เกี่ยวกับวารสาร

       วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง รับพิจารณาบทความวิจัย บทความวิชาการ และบทความ ปริทัศน์ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษทั้งจากบุคคลภายนอกและภายในมหาวิทยาลัย มีเนื้อหาครอบคลุมด้าน การศึกษาและสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ด้านศึกษาศาสตร์ เช่น ปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษา ฯลฯ ศาสตร์การสอนด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมไปถึงด้านศาสดร์การสอนด้านมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ดนตรี ศิลปะ สังคมศึกษา หรือที่เกี่ยวข้อง เพื่อความ เจริญก้าวหน้าทางด้านความรู้และด้านการวิจัย
       บทความที่ส่งมาตีพิมพ์จะต้องไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อนและต้องไม่อยู่ในระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณา ตีพิมพ์ในวารสารอื่น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะต้องผ่านการกลั่นกรองและประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ ตามขั้นตอนที่กองบรรณาธิการกำหนดไว้ บทความต้องเป็นไปตามรูปแบบที่กำหนด

กำหนดการจัดพิมพ์
       วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง กำหนดการจัดพิมพ์เป็นราย 6 เดือน ปีละ 2 ฉบับดังนี้
ฉบับที่ 1 : กรกฎาคม - ธันวาคม
ฉบับที่ 2 : มกราคม – มิถุนายน

ประเภทของบทความที่เปิดรับ
       วารสารเปิดรับบทความใน 3 ประเภทด้วยกัน
1) บทความวิจัย เกิดจากการวิจัยของผู้นิพนธ์หรือสมาชิกในงานวิจัยประกอบด้วย บทคัดย่อ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ ขอบเขต วิธีการดำเนินการวิจัย, ผลการวิจัย เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัย สรุปผลการวิจัยและอภิปรายผลการวิจัย และข้อเสนอแนะ (ถ้ามี) รวมถึงเอกสารอ้างอิง มีความยาวไม่เกิน 20 หน้า

2) บทความวิชาการ เป็นบทความที่นำเสนอเนื้อหาสาระทางวิชาการที่ผ่านการวิเคราะห์และประมวลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ประกอบด้วยบทคัดย่อ บทนำ เนื้อหา และสรุป รวมถึงเอกสารอ้างอิง มีความยาว 10-20 หน้า

3) บทความปริทัศน์ เป็นบทความที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงความคิดเห็นเชิงวิชาการที่มีต่องานวิชาการ อย่างเช่น บทความวิจัย บทความวิชาการ วิทยานิพนธ์ และหนังสือ มีความยาวไม่เกิน 15 หน้า

------------------------------------------------------

แนวทางปฏิบัติในการนำเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

ขั้นตอนการพิจารณารับบทความ

1) การพิจารณาบทความเบื้องต้น
       โดยกองบรรณาธิการเมื่อได้รับบทความจากผู้เสนอบทความ ทางวารสารจะดำเนินการส่งให้กองบรรณาธิการพิจารณา เบื้องต้น ก่อนการเสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิและส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ โดยกองบรรณาธิการจะ ตรวจสอบการคัดลอกผลงาน (plagiarism) รูปแบบบทความ ความสอดคล้องของวัตถุประสงค์และผลการวิจัย ความชัดเจนของเนื้อหา ความถูกต้องตามหลักวิชาการ รูปแบบการเขียนอ้างอิง รวมถึงการ ลอกเลียน ความซ้ำ/ซ้ำซ้อนของเนื้อหาในบทความ (Duplications/Plagiarism) หากบทความปรากฏการ คัดลอกผลงาน หรือมีรูปแบบไม่เป็นไปตามกำหนด กองบรรณาธิการจะไม่รับบทความดังกล่าวเข้าสู่ กระบวนการพิจารณา

2) การพิจารณาบทความ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ
       บทความที่ผ่านการพิจารณาคัดเลือกเบื้องต้นแล้ว กองบรรณาธิการจะเสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน เพื่อพิจารณาบทความ โดยผู้ทรงคุณวุฒิที่พิจารณาจะไม่อยู่ในสังกัดเดียวกันกับผู้เสนอบทความ ทั้งนี้ การพิจารณาบทความทางวารสารจะปกปิดชื่อผู้เสนอบทความและชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (Double-Blind Peer Review)

3) การปรับแก้ไขบทความ
       เมื่อได้รับผลการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิครบทั้ง 3 ท่านแล้ว ทางวารสารจะดำเนินการส่งผลการ พิจารณาให้กับผู้เสนอบทความผ่าน E-mail ซึ่งบทความที่จะได้รับการตีพิมพ์จะต้องมีผลการประเมินเป็น “เห็นสมควรให้ตีพิมพ์เผยแพร่” จากผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ใน 3 ท่านเป็นอย่างน้อย

