การพัฒนาสุขภาวะของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองสาดโนนเจริญ ตามข้อตกลงความร่วมมือมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
คำสำคัญ:
การพัฒนาสุขภาวะของนักเรียนบทคัดย่อ
การวิจัย เรื่อง การพัฒนาสุขภาวะของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองสาดโนนเจริญ ตามข้อตกลงความร่วมมือมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาผลการประเมินสุขภาวะของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองสาดโนนเจริญ และกำหนดแนวทางการพัฒนาสุขภาวะของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองสาดโนนเจริญ ตามข้อตกลงความร่วมมือมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling) ประกอบด้วย ครูประจำการ ครูอัตราจ้าง บุคลากร ตัวแทนนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ ภายนอก (ม.ราชภัฏศรีสะเกษ) และตัวแทนผู้ปกครอง รวมทั้งหมด 14 คน
ผลการวิจัย พบว่า 1. การประเมินสุขภาวะของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองสาดโนนเจริญ โดยภาพรวม ซึ่งผลการประเมินโดยภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ย (x̄) เท่ากับ 4.23 คะแนน มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 0.83 และมีระดับผลการประเมินโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านสุขภาพทางสังคม มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.54 คะแนน มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.66 และมีระดับผลการประเมิน อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านสุขภาพทางกาย มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.38 คะแนน มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.79 และมีระดับผลการประเมิน อยู่ในระดับมาก และลำดับสุดท้าย คือ ด้านสุขภาพทางปัญญา มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 3.85 คะแนน มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 1.04 และมีระดับผลการประเมินอยู่ในระดับมาก 2. แนวทางการพัฒนาสุขภาวะของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองสาดโนนเจริญ ตามข้อตกลงความร่วมมือมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ 2.1 โรงเรียนบ้านหนองสาดโนนเจริญควรจะพัฒนาด้านสุขภาพทางปัญญา โดยเฉพาะเน้นให้นักเรียนมีความสามารถอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น เหมาะสมกับช่วงวัย มีความกระตือรือร้นสนใจในการเรียน แสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้มากขึ้น 2.2 โรงเรียนบ้านหนองสาดโนนเจริญควรจะพัฒนาด้านสุขภาพทางกาย โดยเน้นให้นักเรียนมีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพ และส่งเสริมการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 2.3 โรงเรียนบ้านหนองสาดโนนเจริญควรจะขยายข้อตกลงความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษให้นานยิ่งขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้เพื่อเพิ่มโอกาสให้ผู้เรียนได้มีสุขภาพที่ดีตลอดไป
References
กนกอร สมปราชญ์ และคณะ. (2548). ความร่วมมือเพื่อพัฒนาวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา. รายงานการวิจัยได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
กัมปนาท ศรีน้อย และคณะ. (2561). การบริหารจัดการโรงเรียนสุจริต โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2.
ชนัญธิดา จิรกรวงศ์. (2554). ผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบโครงงานที่มีต่อความรู้และการปฏิบัติตนด้านสุขาภิบาลของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4. กรุงเทพฯ: ครุศาสตร์ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ประวิต เอราวรรณ์. (2547). การสังเคราะห์โครงการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบการจัดการและกระบวนการเรียนรู้ด้านสุขาภิบาลในโรงเรียน. มหาสารคาม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พิสิฐ เทพไกรวัล. (2554). การพัฒนารูปแบบความร่วมมือเพื่อคุณภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาเอกชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ริญญารัตน์ วรจินตนาลักษณ์. (2563). การศึกษาสุขาภิบาลยุคไทยแลนด์ 4.0 ตามมาตรฐาน 4 ของนิสิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เลอลักษณ์ มหิพันธุ์. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสุขภาวะทางปัญญาของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช มหาวิทยาลัยบูรพา.
วราภรณ์ บุญเชียง. (2556). อนามัยโรงเรียน. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 คณะครุศาสตร์และการพัฒนามนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์และการพัฒนามนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง