การออกแบบพื้นที่และกิจกรรมนันทนาการเพื่อความหลากหลายทางเพศ : บทเรียนจากประเทศที่มีกฎหมายสมรสเท่าเทียม
คำสำคัญ:
นันทนาการ, ความหลากหลายทางเพศ, สมรสเท่าเทียม, พื้นที่นันทนาการ, ความยั่งยืนบทคัดย่อ
ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา หลายประเทศทั่วโลกได้ยกระดับประเด็นความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) สู่การขับเคลื่อนเชิงนโยบาย โดยเฉพาะการใช้พื้นที่และกิจกรรมนันทนาการเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมความเสมอภาค ลดอคติ และสร้างสุขภาวะทางสังคมอย่างยั่งยืน ซึ่งแม้ประเทศไทยจะประกาศใช้กฎหมายสมรสเท่าเทียมในปี พ.ศ. 2568 อันเป็นหมุดหมายที่สำคัญด้านสิทธิมนุษยชน แต่การแปลงนโยบายดังกล่าวไปสู่การจัดการพื้นที่และกิจกรรมนันทนาการที่ตอบสนองต่ออัตลักษณ์ที่หลากหลายในบริบทไทยยังคงมีข้อจำกัด ดังนั้นบทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์บทบาทของพื้นที่และกิจกรรมนันทนาการภายใต้บริบทกฎหมายสมรสเท่าเทียม สังเคราะห์บทเรียนจากต่างประเทศที่ ประสบความสำเร็จ วิเคราะห์สถานการณ์ของประเทศไทยทั้งในแง่ของความพร้อมและข้อจำกัด และเสนอแนวทาง เชิงปฏิบัติที่สอดคล้องกับบริบทไทย โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสารและกรณีศึกษาเปรียบเทียบจากประเทศที่มีกฎหมายสมรสเท่าเทียม ผลการวิเคราะห์ชี้ให้เห็นว่า พื้นที่และกิจกรรมนันทนาการสามารถทำหน้าที่เป็นกลไกทางสังคมที่ทรงพลัง ในการขับเคลื่อนความเท่าเทียมได้ หากได้รับการออกแบบและพัฒนาบนฐานของสิทธิ ความปลอดภัย และการมีส่วนร่วมของชุมชน LGBTQ+ อย่างแท้จริง อีกทั้งพบว่าประเทศไทยมีข้อจำกัดทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน งบประมาณ บุคลากร และทัศนคติทางวัฒนธรรมที่ยังไม่เอื้อต่อการพัฒนาอย่างรอบด้าน โดยผู้เขียนได้เสนอแนวทางเชิงยุทธศาสตร์ 5 ประการ ได้แก่ 1) การพัฒนาพื้นที่นันทนาการที่เป็นมิตรต่อทุกเพศ 2) การส่งเสริมกิจกรรมที่สร้างการยอมรับในระดับชุมชน 3) การสร้างความร่วมมือระหว่างภาคส่วน 4) การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มการเข้าถึง และ 5) การบูรณาการกับการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทั้งนี้ การดำเนินงานควรถูกร้อยเรียงเข้ากับแผนแม่บทสิทธิมนุษยชน ยุทธศาสตร์การพัฒนาเมือง และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เพื่อสร้างระบบนันทนาการที่ตอบสนองต่อความหลากหลาย และเป็นรากฐานของสังคมไทยที่เคารพศักดิ์ศรีของทุกอัตลักษณ์อย่างแท้จริง
References
กฤช วีรกุล สุภณิดา พวงผกา และยุภาพร ต๊ะรังษี. (2567). การเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในสังคมไทย: กรณีสิทธิในการสมรสและสิทธิในอัตลักษณ์ทางเพศ. วารสารคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 1 (ฉบับพิเศษ), 96-154.
กวินทรา คันธรส ภานุวัฒน์ เจริญผล ธีรวุฒิ ไหลมี และปณิดา เสนธรรม. (2565). ภาวะสุขภาพจิตและความทุกข์จากประสบการณ์ในอดีตของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ, 9(2). 104-118.
คฑาวุธ มาป้อง ศุภกร ฉลองภาค และทรรณรต ทับแย้ม. (2567). นาฏกรรมสร้างสรรค์เพื่อการแสดงอัตลักษณ์ทางเพศของกลุ่ม LGBTQ+. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 3(1), 125–137.
ธีรสิทธิ์ พิมพ์กิติเดช และวิลาสินี ยนต์วิกัย. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการฟิตเนสเซ็นเตอร์ของกลุ่มคนเพศทางเลือก (LGBTQ) ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 17(3), 34–47.