4) การพิจารณความสมบูรณ์ของบทความหลังจากผู้เสนอบทความปรับแก้ไข โดยบรรณาธิการ
       เมื่อผู้เสนอบทความปรับแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว ทางวารสารจะดำเนินการส่ง บทความที่ปรับแก้ไขส่งให้กองบรรณาธิการพิจารณาความสมบูรณ์ของบทความ โดยจะตรวจสอบความ ถูกต้องครบถ้วนของบทความ และความครบถ้วนของการแก้ไขบทความตามข้อเสนอแนะตามของ ผู้ทรงคุณวุฒิ

5) การออกใบตอบรับ และการตีพิมพ์บทความ
       เมื่อกองบรรณาธิการพิจารณาความสมบูรณ์ของบทความแล้ว และเห็นสมควรให้ออกใบตอบรับ และตีพิมพ์เผยแพร่ได้ ทางวารสารจะดำเนินการออกใบตอบรับ และนำบทความตีพิมพ์เผยแพร่บนเว็ป ไซต์ของวารสารต่อไป

------------------------------------------------------

รายละเอียดต้นฉบับ

1) ให้จัดพิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word ตามไฟล์ที่กำหนดให้ ผู้นิพนธ์สามารถดาวน์โหลดไฟล์ที่กำหนดรูปแบบมาใช้ได้

2) หากมีปัญหาไม่สามารถดาวน์โหลดไฟล์ได้ สามารถจัดทำไฟล์ผ่านโปรแกรม Microsoft Word ด้วยตัวเอง ให้มีรายละเอียดดังนี้
       2.1) เลือกกระดาษขนาด A4 ตั้งค่าหน้ากระดาษสำหรับการพิมพ์ห่างจากขอบกระดาษทุกด้าน ๆ ละ 1 นิ้ว (2.54 เซนติเมตร) และจัดรูปแบบเป็นหนึ่งคอลัมน์เท่านั้น หากเป็นบทความวิจัยและ บทความวิชาการ ไม่เกิน 20 หน้า หากเป็นบทความปริทัศน์ไม่เกิน 15 หน้า
       2.2) ตัวอักษร TH K2D July8 ขนาด 22 pt สำหรับชื่อเรื่อง จัดชิดซ้ายหน้ากระดาษ
       2.3) ตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 pt ตัวหนา สำหรับหัวข้อย่อย จัดชิดขอบ
       2.4) ตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 pt สำหรับเนื้อหา จัดชิดขอบ
       2.5) ช่องว่างระหว่างคำให้ตั้งค่าเป็น Normal ไม่บีบหรือขยายตัวอักษร ยกเว้นในตารางหรือ แผนภาพ
       2.6) ช่องว่างระหว่างบรรทัดให้ตั้งค่าเป็น single space
       2.7) การเว้นวรรค 1 เคาะเท่านั้น
       2.8) การย่อให้ใช้ระยะจากปุ่ม tab เป็นหลัก

3) รูปภาพ ตาราง และแผนภูมิ ต้องใส่หมายเลขกำกับโดยอ้างอิงแหล่งที่มาให้ถูกต้อง

4) ให้บันทึกไฟล์ภาพประกอบแยกออกมาต่างหาก เพื่อคุณภาพการตีพิมพ์ ควรมีค่าความละเอียดระดับ 300 DPI หรือ 1024x768 (786,432 pcx)

------------------------------------------------------

จริยธรรมในการตีพิมพ์
       วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง เป็นสื่อกลางในการเผยแพร่บทความวิจัยและบทความ วิชาการจากผู้นิพนธ์ถึงผู้อ่าน ดังนั้นเพื่อให้การสื่อสารทางวิชาการเป็นไปอย่างถูกต้องและโปร่งใส จึงได้กำหนด แนวทางวิธีปฏิบัติที่ดี และจริยธรรมของการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยหรือผลงานวิชาการตามแนวทางของ คณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์ (Committee on Publication Ethics [COPE]) โดยแยกตามบทบาทของผู้ที่ เกี่ยวข้องไว้เป็น 3 ส่วน ได้แก่ ผู้นิพนธ์, กองบรรณาธิการ และผู้ประเมินบทความ มีรายละเอียดดังนี้

ก. บทบาทหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Duties of Authors)

1) ส่งบทความเพื่อรับการพิจารณาที่เป็นผลงานใหม่ ไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน หรือไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่น

2) ผู้นิพนธ์จะต้องไม่มีการคัดลอกผลงาน (Plagiarism) ทั้งของตนเองและผู้อื่น และผู้นิพนธ์ที่มีชื่อในบทความต้นฉบับทุกคนต้องมีส่วนในการดำเนินการจริง ทั้งนี้ผู้ประพันธ์บรรณกิจ (Corresponding author) ต้องรับรองมาใน หนังสือนำส่งผลงานวิชาการ

3) เตรียมต้นฉบับบทความที่มีความถูกต้องตามที่ได้ระบุไว้ใน “คำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์”

