สภาพการนำทักษะกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน PBL บูรณาการผ่านฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้น ป.6 โรงเรียนบ้านหนองแก้ว (ราษฎร์ผดุงวิทยา)
คำสำคัญ:
การใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) บูรณาการผ่านฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบทคัดย่อ
การวิจัย เรื่อง ผลการนำทักษะกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน PBL บูรณาการผ่านฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้น ป.6 โรงเรียนบ้านหนองแก้ว (ราษฎร์ผดุงวิทยา) มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ความรู้สึกของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนแบบ PBL โดยผ่านหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนการนำการจัดการเรียนการสอนแบบ PBL โดยผ่านหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้จริงในชีวิตประจำวัน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้น ป.6 โรงเรียนบ้านหนองแก้ว (ราษฎร์ผดุงวิทยา) จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์
ผลการวิจัย พบว่า 1) ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน พบว่า ครูจะเริ่มต้นตั้งโจทย์ปัญหาไว้เพื่อให้หาคำตอบ เป็นคำถามที่มีความท้าทายและตื่นเต้น มุ่งเป้าทางแก้ไขและแสวงหาคำตอบผ่านการปฏิบัติจริง โดยเฉพาะที่แปลงเกษตรจะทำให้เรามีวิธีการที่หลากหลาย เช่น ในแง่ของการเพาะเมล็ดพันธุ์ วิธีปลูก และการรดน้ำ รวมทั้งการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ ได้ฝึกฝนคุณลักษณะ เช่น ความขยัน อดทน ความรับผิดชอบ มีวินัย การทำงานเป็นทีม ตั้งอยู่บนแนวคิด พอประมาณ มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกัน ผ่านเงื่อนไขความรู้และคุณธรรม ในขณะที่ลงมือปฏิบัติคุณครูก็จะคอยให้คำแนะนำเพิ่มเติม หรือให้ไปศึกษาเพิ่มเติมในยูทูป 2) ความรู้สึกที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนแบบ PBL โดยผ่านหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน พบว่า นักเรียนรู้สึกว่ามีความสอดคล้องกันเป็นอย่างดี ไปในทางเดียวกัน ชอบเวลาครูถามว่ามีความคิดเห็นอย่างไร เรียนง่ายดี สนุกดี รู้สึกว่ามันเป็นสิ่งที่อยู่ในวิถีชีวิตประจำวันของเรา ได้มีการปรึกษากันว่าจะแก้ไขปัญหาอย่างไร เพื่อร่วมกันวิพากษ์ วิเคราะห์เหตุและวิธีแก้ปัญหา จนได้ข้อสรุปว่า แนวทางแก้ไขปัญหา ถ้าไม่ได้ผลก็หาวิธีใหม่ต่อไป เราได้เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติมันรู้สึกสนุกดี ไม่เครียด สนุกสนาน ผ่านการคลายข้อสงสัย ได้กระบวนการคิด นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง และมีการนำผลงานที่เราทำขึ้นเองมาแสดงให้เพื่อน ๆ และผู้ปกครองดู และได้นำผลผลิตมาจำหน่ายได้เงิน เราก็เอามาแบ่งปันกับเพื่อน พวกเราก็นำเงินไปฝากไว้กับคุณครูไว้เบิกตอนสิ้นปี เป็นการสร้างรายได้และเก็บออมขณะเรียน และ 3) การนำการจัดการเรียนการสอนแบบ PBL โดยผ่านหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้จริงในชีวิตประจำวันของนักเรียน พบว่า จากการฝึกทำแปลงเกษตรพอเพียง ได้รับการฝึกปฏิบัติจริง ได้มีการสืบค้นข้อมูลและนำมาวิเคราะห์ กลั่นกรองและตรวจสอบความถูกต้องก่อนลงมือทำ ซึ่งเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับเราได้ด้วย ซึ่งเดิมก็พอมีประสบการณ์ที่ได้จากโรงเรียนไปพัฒนาต่อที่บ้าน และในทางกลับกันยังพบว่ามีการนำความรู้จากที่บ้านมาใช้ที่โรงเรียน และยังมีการช่วยแรงพ่อแม่ในการทำงานได้มากขึ้น รวมทั้งสร้างเป็นรายได้เสริมให้ครอบครัวได้ ถ้ามีวิธีการที่ดี ยังสามารถลดต้นทุนการผลิตได้อีกทางหนึ่ง
References
ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุพล วังสินธุ์. (2549). วิธีสอนแบบแก้ปัญหา: การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. [ม.ป.ท.: ม.ป.พ.].
Woods, D. R. (1994). Problem-based learning: How to gain the most from PBL. Hamilton: Woods Publisher.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 คณะครุศาสตร์และการพัฒนามนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์และการพัฒนามนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง