การศึกษาการสื่อความหมายในเชิงอรรถศาสตร์ที่ปรากฏในเพจวุ้นแปลภาษา
คำสำคัญ:
การสื่อความหมาย, อรรถศาสตร์, เพจวุ้นแปลภาษาบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อความหมายในเชิงอรรถศาสตร์ที่ปรากฏในเพจวุ้นแปลภาษา เริ่มจากการสำรวจและเก็บข้อมูลคำศัพท์จากเพจรูปแปลกภาษาในเฟซบุ๊ก ตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2563 ถึงวันที่ 27 ตุลาคม 2563 โดยใช้อรรถศาสตร์ในการศึกษาตัวบท ส่วนที่ใช้ศึกษาคือ คำศัพท์จากเพจรูปแปลกภาษา
ผลการศึกษาการสื่อความหมายในเชิงอรรถศาสตร์ที่ปรากฏในเพจรูปแปลกภาษา ทั้งหมด 15 คำ สามารถสรุปได้ ดังนี้ 1) ความหมายเปรียบ จำนวน 4 คำ 2) ความหมายของสังคม จำนวน 3 คำ 3) ความหมายของอารมณ์ จำนวน 6 คำ และ 4) ความหมายอ้างอิง จำนวน 2 คำ ปรากฏเป็นความหมายส่ออารมณ์มากที่สุด เป็นความที่สื่อความหมายอย่างตรงไปตรงมา มีการใส่การแสดงอารมณ์เข้าไปด้วย การแสดงอารมณ์มักจะเป็นภาษาปาก เช่นคำว่า กู มึง วะ ฉิบหาย ตอแหล ซึ่งเป็นการส่ออารมณ์เข้าไปในการให้ความหมายของเพจวุ้นแปลภาษาอย่างเห็นได้ชัด
References
พัชรี พลาวงศ์. (2542). ความรู้เบื้องต้นทางอรรถศาสตร์ INTRODUCTION TO SEMANTICS. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
สุริยา รัตนกุล. (2544). อรรถศาสตร์เบื้องต้น (Introduction to Semantics). นครปฐม: สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา.
อุมาพร สังขมาร. (2554). การศึกษาความหมายของชื่อกระเจี๊ยบ. วารสารมนุษยศาสตร์, 18(2).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 คณะครุศาสตร์และการพัฒนามนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์และการพัฒนามนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง