“ละครเวทีนอกเวที: การเปลี่ยนแปลงพื้นที่การแสดงหลังสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคโควิด-19 ผ่านมุมมองของผู้ออกแบบเสียงละครเวทีไทย”
Main Article Content
บทคัดย่อ
ท่ามกลางยุคสมัยและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้คน วงการศิลปะการแสดงโดยเฉพาะอย่างยิ่งแวดวงละครเวทีไทยต้องปรับตัวเป็นอย่างมาก จากวิกฤตจากการระบาดครั้งใหญ่ของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก เดิมทีละครเวทีจำเป็นต้องอาศัย “พื้นที่ทางกายภาพ” ในการแสดงมาโดยตลอด ศิลปิน คณะละครและผู้ผลิตละครจึงจำเป็นต้องหานวัตกรรมและพื้นที่ในการจัดแสดงใหม่ ๆ อย่าง “พื้นที่เสมือน” หรือ “ออนไลน์” มาช่วยให้ผ่านวิกฤตการณ์ครั้งนี้ไปให้ได้
จากการทำงานในฐานะผู้ประพันธ์ดนตรีประกอบและออกแบบเสียงละครเวทีไทย บทความนี้นำเสนอหน้าที่ของเสียงและความสำคัญของผู้ออกแบบเสียงในละครเวที อีกทั้งยังชี้ให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงไปของกระบวนการคิดและสร้างสรรค์ผลงานดนตรีบนพื้นที่การแสดงที่หลากหลาย ดังจะเห็นได้จากกรณีศึกษาของผู้เขียนในการออกแบบเสียงและการมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ดนตรีจากการทำงานจริงในสายศิลปะการแสดง ประกอบไปด้วยผลงานดังต่อไปนี้
- MEAN Sitcom World (กิจกรรมแฟนมีตออนไลน์ ในรูปแบบละครมิวสิคัล)
- ผู้ต้องขังหญิง: อาญาสตรี-อาญาชีวิต (ผลงานละครเวทีในรูปแบบภาพยนตร์กึ่งละครเวที)
- เส้นลองจิจูดที่ 180 องศาลากผ่านเรา (ผลงานซีรีส์)
- Theatre To Go - Live Experiences Box (ผลงานละครเวทีในรูปแบบ Augmented Reality)
การเปลี่ยนแปลงไปของพื้นที่การแสดงหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ชี้ให้เห็นว่าศิลปะการแสดงได้ก้าวไปสู่พื้นที่การแสดงที่ไม่จำกัดอยู่เพียงแค่ “พื้นที่ทางกายภาพ” อีกต่อไป แต่ยังสามารถเข้าไปอยู่ใน “พื้นที่โลกเสมือน” หรือโลก “ออนไลน์” ได้อย่างแยบยล เป็นที่น่าสนใจมากว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตนั้น จะมีรูปแบบและทิศทางการนำเสนอที่มอบประสบการณ์การรับชมการแสดงให้กับผู้ชม รวมถึงจะส่งผลต่อการทำงานสร้างสรรค์ในฐานะผู้ประพันธ์ดนตรีประกอบและออกแบบเสียงสำหรับละครเวทีไทยอย่างไร
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.