การศึกษาเปรียบเทียบหลักสูตรระดับปริญญาโท สาขาวิชาเกี่ยวกับการออกแบบ เพื่อธุรกิจในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ผู้แต่ง

  • ยลรวี ฉัตรศิริเวช วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

การศึกษา, การเปรียบเทียบ, หลักสูตรระดับปริญญาโท, การออกแบบเพื่อธุรกิจ

บทคัดย่อ

การศึกษาเปรียบเทียบหลักสูตรระดับปริญญาโท สาขาวิชาเกี่ยวกับการออกแบบเพื่อธุรกิจในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นงานวิจัยเชิงเปรียบเทียบที่มีลักษณะของการวิจัยและพัฒนา (R&D) โดยมุ่งเน้นการวิเคราะห์เชิงระบบจากการรวบรวมข้อมูลหลักสูตรจริง เพื่อนำผลการเปรียบเทียบไปสังเคราะห์เป็นแนวทางเบื้องต้นสำหรับการออกแบบและพัฒนาหลักสูตรให้มีความทันสมัยและตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต การดำเนินการวิจัยประกอบด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงเปรียบเทียบจากหลักสูตรที่เลือกมาอย่างมีหลักเกณฑ์ ครอบคลุม 5 ด้าน ได้แก่ จุดมุ่งหมายของหลักสูตร รูปแบบโครงสร้างหลักสูตร ข้อมูลรายวิชา การจัดการเรียนการสอน และการประเมินผลหลักสูตร

ผลการวิจัยพบว่า ในแต่ละด้านมีทั้งความคล้ายคลึงและความแตกต่างที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์เฉพาะของแต่ละหลักสูตร โดยด้านจุดมุ่งหมายของหลักสูตรมีความแตกต่างตามเป้าหมายของสถาบัน มุ่งเน้นการออกแบบเชิงสร้างสรรค์ การพัฒนาผู้ประกอบการ และการจัดการนวัตกรรมเพื่อธุรกิจ ด้านโครงสร้างหลักสูตรแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของแผนการเรียน เช่น แผน ก แบบ ก2 และแผน ข ซึ่งสอดคล้องกับเนื้อหาทางวิชาการ ด้านรายวิชาและการเรียนการสอนมีการจัดกลุ่มวิชาตามความจำเป็นของตลาดแรงงาน และมีการใช้วิธีการเรียนการสอนหลากหลายที่สอดคล้องกับแต่ละสาขาวิชา ด้านการประเมินผลหลักสูตรมีความคล้ายคลึงกัน โดยมุ่งเน้นการประเมินจากประสบการณ์จริงและการประยุกต์ใช้ความรู้ในการปฏิบัติงาน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปใช้เป็นพื้นฐานในการวางแผนและพัฒนาหลักสูตรในอนาคตอย่างมีทิศทาง

References

กัลย์ธีรา สุภนิธิ, และปรีญานันท์ พร้อมสุขกุล. (2561). การศึกษาเปรียบเทียบหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาดนตรีศึกษาของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 46(4), 20–39.

คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2567, 19 กรกฎาคม). มคอ.2 หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะ การออกแบบ และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2565). https://fineart.tu.ac.th/mainfile/major/art-design-and-creative-economy/adce-66.pdf

จินดารัตน์ โพธิ์นอก. (2567, 19 กรกฎาคม). หลักสูตรแฝง.http://legacy.orst.go.th/?knowledges=%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81.

เจษฎา แก้ววรา. (2559). การศึกษาเปรียบเทียบหลักสูตรระดับประถมศึกษาของประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ณัฏฐาพร เชี่ยววารีสัจจะ. (2561). การศึกษาเปรียบเทียบหลักสูตรการเรียนการสอนระดับปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ภาคภาษาอังกฤษ) และคณะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยเซนต์ปิเตอร์สเบิร์ก [ภาคนิพนธ์ปริญญาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธนัณชัย สิงห์มาตย์. (2567, 19 กรกฎาคม). การคิดเชิงเปรียบเทียบ. GotoKnow. https://www.gotoknow.org/posts/500905

ธำรง บัวศรี. (2532). ทฤษฎีหลักสูตรการออกแบบและพัฒนา. โรงพิมพ์คุรุสภา.

ธำรง บัวศรี. (2542). ทฤษฎีหลักสูตร: การออกแบบและการพัฒนา (พิมพ์ครั้งที่ 2). ธนชัชการพิมพ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. สุวีริยาสาส์น.

ประเดิม ฉ่ำใจ, พิชัย ทองดีเลิศ, สาวิตรี รังสิภัทร์, สิริวรนุช แคลล์เบิรค์, และพัฒนา สุขประเสริฐ. (2550). การเทียบเคียงสมรรถนะหลักสูตรบัณฑิตศึกษาสาขาส่งเสริมการเกษตรของสถาบันอุดมศึกษาไทย. ใน เอกสารการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 45 (น. 16–23). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. https://kukrdb.lib.ku.ac.th/proceedings/KUCON/search_detail/result/10705

วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. (2561). มคอ.2 หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมเพื่อธุรกิจและอุตสาหกรรม (หลักสูตรสหวิทยาการ) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561). https://cit.kmutnb.ac.th/

วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2562). มคอ.2 หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบเพื่อธุรกิจ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศิริพงศ์ รักใหม่, อรรถเวทย์ พฤกษ์สถาพร, ภูวเรศ อับดุลสตา, ประวีณา คาไซ และ พลอยจรัส ประกัตฐโกมล. (2559).

การเปรียบเทียบหลักสูตรระหว่างหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตของวิทยาลัยดุสิตธานีกับมาตรฐานสมรรถนะอาเซียน. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 10(1), 151–165.

สงัด อุทรานันท์. (2527). พื้นฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร. วงเดือนการพิมพ์.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2550). เปรียบเทียบ. http://legacy.orst.go.th/?knowledges=.

Glatthorn, A. A., Boschee, F., Whitehead, B. M., & Boschee, B. F. (2018). Curriculum leadership: Strategies for development and implementation. SAGE Publications.

Ornstein, A. C., & Hunkins, F. P. (2009). Curriculum: Foundations, principles, and issues (5th ed).

Pearson Education.

Tyler, R. W. (1949). Basic principles of curriculum and instruction. University of Chicago Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-30

How to Cite

ฉัตรศิริเวช ย. (2025). การศึกษาเปรียบเทียบหลักสูตรระดับปริญญาโท สาขาวิชาเกี่ยวกับการออกแบบ เพื่อธุรกิจในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารครุศาสตร์และการพัฒนามนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 5(1), 45–61. สืบค้น จาก https://so18.tci-thaijo.org/index.php/edusskru/article/view/969