บรรจง เมืองสุวรรณ. (2566). ปัญหาความเท่าเทียมของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 7(1), 166-175.
พระมหาชุติภัค อภินนฺโท รังสรรค์ วัฒนาชัยวณิช เบญจมาศ สุขสถิต ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์ สุภารัตน์ ลิ้มดำรง และขวัญชนก เหล่าสุนทร. (2567). การลดความเหลื่อมล้ำ: การวิจัยและพัฒนาการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้าง ในกลุ่มเพศทางเลือกของสังคมตามแนววิถีพุทธ. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 9(2), 1057-1074.
พิเชฐ อุดมรัตน์. (2566). สุขภาพจิตของกลุ่มแอลจีบีทีคิวพลัส. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 31(2), A1-A3.
รักพงษ์ แสนศรี. (2566). การสังเคราะห์งานวิจัยด้านนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนคู่ชีวิตของเพศทางเลือกในประเทศไทย. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 3(5), 65-86.
รัชชานนท์ ศรีเพียชัย อมรรัตน์ พรหมสาขา ณ สกลนคร และอุทุมพร หลอดโค. (2567). การสร้างตัวตนของกลุ่มเพศทางเลือกบนพื้นที่สาธารณะและพื้นที่ทางสังคมออนไลน์. พัฒนวนัมรุง มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 1(1), 123–138.
รัฐบาลไทย. (2568, 20 มกราคม). ประกาศแล้ว กฎหมายสมรสเท่าเทียม มีผลใช้บังคับ 22 ม.ค. 68. https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/88411
วรวิทย์ ชายสวัสดิ์. (2567). การสมรสเท่าเทียม: สิทธิในการสมรสสำหรับบุคคลทุกเพศของประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 2(2), 94–110.
ศิลาศักดิ์, สุเมโธ (บุญทอง) กุสุมา สุ่มมาตร์ และจิรวรรณ สิทธิศักดิ์. (2565). LGBTQ ความเสมอภาคของความเป็นมนุษย์และวาทกรรมความลื่นไหล มิติเพศในสังคมไทย. วิวิธวรรณสาร วารสารด้านภาษาและวัฒนธรรม, 6(3), 119–135.
สมถวิล เอี่ยมโก๋ เลหล้า ตรีเอกานุกูล และวิกรม บุญนุ่น. (2566). ผลกระทบทางสังคมภายหลังการรับร่าง พ.ร.บ. LGBTQ ทั้ง 4 ฉบับจากมติรัฐสภา. วารสารวิชาการสังคมมนุษย์, 13(1), 100–113.
สมถวิล เอี่ยมโก๋ เลหล้า ตรีเอกานุกูล วิกรม บุญนุ่น และโกมินทร์ วังอ่อน. (2565). ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิของบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย. วารสารวิชาการสังคม, 12(2), 116–132.
สมถวิล เอี่ยมโก๋ และวิกรม บุญนุ่น. (2564). การตีตราและการกดทับ LGBTQ ในสังคมไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัย ราชภัฏพระนคร, 12(1), 384–398.
สำนักงานการกีฬาแห่งประเทศไทย. (2566). แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2566–2570). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 140, ตอนพิเศษ 75 ง, 27.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566–2570). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 139, ตอนพิเศษ 258 ง, 1–143.
อู่ธนา สุระดะนัย ชัย มีชาติ และจุฑารัตน์ เอื้ออำนวย. (2567). การเลือกปฏิบัติต่อพนักงานสอบสวนชายที่มีความหลากหลายทางเพศ. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และการบริหารสังคม, 32(2), 294–322.
Aguilar-Carrasco, M. J., Gielen, E., Vallés-Planells, M., Galiana, F., Almenar-Muñoz, M., & Konijnendijk, C. (2022). Promoting inclusive outdoor recreation in national park governance: A comparative perspective from Canada and Spain. International Journal of Environmental Research and Public Health, 19(5), 2566.
Anderson, A. R., & Knee, E. (2022). Queer recreation. Not playing around: Intersectional identities, media representation, and the power of sport, 89.
Atteberry-Ash, B., Williams, J. R., DuBois, H. T., & Pearson, B. (2024). Belongingness, connectedness & engagement: The impacts of an LGBTQ+ residential learning community. Journal of LGBT Youth, 21(2), 369-387.
Elias, N. M. (2020). LGBTQ+ civil rights: Local government efforts in a volatile era. Public Administration Review, 80(6), 1075-1086.
