ความรู้ด้านรสชาติกาแฟให้ครอบคลุมและสอดคล้องกับบริบทอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้น

Article Details

How to Cite
ปันทะนัน ผ., เฉลิมพงษ์ ธ., & โนแบ้ว บ. (2025). การวิเคราะห์รสชาติกาแฟ ผ่านการเรียนรู้วงจรชีวิตของกาแฟในโลกเสมือนจริง: กรอบแนวคิดการเรียนรู้. Journal of Digital Education and Learning Engineering, 1(2), 24–38. สืบค้น จาก https://so18.tci-thaijo.org/index.php/delethailand/article/view/1097
บท
ฉบับพิเศษ DECCLT2025&ICDELE2025