สุนทรียภาพของการฟังดนตรีทดลองไฟฟ้า

Main Article Content

Kunthee Banjukeaw

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มุ่งไปสู่การทำความเข้าใจต่อสุนทรียภาพของการฟังดนตรีทดลองไฟฟ้า โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการคือ 1) การย้อนกลับไปสู่ความเข้าใจต่อสุนทรียภาพของการฟังดนตรีก่อนการเกิดขึ้นของดนตรีทดลองไฟฟ้า 2) การทำความเข้าใจต่อสุนทรียภาพของการฟังดนตรีทดลองไฟฟ้า และ 3) การอธิบายเชิงปรัชญาต่อการรับรู้และการเข้าใจสุนทรียภาพของการฟังดนตรีไฟฟ้า กล่าวคือ งานเขียนชิ้นนี้มุ่งแสวงหาความรู้ความเข้าใจที่มีต่อการฟังดนตรีทดลองไฟฟ้า โดยอธิบายผ่านแนวคิดความสามารถในการเปลี่ยนแปลงของสมอง ของ แคทเธอรีน มาลาบู เป็นบทสรุปสำหรับการอธิบายรูปแบบการรับรู้ดนตรีใหม่ ที่ต้องรื้อถอนโครงสร้างเชิงอำนาจของความรู้ความเข้าใจดนตรีตะวันตกแบบดั้งเดิม ซึ่งในอดีตนั้นผู้ฟังจำเป็นต้องมีความรู้ก่อนประสบการณ์เพื่อที่จะทำความเข้าใจต่อรูปแบบดนตรีตะวันตกได้ โดยอาศัยรูปแบบองค์ความรู้ที่มีโครงสร้างเชิงอำนาจในการชี้นำตัดสินความงาม จากสถาบันหรือกลุ่มบุคคลที่เคยมีอำนาจในการกำหนดตัดสินว่าอะไรคือความงามหรือสุนทรียภาพที่ควรจะเป็น ทว่าในบทความนี้พบว่าสุนทรียภาพของดนตรีทดลองไฟฟ้า กลับเป็นการปฏิเสธโครงสร้างเชิงอำนาจต่อการรับรู้ความงามทางดนตรีแบบดั้งเดิม ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการเปลี่ยนแปลงของสมองผ่านการรับรู้ของมนุษย์ผ่านที่ไม่ได้มีความจริงเพียงหนึ่งเดียวหรือไม่ได้ขึ้นอยู่กับการกำหนดจากกลไกเชิงอำนาจใดอำนาจหนึ่ง หากแต่การรับรู้ของมนุษย์นั้นเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมที่เป็นส่วนสำคัญในการก่อร่างสร้างตัวตนให้กับความเป็นมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นเราจึงไม่สามารถเข้าใจหรือรับรู้รูปแบบดนตรีทดลองไฟฟ้าได้ด้วยความรู้ความเข้าใจทางสุนทรียภาพแบบดั้งเดิมได้ บทความนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งของการนำความเข้าใจใหม่ที่มีต่อสนุทรียภาพของดนตรีทดลองได้ไฟฟ้า

Article Details

บท
Articles