Furman, A. N., & Mardell, J. (Eds.). (2022). Queer Spaces: An Atlas of LGBTQ+ Places and Stories. Routledge.
Godtman Kling, K., Margaryan, L., & Fuchs, M. (2020). (In) equality in the outdoors: gender perspective on recreation and tourism media in the Swedish mountains. Current Issues in Tourism, 23(2), 233-247.
Goh, K. (2018). Safe cities and queer spaces: The urban politics of radical LGBT activism. Annals of the American Association of Geographers, 108(2), 463-477.
Gorman-Murray, A., Prior, J., Cadorin, R., Vincent, A., Olivier, J. L., & de Leeuw, E. (2023). Urban policy, space and wellbeing: a move towards LGBTQIA+ inclusive planning. Public Health Research & Practice, 33(4).
Greenspan, S. B., Griffith, C., & Watson, R. J. (2019). LGBTQ+ youth’s experiences and engagement in physical activity: A comprehensive content analysis. Adolescent Research Review, 4, 169-185.
Heath, S., Duffy, L., Lewis, S., Busey, C., & Sène-Harper, A. (2023). Queering the Outdoors: Experiences of 2LGBTQIA+ Outdoor Recreation Professionals. Journal of Outdoor Recreation, Education, and Leadership, 15(4).
Herrick, S. S., & Duncan, L. R. (2020). Locker-room experiences among LGBTQ+ adults. Journal of Sport and Exercise Psychology, 42(3), 227-239.
Herrick, S. S., Baum, T., & Duncan, L. R. (2022). Recommendations from LGBTQ+ adults for increased inclusion within physical activity: a qualitative content analysis. Translational behavioral medicine, 12(3), 454-465.
Johnston, L., & Waitt, G. (2016). The spatial politics of gay pride parades and festivals: Emotional activism. In The Ashgate research companion to lesbian and gay activism (pp. 105-120). Routledge.
Kaygalak-Celebi, S., Kaya, S., Ozeren, E., & Gunlu-Kucukaltan, E. (2020). Pride festivals as a space of self-expression: tourism, body and place. Journal of Organizational Change Management, 33(3), 545-566.
Kaygalak-Celebi, S., Ozeren, E., & Aydin, E. (2022). The missing link of the Sustainable Development Goals (SDGs) in tourism: A qualitative research on Amsterdam Pride. Tourism Management Perspectives, 41, 100937.
Knee, E., & Anderson, A. R. (2023). Gentrification of the (leisure) mind: Organizational justifications and community concerns of a proposed LGBTQ2S sport and recreation center. Journal of homosexuality, 70(2), 364-385.
Knee, E., Anderson, A. R., Ramos, W. D., & Miller, A. M. (2023). Attitudes of campus recreational sport employees toward LGBTQ+ participants: does targeting training make an impact?. Leisure/loisir, 47(4), 535-558.
Myrdahl, T. M. (2022). LGBTQ+ Communities: Sexuality and the city. In Alternative Planning History and Theory (pp. 47-63). Routledge.
Parmenter, J. G., Galliher, R. V., & Maughan, A. D. (2020). An exploration of LGBTQ+ community members’ positive perceptions of LGBTQ+ culture. The Counseling Psychologist, 48(7), 1016-1047.
Pinto, T. (2022). Gaze: A Digital Tool Designed for the LGBTQ+ Community to Confidently Navigate and Interact in Public Spaces (Doctoral dissertation, Toronto Metropolitan University).
Romano, E. (2023). Diverse Stories: Understanding Recreation and Leisure in Older LGB Lives.
Soulard, J., Park, J., & Zou, S. (2024). Pride in transformation: A rural tourism stakeholder view. Journal of Travel Research, 63(1), 80-99.
Taylor, J. (2016). Festivalizing Sexualities: Discourses of ‘Pride', Counter-discourses of ‘Shame'. In The festivalization of culture (pp. 27-48). Routledge.
United Nations. (2025, 20 January). Transforming our world: the 2030 Agenda for Sustainable Development. United Nations. https://sdgs.un.org/2030agenda
Weststrate, N. M., Greteman, A. J., Morris, K. A., & Moore, L. L. (2024). Pathways to queer thriving in an LGBTQ+ intergenerational community. American Psychologist, 79(8), 1185.
Wilson, O. W., Powers, S. L., & Bopp, M. (2022). Policies and practices for equity: Perspectives of campus recreation staff in North America. Recreational Sports Journal, 46(2), 152-165.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 คณะครุศาสตร์และการพัฒนามนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์และการพัฒนามนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง