การศึกษาพัฒนาการความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน ร่วมกับห้องเรียนกลับด้าน
คำสำคัญ:
ห้องเรียนกลับด้าน, ปัญหาเป็นฐาน, ความสามารถในการแก้ปัญหาวิชาคณิตศาสตร์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับห้องเรียน กลับด้าน สำหรับส่งเสริมพัฒนาการความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาหลังเรียนเมื่อเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 60 และ (3) ประเมินพัฒนาการความสามารถในการแก้ปัญหา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 อิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และสื่อวิดิทัศน์ 12 แผน ซึ่งมีคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดีมาก 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติทดสอบทีแบบหนึ่งกลุ่มเทียบกับเกณฑ์ และใช้สูตรคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์
ผลการวิจัยพบว่า (1) กิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ 1. กิจกรรมการเรียนรู้นอกชั้นเรียน ที่เรียนรู้ด้วยตนเองโดยศึกษาจากวิดิทัศน์ ผ่านสื่อสังคมออนไลน์เฟสบุ๊ค 2. กิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียน ครูมีบทบาทอำนวยการการเรียนรู้ร่วมกับกิจกรรมการทำใบงานแบบปัญหาเป็นฐาน 5 ขั้นตอน ได้แก่ (2.1) ทำความเข้าใจปัญหา (2.2) วางแผนและค้นคว้า (2.3) สังเคราะห์ความรู้ (2.4) ดำเนินการสรุป และประเมินคำตอบ และ (2.5) นำเสนอและประเมินผล (2) นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาด้านทำความเข้าใจปัญหา สูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) นักเรียน มีคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง จำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 65.00 และในระดับปานกลางถึงสูงมาก รวมเป็นร้อยละ 85.00