สัญญะของการเล่าเรื่องที่ปรากฏในมิวสิกวิดีโอเพลงขวัญเอย ขวัญมา ของอีฟ ปานเจริญ (ปาล์มมี่)

ผู้แต่ง

  • นวพล กรรณมณีเลิศ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
  • ณัชฌา ทองขาว คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
  • เจนจิรา กระดานพล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

สัญญะ, การเล่าเรื่อง, มิวสิควิดีโอ, เพลงขวัญเอย ขวัญมา

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพที่มุ่งศึกษาสัญญะของการเล่าเรื่องที่ปรากฏในมิวสิกวิดีโอเพลง เพลงขวัญเอย ขวัญมา ของอีฟ ปานเจริญ (ปาล์มมี่) โดยใช้แนวคิดมายาคติของโรล็องด์ บาร์ตส์ ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาจากทฤษฎีสัญญะวิทยาของแฟร์ดินองด์ เดอ โซซูร์ และทฤษฎีการเล่าเรื่องของ สุบรรณ เปรมศรีรัตน์เป็นเครื่องมือสำคัญในการวิเคราะห์

ผลการวิจัยพบ สัญญะของการเล่าเรื่องที่ปรากฏในมิวสิกวิดีโอเพลงขวัญเอย ขวัญมา ซึ่งมีการใช้ความหมายมายาคติใน 2 ความหมายหลักคือ มายาคติของความรักที่ไม่สมหวัง และความเชื่อทางพิธีกรรมการเรียกขวัญของคนอีสานที่เรียกกันว่า "สู่ขวัญ" มายาคติที่หนึ่งเป็นมายาคติของความรักที่ไม่สมหวัง สื่อถึงความรักของวัยรุ่นที่แม้จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ แต่เมื่อเจอเหตุการณ์ที่กระทบจิตใจขั้นรุนแรงก็สามารถเป็นบุคคลที่อ่อนแอ เศร้าได้ นอกจากนี้ยังสะท้อนให้เห็นว่าโลกใบนี้ไม่มีความมั่นคง และแน่นอนเสมอไป เป็นมายาคติเชิงลบ มายาคติที่สองเป็นมายาคติของความเชื่อเกี่ยวกับพิธีกรรมการเรียกขวัญของอีสาน สื่อถึงความเป็นชนบทที่ดำเนินชีวิตบนพื้นฐานของความเชื่อ ที่มีมาแต่โบราณเป็นภาพมายาคติเชิงบวก การใช้ความหมายมายาคติทั้ง 2 ส่วนยังนำยื่นความหมายในการเล่าเรื่อง 8 ประการ ได้แก่ โครงเรื่อง แก่นเรื่อง ความขัดแย้ง ตัวละคร ฉาก บทสนทนา มุมมอง และสัญลักษณ์พิเศษ มายาคติเหล่านี้ทำหน้าที่เป็น "สารแฝงเร้น" ที่ถูกนำเสนอผ่านมิวสิกวิดีโอย่างแนบเนียนจนผู้ชมรับสารเหล่านี้เข้าไปอย่างไม่รู้ตัว มิวสิกวิดีโอจึงกลายเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการถ่ายทอดเรื่องราวสู่คนในสังคม

References

ฉลองรัตน์ ทิพย์พิมาน. (2539). วิเคราะห์โครงสร้างการเล่าเรื่องในภาพยนตร์อเมริกันที่มีตัวเอกเป็นสตรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐพงศ์ แย้มเจริญ, ปรีชญุฒิ ภิรมย์ตัง, และสมฤทธิ์ ภูกงาลี. (2561). มายาคติในภาพยนตร์การ์ตูน เรื่องแอคโค่ จิ๋วก้องโลก. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), ออนไลน์ สืบค้นจาก https://re.kbu.ac.th/pdf_read.php?type=full&p_id=2A8FB8DC-7354-4529-AB3B-3EF470D75646&fbclid=IwAR0qwWI0rAe5Q-hswWp-7Jk8i6vphOqzkIJINCl4LmdViLF26f6WBejJigI.

นพพร ประชากุล. (2552). ยอกอักษร ย้อนความคิด เล่ม 2 ว่าด้วยสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์. กรุงเทพฯ: อ่าน.

พิมพ์ชนก ชูสุนทรจรัสพร์. (2550). การวิเคราะห์เนื้อหาเนื้อเรื่องโทรทัศน์ในเพลงสากล. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ม.ป.ผ. (2563). ประวัติ ปาล์มมี่ หรือ ปาล์มมี่ อีฟ ปานเจริญ นักร้องสุดเซอร์ เจ้าของเพลงฮิต เพลงใหม่ 2020. สืบค้น 28 ตุลาคม 2563, จาก https://music.trueid.net/detail/bY80L5M7KnOY.

สนันท์ วิทธิมีชัย. (2558). ภาษาและการสื่อความหมายในมิวสิกวิดีโอของปาน ธนพร แก้วประยูร. หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สีฟ้า วิทยาพร. (2545). วิถีชีวิตชุมชนที่ปรากฏในวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ประเภทนิทานประโลมโลก. สงขลา: ภาควิชาสารัตถศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สุภาวดี เกล็ดมณี. (2551). การวิเคราะห์เนื้อหาสารสร้างสมุดของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมร ศรีชู. (2550). ปัจจัยการผลิตมิวสิควิดีโอ: กรณีศึกษาสังกัดจีนี่ เรคคอร์ด ในเครือบริษัท จี เอ็ม เอ็ม แกรมมี่ จำกัด มหาชน. สารนิพนธ์ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุบรรณ เปรมศรีรัตน์. (2558). การเล่าเรื่องทางนิเทศศาสตร์: ศึกษาจากงานวิจัย. วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า, 2(1), 31-58.

สุภาพร มโนรมย์. (2551). สัมพันธบทในการเล่าเรื่องในสื่อการ์ตูน ละครโทรทัศน์ และนวนิยาย. ปทุมธานี: การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Chanthawanit S. Sociological Theory. Bangkok: Chulalongkorn University Press; 2012. Thai.

Goodlad, J. S. R. (2514). A sociology of popular drama. London: Heinemann.

Prachakun N. Roland Barthes and Literary Semiotics. In: Prachakun N, editor. Mythologies. 5th ed. Bangkok: Foundation for Democracy and Development Studies Kobfai Publishing Project; 2015. p. 91-159. Thai.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-17

How to Cite

กรรณมณีเลิศ น. ., ทองขาว ณ. ., & กระดานพล เ. . (2025). สัญญะของการเล่าเรื่องที่ปรากฏในมิวสิกวิดีโอเพลงขวัญเอย ขวัญมา ของอีฟ ปานเจริญ (ปาล์มมี่). วารสารครุศาสตร์และการพัฒนามนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 3(2), 64–89. สืบค้น จาก https://so18.tci-thaijo.org/index.php/edusskru/article/view/964