วัจนลีลาของอภิชาติ จันทร์แดง ในกวีนิพนธ์ เรื่องประเทศของเราและเรื่องเล่าหลาย ๆ เรื่อง

ผู้แต่ง

  • อธิชาติ บุญญยศยิ่ง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
  • พัชรพล เสงี่ยมศักดิ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
  • ปณัฐชญา กิตยาพันธ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

วัจนลีลา, กวีนิพนธ์, อภิชาติ จันทร์แดง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัจนลีลาของอภิชาติ จันทร์แดง ในกวีนิพนธ์เรื่องประเทศของเราและเรื่องเล่าหลาย ๆ เรื่อง จำนวนรวมทั้งสิ้น 37 เรื่อง ผลการวิจัยแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็นกลวิธีการนำเสนอ ส่วนที่สองคือกลวิธีการใช้ภาษา ที่กวีใช้ในการประพันธ์

ผลการศึกษาวัจนลีลาของอภิชาติ จันทร์แดง พบว่ามี 2 ประเด็น คือ 1. กลวิธีการนำเสนอเนื้อหา พบว่า ผู้เขียนใช้กลวิธีในการตั้งชื่อเรื่อง โดยใช้ข้อความที่กล่าวถึงสถานที่ เช่น บนทางเท้า นอกจากนี้ยังมีการใช้เหตุการณ์ร่วมตั้งชื่อเรื่อง เช่น เด็ก ๆ ในร้านขนม เป็นการนำเหตุการณ์ที่น่าสนใจมาตั้งเป็นชื่อเรื่อง การเปิดเรื่องในแต่ละเรื่องส่วนใหญ่เน้นการตั้งคำถาม และการชี้ให้เห็นเพื่อชวนให้ผู้อ่านได้คิดตาม รู้สึกสนใจเรื่องราว มีการนำเสนอเรื่องโดยการบอกเล่า เสนอเรื่องแบบรายละเอียดคล้อยตามความรู้สึก เสนอโดยเน้นปรัชญา และการเสนอเรื่องโดยผ่านตัวละคร ผู้ประพันธ์มีกลวิธีการปิดเรื่องที่น่าสนใจ ในแต่ละเรื่องพบการปิดเรื่องโดยสรุปด้วยเหตุการณ์ที่สอดคล้องกับชื่อเรื่อง ปิดเรื่องด้วยการทิ้งท้ายความคมที่ชวนให้ผู้อ่านคล้อยตาม และปิดเรื่องโดยการทิ้งคำถามไว้อย่างปริศนาเพื่อให้ผู้อ่านคิดต่อ เรื่องสุดท้ายของหนังสือกวีปิดท้ายเรื่องเล่าของเขาด้วยประโยคที่ทำให้เรานึกทบทวนสิ่งที่คนไทยอย่างเราจะรู้สึกว่า "ดูจนเบื่อ" ให้ลึกและกว้างกว่าหน้าจอสี่เหลี่ยมที่เรียกว่าโทรทัศน์ 2. กลวิธีการใช้ภาษา พบว่า มีการใช้เสียงของคำ ได้แก่ การเล่นเสียงสัมผัส มีการเล่นคำ ได้แก่ การซ้ำคำ มีการสรรคำ ได้แก่ การใช้คำเหมาะสมกับเหตุการณ์และตัวละคร การใช้คำให้เกิดจินตภาพ และการใช้โวหารภาพพจน์ เพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพของสิ่งที่กล่าวถึงในบทกวีได้ชัดเจนยิ่งขึ้น สุดท้ายพบว่ามีการใช้สัญลักษณ์เพื่อทำให้เกิดการตีความใหม่

References

กะรัตเพชร คงรอด. (2557). วัจนลีลาของนุ่มเมืองจันท์ในหนังสือรวมบทความเรื่อง "คำถามสำคัญกว่าคำตอบ". วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 6(1), 44-60.

กิตติมา จันทร์ลาว. (2555). วิเคราะห์กวีนิพนธ์ของสถาพร ศรีสัจจัง. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

กุหลาบ มัลลิกะมาส. (2517). วรรณกรรมไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เจือ สตะเวทิน. (2518). การใช้ภาษาระดับปริญญา. กรุงเทพฯ: สุทธิสารการพิมพ์.

ธเนศ เวศร์ภาดา. (2549). โลกของวรรณศิลป์: การสร้างสุนทรียะแห่งวรรณคดีไทย. กรุงเทพฯ: ปาเจรา.

ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2525). ศิลปะการเขียนชุดพื้นฐานของการใช้ภาษา เล่ม 2. กรุงเทพฯ: วิชาการ.

เปลื้อง ณ นคร. (2542). ศิลปะแห่งการประพันธ์. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

วิภา กงกะนันทน์. (2523). วรรณคดีศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

สุจิตรา จงสถิตย์วัฒนา. (2549). เจิมจันทน์กังสดาล: ภาษาวรรณศิลป์ในวรรณคดีไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อภิชาติ จันทร์แดง. (2553). ประเทศของเราและเรื่องเล่าหลาย ๆ เรื่อง. กรุงเทพฯ: ชายขอบ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-17

How to Cite

บุญญยศยิ่ง อ., เสงี่ยมศักดิ์ พ. ., & กิตยาพันธ์ ป. . (2025). วัจนลีลาของอภิชาติ จันทร์แดง ในกวีนิพนธ์ เรื่องประเทศของเราและเรื่องเล่าหลาย ๆ เรื่อง. วารสารครุศาสตร์และการพัฒนามนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 3(2), 107–126. สืบค้น จาก https://so18.tci-thaijo.org/index.php/edusskru/article/view/966