การศึกษาเปรียบเทียบหลักสูตรระดับปริญญาโท สาขาวิชาเกี่ยวกับการออกแบบ เพื่อธุรกิจในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
คำสำคัญ:
การศึกษา, การเปรียบเทียบ, หลักสูตรระดับปริญญาโท, การออกแบบเพื่อธุรกิจบทคัดย่อ
การศึกษาเปรียบเทียบหลักสูตรระดับปริญญาโท สาขาวิชาเกี่ยวกับการออกแบบเพื่อธุรกิจในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นงานวิจัยเชิงเปรียบเทียบที่มีลักษณะของการวิจัยและพัฒนา (R&D) โดยมุ่งเน้นการวิเคราะห์เชิงระบบจากการรวบรวมข้อมูลหลักสูตรจริง เพื่อนำผลการเปรียบเทียบไปสังเคราะห์เป็นแนวทางเบื้องต้นสำหรับการออกแบบและพัฒนาหลักสูตรให้มีความทันสมัยและตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต การดำเนินการวิจัยประกอบด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงเปรียบเทียบจากหลักสูตรที่เลือกมาอย่างมีหลักเกณฑ์ ครอบคลุม 5 ด้าน ได้แก่ จุดมุ่งหมายของหลักสูตร รูปแบบโครงสร้างหลักสูตร ข้อมูลรายวิชา การจัดการเรียนการสอน และการประเมินผลหลักสูตร
ผลการวิจัยพบว่า ในแต่ละด้านมีทั้งความคล้ายคลึงและความแตกต่างที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์เฉพาะของแต่ละหลักสูตร โดยด้านจุดมุ่งหมายของหลักสูตรมีความแตกต่างตามเป้าหมายของสถาบัน มุ่งเน้นการออกแบบเชิงสร้างสรรค์ การพัฒนาผู้ประกอบการ และการจัดการนวัตกรรมเพื่อธุรกิจ ด้านโครงสร้างหลักสูตรแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของแผนการเรียน เช่น แผน ก แบบ ก2 และแผน ข ซึ่งสอดคล้องกับเนื้อหาทางวิชาการ ด้านรายวิชาและการเรียนการสอนมีการจัดกลุ่มวิชาตามความจำเป็นของตลาดแรงงาน และมีการใช้วิธีการเรียนการสอนหลากหลายที่สอดคล้องกับแต่ละสาขาวิชา ด้านการประเมินผลหลักสูตรมีความคล้ายคลึงกัน โดยมุ่งเน้นการประเมินจากประสบการณ์จริงและการประยุกต์ใช้ความรู้ในการปฏิบัติงาน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปใช้เป็นพื้นฐานในการวางแผนและพัฒนาหลักสูตรในอนาคตอย่างมีทิศทาง
References
กัลย์ธีรา สุภนิธิ, และปรีญานันท์ พร้อมสุขกุล. (2561). การศึกษาเปรียบเทียบหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาดนตรีศึกษาของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 46(4), 20–39.
คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2567, 19 กรกฎาคม). มคอ.2 หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะ การออกแบบ และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2565). https://fineart.tu.ac.th/mainfile/major/art-design-and-creative-economy/adce-66.pdf
จินดารัตน์ โพธิ์นอก. (2567, 19 กรกฎาคม). หลักสูตรแฝง.http://legacy.orst.go.th/?knowledges=%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81.
เจษฎา แก้ววรา. (2559). การศึกษาเปรียบเทียบหลักสูตรระดับประถมศึกษาของประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ณัฏฐาพร เชี่ยววารีสัจจะ. (2561). การศึกษาเปรียบเทียบหลักสูตรการเรียนการสอนระดับปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ภาคภาษาอังกฤษ) และคณะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยเซนต์ปิเตอร์สเบิร์ก [ภาคนิพนธ์ปริญญาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธนัณชัย สิงห์มาตย์. (2567, 19 กรกฎาคม). การคิดเชิงเปรียบเทียบ. GotoKnow. https://www.gotoknow.org/posts/500905
ธำรง บัวศรี. (2532). ทฤษฎีหลักสูตรการออกแบบและพัฒนา. โรงพิมพ์คุรุสภา.
ธำรง บัวศรี. (2542). ทฤษฎีหลักสูตร: การออกแบบและการพัฒนา (พิมพ์ครั้งที่ 2). ธนชัชการพิมพ์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. สุวีริยาสาส์น.
ประเดิม ฉ่ำใจ, พิชัย ทองดีเลิศ, สาวิตรี รังสิภัทร์, สิริวรนุช แคลล์เบิรค์, และพัฒนา สุขประเสริฐ. (2550). การเทียบเคียงสมรรถนะหลักสูตรบัณฑิตศึกษาสาขาส่งเสริมการเกษตรของสถาบันอุดมศึกษาไทย. ใน เอกสารการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 45 (น. 16–23). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. https://kukrdb.lib.ku.ac.th/proceedings/KUCON/search_detail/result/10705
วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. (2561). มคอ.2 หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมเพื่อธุรกิจและอุตสาหกรรม (หลักสูตรสหวิทยาการ) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561). https://cit.kmutnb.ac.th/
วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2562). มคอ.2 หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบเพื่อธุรกิจ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศิริพงศ์ รักใหม่, อรรถเวทย์ พฤกษ์สถาพร, ภูวเรศ อับดุลสตา, ประวีณา คาไซ และ พลอยจรัส ประกัตฐโกมล. (2559).
การเปรียบเทียบหลักสูตรระหว่างหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตของวิทยาลัยดุสิตธานีกับมาตรฐานสมรรถนะอาเซียน. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 10(1), 151–165.
สงัด อุทรานันท์. (2527). พื้นฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร. วงเดือนการพิมพ์.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2550). เปรียบเทียบ. http://legacy.orst.go.th/?knowledges=.
Glatthorn, A. A., Boschee, F., Whitehead, B. M., & Boschee, B. F. (2018). Curriculum leadership: Strategies for development and implementation. SAGE Publications.
Ornstein, A. C., & Hunkins, F. P. (2009). Curriculum: Foundations, principles, and issues (5th ed).
Pearson Education.
Tyler, R. W. (1949). Basic principles of curriculum and instruction. University of Chicago Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 คณะครุศาสตร์และการพัฒนามนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์และการพัฒนามนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง