วารสาร Journal of Digital Education and Learning Engineering (JDELE) เป็นวารสารอย่างเป็นทางการที่จัดทำโดย สมาคมการศึกษาดิจิทัลและวิศวกรรมการเรียนรู้ โดยมีความมุ่งหมายเพื่อให้เป็นแหล่งข้อมูลสำคัญสำหรับครูผู้สอน อาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญ ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาดิจิทัลและวิศวกรรมการเรียนรู้ทั่วโลก

วารสาร JDELE นั้นตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานทางวิชาการทางการศึกษาทั้งในลักษณะที่เป็นมุมมองและหลักคิดเชิงทฤษฎี การพัฒนาด้านระเบียบวิธี แนวปฏิบัติงานการสอน ข้อค้นพบสำคัญจากโครงการพัฒนา และงานวิจัยเชิงประจักษ์ที่มีคุณภาพสูง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการประยุกต์ใช้ระบบ เครือข่าย เครื่องมือ ทรัพยากร และแอปพลิเคชันต่าง ๆ ของเทคโนโลยีดิจิทัล  ที่นำไปสู่การพัฒนาทางการจัดการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ และคลอบคลุมในทุกรูปแบบและทุกระดับ

วารสาร JDELE มีกำหนดออกการตีพิมพ์เผยแพร่แบบราย 3 เดือน ปีละ 4 ฉบับ ดังนี้

  • ฉบับที่ 1 (มกราคม – มีนาคม)
  • ฉบับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน)
  • ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม – กันยายน)
  • ฉบับที่ 4 (ตุลาคม – ธันวาคม)

บรรณาธิการหลัก: รองศาสตราจารย์ ดร.พัชรินทร์ ปัญจบุรี, รองศาสตราจารย์ ดร.ศศิธร ชูแก้ว
หมายเลข ISSN: 3088-1552 (Online)
© สมาคมการศึกษาดิจิทัลและวิศวกรรมการเรียนรู้

เปิดรับบทความวิชาการแล้ว!!!

2024-08-05

ขณะนี้ Journal of Digital Education and Learning Engineering (JDELE) ซึ่งเป็นวารสารวิชาการภายใต้การดำเนินงานของสมาคมการศึกษาดิจิทัลและวิศวกรรมการเรียนรู้ เปิดรับบทความวิชาการทางการศึกษา และศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง จากนักการศึกษา นักวิจัย นักพัฒนา และผู้ปฏิบัติงาน แล้ว

JDELE มุ่งเปิดฉบับปฐมฤกษ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (เดือน มกราคม – มีนาคม 2568)

ความเคลื่อนไหวของสมาคมการศึกษาดิจิทัลและวิศวกรรมการเรียนรู้

2024-07-21

ท่านสามารถติดตามความเคลื่อนไหวของสมาคมการศึกษาดิจิทัลและวิศวกรรมการเรียนรู้ หน่วยงานที่จัดทำวารสารนี้ได้ทาง  https://www.facebook.com/DELEThai

ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 (2025): เมษายน-มิถุนายน 2568

"เทคโนโลยีการประมวลผลภาพด้วยปัญญาประดิษฐ์มีบทบาทสำคัญในกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมที่ได้นำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในกระบวนการตรวจสอบคุณภาพบนสายการผลิต การตรวจจับข้อบกพร่องของผลิตภัณฑ์ และการควบคุมกระบวนการผลิตอัตโนมัติ นอกจากนี้ ได้อาศัยจุดเด่นในการผสานรวมของโครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชันที่ช่วยเพิ่มความแม่นยำของการวิเคราะห์ภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ตลาดแรงงานต้องการบุคลกรที่มีความรู้ความสามารถในเรื่องนี้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม กระบวนการเรียนรู้ในเทคโนโลยีนี้มีความซับซ้อนและเข้าใจได้ยาก และเข้าถึงสื่อและอุปกรณ์การเรียนรู้ยังมีราคาสูงและไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้เรียน"

ภาพปกนี้เป็นผลงานจากบทความวิจัยของผู้เขียน ธันวา ภมรบุตร และคณะ จากบทความเรื่องการพัฒนาชุดสาธิตการตรวจสอบวัตถุโดยใช้โครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชัน ดูเพิ่มเติมได้ ที่นี่

เผยแพร่แล้ว: 29-06-2025

การพัฒนาชุดสาธิตการตรวจสอบวัตถุโดยใช้โครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชัน

ธันวา ภมรบุตร, ชัลวาล มณีวงษ์, ศศิธร ชูแก้ว, พรชัย กิจเจริญ

12-23

Developing and Implementing a Smart Greenhouse for AI Education: Effects on High School Students’ Attitudes toward Artificial Intelligence

Pornchai Kitcharoen, Woranan Chaobankoh, Samitanan Hengcharoen, Nuttaphorn Juekert, Nutthanicha Meecharoen, Thamonwan Kaewpichai, Kamolporn Chaichauy

73-86

ระบบฝึกอบรมด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริงแบบจมดิ่งเพื่อเสริมสร้างทักษะทางคลินิกของนักศึกษาพยาบาล

ธัญวุฒิ เฉลิมพงษ์, ผกากรอง ปันทะนัน, เจริญชัย วงศ์วัฒน์กิจ, ฐิติยา ชมเงิน, ภาวดี วิมลพันธุ์

105-116

Effects of Unplugged Coding Game on Promoting Computational Thinking Skills

Maliwan Janta, Soraya Thongtamma, Patcharin Panjaburee

117-126

ดูทุกฉบับ