ลักษณะโครงสร้างทางภาษาของสํานวนอีสาน

ผู้แต่ง

  • คนึงชัย วิริยะสุนทร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

สํานวนอีสาน, ลักษณะโครงสร้างทางภาษา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะโครงสร้างทางภาษาที่ปรากฏในสำนวนอีสานโดยรวบรวมข้อมูลจากหนังสือ เอกสาร งานวิจัยและการสัมภาษณ์ รวมจำนวนข้อมูลสำนวนไทยอีสานทั้งหมด 890 สำนวน ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาลักษณะโครงสร้างทางภาษาของสำนวนอีสานโดยศึกษาวิเคราะห์ลักษณะด้านโครงสร้างจากสำนวนอีสานที่เป็นแบบแผนและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาสำนวนอีสานในประเด็นต่าง ๆ เพื่อให้เข้าใจลักษณะและโครงสร้างของสำนวนอีสานได้อย่างชัดเจนและถูกต้องยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นข้อมูลจากสำนวนอีสานส่วนใหญ่ที่เพิ่มขึ้นในสมัยก่อน และได้สืบทอดมาถึงปัจจุบันนั้น จากการศึกษาพบว่าลักษณะโครงสร้างของสำนวนอีสาน จำแนกได้ 4 ประเภท คือ 1) โครงสร้างสำนวนอีสานที่เป็นคำเดียว 2) โครงสร้างสำนวนอีสานที่เป็นคำประกอบ 3) โครงสร้างสำนวนอีสานที่เป็นหน่วยวลี และ 4) โครงสร้างสำนวนอีสานที่เป็นหน่วยประโยค

References

กรรณิการ์ โกวิทุกฤต. (2544). การเปรียบเทียบกาติศ-คำพังเพยจีนกับสำนวน-ภาษิตไทย. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นวรรณ พันธุเมธา. (2525). ไวยากรณ์ไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2541). สตรีในคัมภีร์ตะวันออก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่นส์.

วิจินตน์ ภาณุพงศ์. (2536). โครงสร้างภาษาไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาราชคำแพง.

อัญชลี สิงห์น้อย. "สำนวน คำภาษิต และคำพังเพย: ภาษาของวัฒนธรรม". มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 10(2): 75-88.

อุบล เทศทอง. (2548). ภาษิตเขมร : วิถีชีวิตและโลกทัศน์ของชาวเขมร. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อุปติก ศิลปสาร, พระยา. (2548). หลักภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-16

How to Cite

วิริยะสุนทร ค. (2025). ลักษณะโครงสร้างทางภาษาของสํานวนอีสาน. วารสารครุศาสตร์และการพัฒนามนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 3(1), 46–60. สืบค้น จาก https://so18.tci-thaijo.org/index.php/edusskru/article/view/957