4) ผู้นิพนธ์จะต้องอ้างอิงผลงาน ภาพหรือตารางหากมีการนำมาใช้โดยระบุแหล่งที่มา

5) แก้ไขบทความตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิและกองบรรณาธิการอย่างครบถ้วน แล้วส่งบทความที่แก้ไขแล้วมายังกองบรรณาธิการภายในระยะเวลาที่กำหนด หรือแจ้งบรรณาธิการกรณีที่ต้องการเลื่อนกำหนดส่ง หรือยกเลิกการส่งบทความ การไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าวอาจส่งผลต่อการตีพิมพ์ผลงาน หรือการตอบรับผลงานครั้งต่อไป หรือการพิจารณาตัดสินใจของกองบรรณาธิการ

6) มีการอ้างอิงผลงานวิชาการของผู้อื่นที่นำมาใช้ในผลงานตัวเองอย่างครบถ้วนทั้งในเนื้อหา (In-text citation) และเอกสารอ้างอิงท้ายบทความ (Reference list) โดยใช้รูปแบบการอ้างอิงของสมาคมจิตแพทย์แห่งอเมริกา (American Psychological Association [APA]) ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 7 ดังตัวอย่างในคำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์

ข. บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของบรรณาธิการ (Duties of Editors)

1) กองบรรณาธิการมีความเป็นกลางในการทำหน้าที่ โดยไม่แบ่งแยกความแตกต่างทางเพศ เชื้อชาติ ศาสนา สถาบันหรือความเชื่อทางการเมือง

2) คัดกรองบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ในวารสารให้ตรงตามวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร พิจารณาคุณภาพของบทความตามหลักวิชาการ โดยใช้แบบประเมินบทความและ “คำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์” เป็นแนวทาง

3) เลือกผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความและอยู่คนละสังกัดกับผู้นิพนธ์ แล้วดำเนินการในขั้นตอนการพิจารณกลั่นกรองบทความโดยที่มีการปกปิดชื่อของทั้งสองฝ่าย

4) ไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์และผู้เชี่ยวชาญที่ประเมินบทความแก่บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ

5) ตัดสินใจเกี่ยวกับคุณภาพบทความหลังกระบวนการกลั่นกรอง ตามความถูกต้องของหลักวิชาการความสำคัญและความทันสมัยของเรื่องที่นำเสนอ ผลการแก้ไขบทความตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิตลอดจนความชัดเจนในการสื่อสารและการเขียนเชิงวิทยาศาสตร์

6) ตรวจบทความในด้านการคัดลอกผลงานวิชาการ (Plagiarism) ทั้งของตนเองและผู้อื่นอย่างเคร่งครัด โดยทางกองบรรณาธิการจะเป็นผู้นำต้นฉบับเข้าตรวจผ่านโปรแกรมต่างๆ หากพบเหตุการณ์ดังกล่าว ต้องหยุดกระบวนการประเมินและติดต่อผู้นิพนธ์ทันทีเพื่อขอให้แก้ไข หรือชี้แจง เพื่อประกอบการตัดสินใจตอบรับ หรือ ปฏิเสธ การตีพิมพ์บทความนั้น

7) ไม่กลับคำตัดสินใจของบรรณาธิการคนก่อนยกเว้นมีการพิสูจน์ถึงปัญหาร้ายแรงที่เกิดขึ้น

8) ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ ผู้ทรงคุณวุฒิที่ประเมินบทความ และผู้บริหารสถาบัน

9) ให้ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการกลั่นกรองบทความ และมีความพร้อมในการชี้แจงกรณีมีการปฏิบัติที่แตกต่างจากกระบวนการตรวจสอบที่ได้ระบุไว้

10) จัดพิมพ์ คำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์ ในทุกเรื่องที่ผู้นิพนธ์ควรรับทราบ และปรับปรุงคำแนะนำให้ทันสมัยอยู่เสมอ

11) ดำเนินการทุกอย่างเพื่อให้มั่นใจว่าบทความที่ส่งมารับการพิจารณานั้นมีคุณภาพ

ค. บทบาทหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (Duties of Reviewers)

1) ไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาแก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ

2) ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับบทความที่ส่งมาให้พิจารณา กรณีพบว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนให้แจ้งบรรณาธิการ และปฏิเสธการประเมินบทความนั้น

3) ประเมินบทความในสาขาที่ตนเชี่ยวชาญโดยพิจารณาคุณภาพของบทความตามประเด็นที่ได้ระบุไว้ในแบบประเมินบทความ และ คำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์ โดยใช้หลักวิชาการและข้อมูลเชิงประจักษ์ ไม่ใช้ความเห็นส่วนตัวเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจ

4) แจ้งบรรณาธิการหากพบว่าเนื้อหาในบทความคัดลอกหรือมีความซ้ำซ้อนกับผลงานอื่น

5) ให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้นิพนธ์ หากมีงานวิจัยที่สำคัญและสอดคล้องกับบทความที่กำลังประเมินแต่ผู้นิพนธ์ยังไม่ได้อ้างถึง

------------------------------------------------------

ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม / เอกสาร
1. แบบฟอร์มบทความวิจัย
2. แบบฟอร์มบทความวิชาการ
3. แบบฟอร์มบทความปริทัศน์
4. แนวทางปฏิบัติในการนำเสนอบทความ