นวทางการบริหารงานวิชาการในสังคมวิถีใหม่ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

ผู้แต่ง

  • ดวงสมพร สำราญเริญ โรงเรียนบ้านท่าช้าง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 3
  • อุดมลักษณ์ คงคาเนรมิตร นักวิชาการอิสระ
  • อัศวฤทธิ์ อุทัยรัตน์ นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

การบริหารงานวิชาการในสังคมวิถีใหม่, การพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาการบริหารงานวิชาการในสังคมวิถีใหม่ ของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2. ศึกษาการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และ 3. กำหนดแนวทางการบริหารงานวิชาการในสังคมวิถีใหม่ ที่สนับสนุนการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง รวมจำนวน 334 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม จำนวน 1 ฉบับ

ผลการวิจัยพบว่า 1.การบริหารงานวิชาการในสังคมวิถีใหม่ในภาพรวมอยู่ในระดับค่อนข้างมาก และข้อมูลมีการกระจายตัวน้อย 2.การพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ในภาพรวมอยู่ในระดับค่อนข้างมาก และข้อมูลมีการกระจายตัวน้อย 3. แนวทางการบริหารงานวิชาการในสังคมวิถีใหม่ ได้แก่ ภาพเส้นทางของการกำหนดจุดหมายของการสอน (X1) การออกคู่มือคำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สื่อประสมในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ (X17) การจัดระบบการนิเทศงานวิชาการ และการเรียนการสอน (X21) การนิเทศงานวิชาการ และการเรียนการสอนด้วยความยืดหยุ่น (X30) และการจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (X36) ที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ที่ระดับนัยสำคัญ .05

เผยแพร่แล้ว

2025-02-19

How to Cite

สำราญเริญ ด. ., คงคาเนรมิตร อ. ., & อุทัยรัตน์ อ. (2025). นวทางการบริหารงานวิชาการในสังคมวิถีใหม่ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วารสารครุศาสตร์และการพัฒนามนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 4(2), 82–95. สืบค้น จาก https://so18.tci-thaijo.org/index.php/edusskru/article/view/985